ข่าวประชาสัมพันธ์ : คิดคลับส์ ชวนเที่ยว Astro Night Family Camp
ชวนคู่พ่อลูก อายุ 6 - 12 ปี มาร่วมสร้างช่วงเวลาแห่งความประทับใจกับกิจกรรม Astro Night Family Camp
การสร้างเงื่อนไขให้กับความรักที่เรามีต่อลูก ทำให้ลูกเกิดความรู้สึกไม่มั่นคงในสายสัมพันธ์ระหว่างเขากับพ่อแม่ เพราะเมื่อพ่อแม่พูดว่า “ทำแบบนี้ เดี๋ยวไม่รักเลย” เด็กอาจจะรับรู้ว่า “เมื่อใดที่เขาทำตัวไม่น่ารัก พ่อแม่จะไม่รักเขา เขาต้องทำตัวดีเท่านั้น พ่อแม่จึงจะรักเขา”
ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ธรรมชาติของคนทุกคน เราอาจจะเจอช่วงเวลาที่ดีและไม่ดีได้ทั้งนั้น ซึ่งทำให้แต่ละวันเราอาจจะทำตัวแตกต่างกันขึ้นกับสิ่งที่เราเผชิญมา เด็ก ๆ ก็เช่นกัน
...พวกเขาอาจจะมีวันที่แย่และมีวันที่ดี...
...พวกเขาอาจจะหงุดหงิดงุ่นง่าน เพราะเขาต้องอยู่แต่ในบ้านทั้งวัน ไม่ได้ไปวิ่งเล่น...
...พวกเขาอาจจะอารมณ์ดี เพราะวันนี้แม่ให้เขากินไอศกรีม...
...พวกเขาอาจจะโมโห เพราะเขาต้องใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา...
ดังนั้นไม่ว่าเด็ก ๆ ทำพฤติกรรมแบบใด พวกเขาก็ยังเป็นตัวเองคนเดิม พ่อแม่ควรให้ความรักและยอมรับในแบบที่เขาเป็น แต่สิ่งที่เราจะไม่ยอมให้เกิดขึ้น คือ “การทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม” ต่างหาก เมื่อเด็กทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม พ่อแม่ต้องสอนสั่งเพื่อให้เขารู้ว่า “พฤติกรรมที่เหมาะสมหรือถูกต้องเป็นอย่างไร ?”
สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ คือ แยก “พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม” ออกจาก "ตัวตน” ของเด็ก จากนั้นให้เลือกตำหนิเฉพาะพฤติกรรมที่เขาทำไม่เหมาะสม ไม่ใช่ตัวตนที่เขาเป็น แล้วไม่ลืมที่สอนสิ่งที่ถูกต้องหรือสิ่งที่ควรทำให้กับเด็กด้วย เช่น เมื่อเด็กเล็กโยนของใส่คนอื่น ให้ผู้ใหญ่เข้าไปหาเด็กและจับที่มือของเด็ก ย่อตัวลง สบตาเขา พร้อมกับพูดกับเขาว่า “ไม่โยนครับ/ค่ะ” จากนั้นพาเขาไปเก็บของที่เขาโยนด้วย
เมื่อเราห้ามทำพฤติกรรมหนึ่ง เราควรมีทางเลือกหรือทางออกในการปลดปล่อย ในการทำพฤติกรรมไม่ดีนั้นแทน เช่น ไม่ให้โยนของ แต่เขาสามารถไปโยนบอลหรือโยนผ้าลงตระกร้าได้, ไม่ให้ตะโกนหรือกรี๊ดเล่น แต่สามารถร้องเพลงแทน เป็นต้น
ในกรณีที่เด็กโกรธมาก ๆ เช่น เมื่อเด็กไม่พอใจแล้วตะโกนใส่คนอื่น ให้สอนเขาโดยการพาเขาไปนั่งสงบกับเราก่อน รอเขาสงบแล้วสอนให้เขาพูดบอกความรู้สึกว่า ...“ลูกโกรธใช่ไหมที่คนอื่นทำให้ลูกไม่พอใจ ดังนั้นถ้าลูกอยากให้คนอื่นทำอย่างไร เราควรบอกเขาดี ไม่ใช่ตะโกนแบบเมื่อกี้”...
การสอน 'การจัดการความโกรธ' เด็ก ๆ มักโกรธเพียงเพราะ ต้นเหตุเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น เปิดฝาขวดน้ำไม่ได้ ถอดเสื้อไม่ออก หรือใส่รองเท้าไม่ได้ แต่ความโกรธที่พวกเขาแสดงออกมานั้น ราวกับว่าโลกจะถล่มฟ้าจะทลาย แต่นั้นก็เป็นเพราะว่า พัฒนาการสมองกลีบหน้า หรือ ‘Frontal cortex’ ซึ่งช่วยในเรื่องของการจัดการควบคุมตนเองนั้นยังพัฒนาไม่เต็มที่เหมือนผู้ใหญ่เรานี่เอง
.."พ่อแม่เปลี่ยน ลูกเปลี่ยน”...
...”พ่อแม่จัดการอารมณ์ได้ ลูกจะจัดการอารมณ์ได้ดีขึ้นตามไป”...
เราควรอนุญาตให้เด็กแสดงความรู้สึกทางลบได้ เช่น ความโกรธ ความเศร้า ร้องไห้ เสียใจ แต่สิ่งที่เราไม่ควรอนุญาตให้เกิดขึ้น คือ ‘พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม’ เช่น การทำร้ายตัวเอง ทำร้ายคนอื่น ทำลายข้าวของ
ทุกคนในครอบครัวต้องอยู่ภายใต้กฎสามข้อนี้ ได้แก่ 1. ไม่ทำร้ายตนเอง 2. ไม่ทำร้ายผู้อื่น 3. ไม่ทำลายข้าวของ ข้อตกลงนี้ควรทำไว้ตั้งแต่แรก ไม่ใช่นำมาพูดเมื่อเกิดเหตุการณ์
เช่น ขอเวลานอกไปนั่งสงบสติ-อารมณ์ ไปล้างหน้า ไปวิ่ง และอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การทำผิดกฎ 3 ข้อที่ตกลงกันไว้
เช่น โกรธ เศร้า หงุดหงิด ดีใจ เสียใจ และอื่น ๆ
ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำเสมอ เช่น ถ้าลูกทำลายข้าวของ เมื่อลูกสงบแล้วก็ต้องสอนให้เขาขอโทษกับสิ่งที่ทำ และมาช่วยเก็บกวาดให้เรียบร้อย ถ้าลูกทำร้ายผู้อื่น เมื่อลูกสงบลงแล้วก็ต้องสอนให้เขามาขอโทษบุคคลนั้น และให้เขาช่วยงาน หรือทำให้บุคคลนั้นรู้สึกดีขึ้น เช่น การกอด การดูแล และอื่น ๆ
สุดท้าย ทุกครั้งที่สอนลูกในวันที่เขาทำตัวไม่น่ารัก อย่าลืมย้ำเตือนลูกตอนสอนเสร็จว่า ...“ไม่ว่าวันนี้ลูกจะเป็นเช่นไร พ่อแม่ก็ยังรักลูกเสมอ”...