ช้า ๆ ชัด ๆ กระบวนท่าฝึกหัดให้ 'ลูกพูดเก่ง'
พัฒนาการที่เด่นชัดเกี่ยวกับการสื่อสารของลูกวัยนี้คือ เริ่มชี้สิ่งของได้
นั่นจึงเป็นที่มาว่า “เเม่ที่ทำงานในสถานที่ที่มีเสียงดังติดต่อกันยาวนานเกินไป เสียงนั้นจะส่งผลกระทบต่อการได้ยินของลูกในท้องได้” เมื่อเขาออกมาสู่โลกภายนอก แม้ว่าเด็กน้อยยังไม่เข้าใจโลกดี แต่เขารับรู้โลกได้มากมาย โดยเฉพาะจากการรับรู้ผ่านทางเสียง
ในวันที่เขายังพูดไม่ได้ เด็กน้อยสื่อสารกับเราผ่านการ 'ร้องไห้' 'การชี้โบ้ชี้เบ้' 'การหยิบคว้า’ และ ภาษากายอื่น ๆ ที่เขาแสดงออกมาให้เรารับรู้ ณ เวลานั้นผู้ใหญ่รอบตัวสื่อสารกับเขามากมาย หนึ่งในนั้นก็คือ "การบอกให้เขาทำสิ่งต่าง ๆ" เด็กน้อย ณ เวลานั้นก็ทำได้เพียงทำตามแต่โดยดี หรือ อย่างมากสุดก็แค่โวยวาย ทิ้งตัวลง เพราะไม่อยากทำ แต่เมื่อเขาเร่ิมมีพัฒนาการทางภาษา เริ่มพูดโต้ตอบ เริ่มเดินได้ สิ่งที่เกิดขึ้นกับหลาย ๆ บ้าน คือ "เด็กน้อยไม่ยอมฟังสิ่งที่เรากำลังบอกเขา"
▶︎ ข้อเท็จจริง 1 เมื่อเด็กเล็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงมากกว่า 1 เสียง อาจจะมีคนพูดอยู่ในสภาพแวดล้อมนั้นมากกว่า 1 คน หรือ มีเสียงของสิ่งอื่น ๆ แทรกเข้ามา เขาจะแยกแยะระหว่างเสียงที่เขาจำเป็นต้องฟังกับเสียงอื่น ๆ ได้ไม่ดีเท่ากับผู้ใหญ่ ทักษะนี้เรียกว่า ‘Selective hearing’ หรือ ‘การแยกแยะเสียงรบกวนออกจากเสียงพูด' ทำให้เขาไม่เข้าใจ และสำหรับเรามันดูเหมือนเด็กน้อยไม่ตั้งใจฟังที่เราพูดเลย นั่นเป็นสาเหตุที่เวลามีผู้ใหญ่หลายคนสั่งสอนเด็กพร้อมกันทีละหลาย ๆ คน เขาจึงไม่รู้ว่า ควรจะฟังเสียงใครก่อนดี (สุดท้าย เด็กบางคนเลือกจะไม่ฟังเลยสักเสียงดีกว่า)
ดังนั้นเวลาจะสอนอะไรเขาหรือบอกในสิ่งที่สำคัญ ควรพาเขาออกมาจากสภาพแวดล้อมที่มีเสียงมากมาย ให้เหลือเพียงเสียงของเราเพียงอย่างเดียว จึงค่อยบอกเขาในสิ่งที่เราต้องการจะบอก และเวลาพ่อแม่จะสอนลูก เราพูดทีละคน ไม่พูดพร้อมกัน และควรพูดไปในทิศทางเดียวกัน
▶︎ ข้อเท็จจริง 2 ช่วงวัยทารก แม้ว่าเด็กน้อยจะยังพูดไม่ได้ แต่เขาสื่อสารกับเราได้ผ่านการทำเสียงต่าง ๆ ที่ผู้ใหญ่ฟังแล้วรู้สึกว่า เป็นเสียงที่ตลกและประหลาด ๆ ดังนั้น การที่เด็กพูดโต้ตอบกลับมาไม่ได้ ไม่ได้แปลว่า เขาไม่ได้สื่อสารกับเรา เด็กทารกสามารถสื่อสารด้วย 'ภาษาเด็กทารก' หรือ 'babbling' (เช่น การพูดอ้อแอ้หรือการเล่นเสียง) กับเพื่อนวัยเดียวกับเขาได้ งานวิจัยพบว่า พ่อแม่ที่พยายามตอบสนองต่อการส่งเสียงเรียกของทารก พัฒนาการทางภาษาของทารกนั้นจะมีแนวโน้มดีกว่า พ่อแม่ที่ไม่ได้ตอบสนองต่อเสียงเรียก
▶︎ ข้อเท็จจริง 3 เด็กชอบฟังเสียงที่สูง งานวิจัยของ Smith และ Tainor (2008) พบว่า เด็กทารกตอบสนองต่อเสียงแม่ของเขามากขึ้นเมื่อแม่ใช้เสียงที่สูงกว่าปกติ นอกจากนี้การที่เราใช้เสียงสูงกับเด็กทารก เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กรับรู้เสียงของเขาเอง ในวันที่เขาเริ่มพูดได้ และได้ยินเสียงพูดของเขาเอง
▶︎ ข้อเท็จจริงที่ 4 พัฒนาการ 5 ขั้นก่อนเด็กจะเริ่ม 'พูดเพื่อสื่อสาร'
เมื่อทราบข้อเท็จจริงเหล่านี้ ถ้าหากมีข้อที่ลูกของเราติดขัดควรปรึกษาแพทย์พัฒนาการและผู้เชี่ยวชาญ สิ่งที่เราสามารถพัฒนาเขาควบคู่ไปกับพัฒนาด้านอื่น ๆ คือ การพัฒนา ‘ทักษะการฟัง’ ของเขา ซึ่งมี 6 ข้อ ที่ช่วยส่งเสริมการฟังของเขาได้
1. ต้นแบบที่ดี "ผู้ใหญ่ต้องเป็นผู้ฟังที่ดีเสียก่อน" เราเองนี่แหละที่เคยชินกับการพูดมากกว่าการฟัง ดังนั้นก่อนจะสอนเด็ก ๆ ให้ฟัง เราต้องเป็นผู้ฟังที่ดีเสียก่อน เมื่อลูกพูดต้องฟังเขาจนจบ โดยไม่ทำกิจกรรมอื่นตรงหน้าเขา มองหน้าสบตาลูก และฟังเขาจริง ๆ ไม่ใช่ฟังเพราะเป็นหน้าที่ ซึ่งการที่ลูกจะพัฒนาทักษะการสื่อสารที่ดีขึ้นได้ เมื่อเราฟังอย่างตั้งใจ และพูด (บ่น) ให้น้อยลง
2. ระดับเสียงและน้ำเสียงที่ใช้ควรเหมาะสมกับสถานการณ์ เมื่อเราเล่นกับลูกเราสามารถใช้น้ำเสียงสูงและสนุกสนานได้ แต่เมื่อพูดเรื่องจริงจังกับเขา เราควรใช้เสียงระดับปกติ (ไม่ใช่ตะโกน) แต่หนักแน่น ไม่ใช่เสียงสูง (ไม่ปรี๊ด) เพื่อให้เด็กเรียนรู้ และแยกแยะความสำคัญของเนื้อหาที่เราพูดกับเขาได้อย่างชัดเจน
..."การสอนสั่ง ไม่ควรใช้ระดับเสียงที่ดัง และน้ำเสียงที่เต็มไปด้วยอารมณ์โกรธ แต่ควรใช้นำ้เสียงธรรมดา แต่พูดในเวลาที่เด็กสงบลงแล้วพร้อมฟังเราต่างหาก"...
3. อ่านนิทานให้เขาฟัง ข้อนี้สำคัญมาก กิจกรรมที่ส่งเสริมการฟังที่ดีที่สุด คือ ‘การฟังนิทาน’ เพราะเป็นการฝึกการฟังของเด็กตามความสนใจของเขา สมาธิที่จดจ่อเพื่อฟังตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง คือ สิ่งที่ช่วยพัฒนาทักษะการฟังที่ดี
4. พัฒนาเด็กให้สังเกตสิ่งรอบตัว และภาษากาย เรามักเคยชินกับการต้อง ‘พูด’ เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจสิ่งที่เราต้องการจะสื่อสาร จนทำให้เราละเลยสัญญาณบางอย่างจากอีกฝ่าย เช่น แววตา สีหน้า ท่าทาง และสภาพแวดล้อม ดังนั้น ‘ทักษะการฟัง’ จึงไม่ได้หมายถึงการฟังเสียงเพียงอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงการฟังเสียงที่ไม่ได้ยินด้วยหูด้วย นั่นคือ เสียงภายในที่สามารถแสดงออกทางกาย เด็ก ๆ ที่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และเข้ากับผู้อื่นได้ดี มักมีทักษะการสังเกตคนรอบตัวที่ดี
5. สถานที่สงบ ปราศจากสิ่งเร้าที่มากเกินไป ในเด็กเล็ก การพาเขาไปในที่ๆ มีเสียงดัง และสิ่งเร้าจากแสง สี เสียง ที่มากจนเกินไป อาจจะทำให้เขาไม่สามารถจัดการกับสิ่งเร้าที่เข้ามากระทบเขาได้ ส่งผลต่อสมาธิ และการฟังของเขาอย่างมาก ดังนั้นสถานที่ ๆ เหมาะต่อการเรียนรู้ของเด็ก ควรเป็นสถานที่สงบ และไม่มีผู้คนหนาแน่นจนเกินไป เพื่อให้เขาได้ยินเสียงเรา และเสียงของเขาเอง
6. ไม่ควรพูดตอนที่เขาโกรธหรือโมโหมาก ๆ โดยเฉพาะเวลาเขาระเบิดอารมณ์ เนื่องจากสมองที่สั่งการ ณ เวลานั้น คือ สมองส่วนอารมณ์ (emotional brain) ไม่ใช่สมองส่วนเหตุผล (rational brain) ดังนั้นนอกจากเขาจะฟังไม่ได้ยินแล้ว ยังไม่สามารถคิดอย่างเป็นเหตุผลได้ สิ่งที่เราควรทำ คือ อนุญาตให้เขาโกรธ (โดยไม่ทำร้ายตัวเอง ผู้อื่น หรือ ทำลายสิ่งของ) และรอให้เขาสงบ เมื่อเขาพร้อม มองตาเขา บอกเขาว่า “เราเข้าใจที่เขาโกรธ แต่...ไม่ควรทำ” หรือบอกในสิ่งที่ต้องการจะบอกเขาไป
สุดท้ายแม้ว่าการฟังเสียงของพ่อแม่ และผู้ใหญ่เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับเด็กน้อย แต่เสียงหนึ่งที่เขาต้องไม่ลืมที่จะฟังมัน คือ ‘เสียงของเขาเอง’ เพราะเมื่อเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ จะมีเสียงมากมายเข้ามาในชีวิตของเขา แต่ถ้าเขารู้ว่าตัวเองต้องการอะไรแล้ว เสียงเหล่านั้นจะไม่ได้มีอิทธิพลเหนือเขาเลย
อ้างอิง : Smith, N. A., & Trainor, L. J. (2008). Infant-directed speech is modulated by infant feedback. Infancy, 13(4), 410-420.