1364
พ่อแม่ต้องรู้ สารอันตรายในของเล่นเด็ก

พ่อแม่ต้องรู้ สารอันตรายในของเล่นเด็ก

โพสต์เมื่อวันที่ : February 17, 2021

ก่อนซื้อของเล่นให้ลูกต้องอ่านและศึกษาให้ดี ถูกและดี บางทีอาจไม่ได้ดีเสมอ ขึ้นชื่อว่าของเล่น เด็ก ๆ ต้องมีกันทุกบ้านช่วยส่งเสริมพัฒนาการและจินตนาการแล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังต้องเลือกตรวจดูสารอันตรายทีเป็นส่วนประกอบ ส่วนผสม ช่วงวัยที่เหมาะสม โดยเฉพาะถ้าลูกยังอยู่ในวัยเล็ก 0-4 ปี ยังอมมือหรือนำสิ่งของเข้าปากยิ่งต้องเลือกให้ดีเลยค่ะ

สารอันตรายสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

❤︎ สารตะกั่ว LEAD ❤︎

มีผลต่อการพัฒนาการของสมองในปี 2005 มีการศึกษาพบว่า สารตะกั่วส่งผลเสียต่อสุขภาพมากโดยเฉพาะในเด็ก ส่งผลกระทบต่อระดับความเข้มข้นของเลือด ยังพบว่า สารตะกั่ว มีส่วนเกี่ยวพันธ์กับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น อารมณ์ก้าวร้าว สมาธิสั้น นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบด้วยว่า สารตะกั่ว มีผลกระทบต่อความเฉลียวฉลาด เพราะทำให้คะแนน IQ ของเด็กลดลง สารตะกั่วมักพบได้และปนเปื้อนอยู่ในของเล่นที่มีสีสันสวยงาม กล่องใส่อาหาร สีเทียน ที่ไม่ได้มาตรฐาน

 

❤︎ ฟอร์มาดีไฮต์ Formaldehyde ❤︎

สารอันตรายก่อให้เกิดมะเร็ง เป็นพิษต่อระบบสืบพันธ์สูดดมเอาไอของฟอร์มัลดีไฮด์เข้าไปหรือสัมผัสทางผิวหนังและดวงตา ซึ่งสามารถจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว มักมาจากของเล่นประเภท ของเล่นไม้ทาสี ตัวต่อ บล็อก บ้านตุ๊กตา ผ้า เป็นต้น เลี่ยงด้วยการซื้อของเล่นไม้ที่มีส่วนติดกาวทาสีให้น้อย ซื้อของเล่นที่ไม่เคลือบเงา เลือกชิ้นส่วนธรรมชาติ

❤︎ พาทาเลต Phthalates ❤︎

สารที่เคมีทําให้เกิดความความอ่อนตัวในเนื้อพลาสติก มีผลต่อระบบสืบพันธ์ส่งผลต่อฮอร์โมนในร่างกาย ผลิตภัณฑ์ พลาสติก พีวีซีที ที่มีความยืดหยุ่นอ่อนตัวได้ อาจมี สารพาทาเลต เป็นส่วนประกอบในการผลิต พบได้ในของเล่นเด็ก ที่นิ่ม ยืดหยุ่น พบว่า ของเล่นที่ไม่มี มอก. ประเภทตุ๊กตาบีบได้ รูปสัตว์ชนิดต่าง ๆ พบกว่ามีสารทาเลตเกินมาตรฐานกำหนดไว้ คือมากว่า 0.1 %

 

***คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) มีเกณฑ์ควบคุมปริมาณของสารทาเลตสำหรับของเล่นเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ และของเล่นที่สามารถนำเข้าปากได้ต้องไม่เกิน 0.1% อย่าลืมเลือกของเล่นที่มีฉลาก PVC-Free หรือ Phthalates Free นะคะ***

 

❤︎ BPA คือ Bisphenol A ❤︎

เป็นสารเคมีที่อยู่ในพลาสติก ซึ่งมีคุณสมบัติทำให้บรรจุภัณฑ์ที่ทำด้วยพลาสติกนั้นมีความใสและแข็งแรง ไม่แตกง่าย มีผลต่อร่างกายการสร้างเซลล์สมอง เป็นสารก่อมะเร็งและสร้างความผิดปกติให้กับเซลล์ในร่างกาย หากผลิตภัณฑ์พลาสติกพวกนี้โดนความร้อน จากการต้ม นึ่ง BPA ในผลิตภัณฑ์พลาสติกจะหลุดปะปนในอาหารภาชนะ หรือของเล่นนั่นเอง

คณะกรรมาธิการยุโรปลงความเห็นว่า ปริมาณ BPA ที่ร่างกายได้รับและจะไม่เป็นอันตรายควรอยู่ในปริมาณ 0.05 มิลลิกรัม ต่อ น้ำหนัก 1 กิโลกกรัมต่อวันเท่านั้น หากคุณแม่ต้องเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากพลาสติก ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีข้อความว่า “BPA FREE” ซึ่งหมายความว่าผลิตภัณฑ์ไม่มีส่วนประกอบของสาร BPA นั่งเองค่ะ และยังมีสารเคมีตกค้างอื่น ๆ สารอันตรายจากโลหะหนัก ไม่ว่าจะเป็นพลวง สารหนู แบเรียม แคดเมียม โครเมียม ปรอท ซึ่งจะต้องมีต่ำกว่า ที่ค่ามาตรฐานกำหนด เพื่อความปลอดภัยสำหรับเด็ก ๆ นะคะ

 

วิธีการเลือกซื้อของเล่น

☺︎ อ่านฉลาก ดูความเหมาะสมของช่วงอายุเด็กเป็นสำคัญเพื่อป้องกันอันตรายจากการเล่นผิดวิธีหรือการนำเข้าปาก

☺︎ ซื้อของเล่นปริมาณน้อยชิ้นโดยเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ

☺︎ หลีกเลี่ยงของเล่นที่มาราคาถูกมากจนน่าตกใจ เพราะเสี่ยงที่จะมีสารเคมีอันตรายปนเปื้อนในของเล่นจากการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน

☺︎ คำนึงถึงชิ้นส่วน การประกอบ การออกแบบของเล่นที่ได้มาตรฐานไม่มีกลิ่นสารเคมี ไม่มีชิ้นส่วนเล็ก ๆ หลุดออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ

☺︎ ดูส่วนประกอบของวัสดุที่ใช้ทำของเล่น ตรวจสอบสารเคมีบนฉลากของเล่น

☺︎ เลือกซื้อของเล่นที่ได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน

 

เครื่องหมายสำคัญที่พ่อแม่ควรรู้จักก่อนเลือกซื้อของเล่นให้กับลูก

 

❤︎ มอก. 685 - 2540

เป็นในการรับรองคุณภาพของเล่นสำหรับเด็ก สำหรับประเทศไทย โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเป็นผู้ตรวจสอบ ความปลอดภัยของของเล่นจากผู้ผลิต และผู้นำเข้าของเล่นสำหรับเด็ก ซึ่งจะพิจารณาความปลอดภัยในด้านวัสดุ ส่วนประกอบ ความแข็งแรงของของเล่นแต่ละชนิด

 

❤︎ เครื่องหมาย CE

มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า “Conformité Européene” แปลเป็นภาษาอังกฤษคือ “European Conformity” เป็นมาตรฐานด้านความปลอดภัยสินค้า ประเภทของเล่นโดยตรง คือ EN-71 ซึ่งเป็นมาตรฐานความปลอดภัยของเล่น ในสหภาพยุโรป

 

❤︎ เครื่องหมายวงกลมแดงมีรูปเด็กและตัวเลข 0-3

ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีเล่นเพราะอาจมีชิ้นส่วนเล็กที่เด็กอาจเผลอกลืนลงคอได้ แนะนำว่าต้องเลือกให้เหมาะกับอายุลูก ๆ ด้วยนะคะ

 

ถ้ารู้แบบนี้แล้วเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่น่าจะมีหลักในการเลือกซื้อของเล่นให้ลูกได้ง่ายขึ้นแล้วนะคะ เพราะความปลอดภัยสำคัญมาก ๆ และช่วยให้คลายกังวลกับการเลือกของเล่นให้ลูกได้อย่างสบายใจแน่นอนเลยค่ะ