เลิกนมมื้อดึก
Topic Classic ตลอดกาลสำหรับงานแม่ลูกอ่อนนอนน้อย
🍼 เข้าใจกันก่อนเริ่ม ร่างกายเป็นโรงงานนมที่เจ๋งสุด ๆ ผลิตนมตามออเดอร์ที่กระตุ้นทุกวัน ๆ แบบสม่ำเสมอ ปั๊มนมแค่ไหน นมก็จะออกมาต่อเท่า ๆ เดิม (+ ปัจจัยตัวแม่เองกินอิ่มนอนหลับมีความสุข)
เราจะลดรอบปั๊มนม เมื่อรู้สึกว่านมแม่มีเพียงพอสำหรับลูก นมสต๊อกพอสำหรับเก็บ 1 ปีหรือตามเราแพลนไว้ ไม่จำเป็นต้องมีสต๊อกเยอะเกินลูกกิน ถ้าทำไปเพื่อแบ่งนมแม่ให้เลี้ยงเด็กหลาย(ลูกคนอื่น) อันนี้ขอให้ศึกษาดีดีนะคะ เพราะการแบ่งปันนมแม่ต้องการคัดกรองที่ถูกต้องไม่ได้แบ่งกันได้เลยนะคะ ที่สำคัญไปกว่านั้นน้ำนมจากเต้าเรา สารอาหาร แคลเซียมของคุณแม่ทั้งนั้นเลย ไม่ควรทิ้งไปฟรี ๆ ปั๊มออกมาให้พอดีกินให้หมดดีกว่า ต้องรักษาไว้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะนมมากกินไม่ทันก็ทิ้งเสียดายของนะคะ
เราปั๊มทุกวัน เราปั๊มรอบน้อยลงก็ได้ ลูกก็ได้กินนมใหม่อยู่ดี ไม่ต้องไปห่วงเพื่อกินนมเก่า ก่อนนมใหม่ทีหลัง อีกทั้งปั๊มนมมากเกินไปจนเหนื่อยก็มีส่วนกระทบต่อสุขภาพกายและใจของแม่ ที่เหนื่อยเครียด เอาเวลาไปกอดลูกดีกว่านะ ทำให้พอดี แล้วใจเราจะมีความสุข
เมื่อเรารู้แล้วว่าพอ เราดึงสติตัวเองก่อน เท่านี้โอเคพอ ไม่ต้องมีสต๊อกมาก(ย้ำ) ไม่มีแข่งชิงแชมป์นักปั๊มนมระดับจังหวัด “ลูกอิ่ม นมหลับ เติบโต แม่ทุกคนชนะเลิศแล้ว” ไม่มีใครดีกว่ากัน ไม่มีใครปั๊มนมเก็บนมมากกว่า แล้วจะแปลว่าดีที่สุด มีมาก อาจจะเหนื่อยมากกว่าคนมีพอดีก็ได้ อยู่ที่ใจเรากับความเครียดล้วน ๆ เลยรักลูกแล้ว รักตัวเองด้วย เพราะตัวแม่เองมีความสุข ลูกนั้นแหละมีความสุขตามทันที
เคยปั๊มวันละกี่รอบ ห่างกี่ชั่วโมง ทดไว้ในใจ เพิ่มรอบห่างขึ้น 30 นาที-1ชม. ในแต่ละรอบ หมายถึงยืดเวลา ไหวเท่าไหร่เพิ่มเท่านั้น แต่ไม่ควรโดดไปนานมากเพราะเต้าอาจจะอักเสบถ้าค้างนาน
🌟 ถ้าพอครบเวลาเต้าคัด เต่งตึง จี๊ด ๆ ขึ้นมาก่อนเวลาทำอย่างไร ? จุดสำคัญของการลดรอบ คือ บีบมือ ระบายน้ำนมออก ให้พอหายคัด ตรงนี้สำคัญมากที่จะช่วยให้เราไม่เจ็บปวดเต้าเวลามีนมมารอออกมาก แต่เราก็ไม่อยากปั๊มให้มันออกไปเกลี้ยงอีกแล้วมาเติมเต็มอีก ใช้วิธีบีบมือ หัดบีบมือรีดน้ำนมออกด้วยตัวเอง บีบออกให้พอคลายเต้า ไม่จำกัดครั้งวัดจากความรู้สึกตัวเองได้เลย ให้ไม่เจ็บ"...
ถึงรอบที่เรายืดไว้ ค่อยปั๊มออก ตามปกติ เคลียลเต้าได้ อย่าปล่อยให้เป็นก้อนนวดประคบได้เลย น้ำนมอาจจะมีปริมาณมากในช่วงแรก ๆ ที่เราค้างตกรอบ แต่จะน้อยลงเพราะการกระตุ้นน้อยลง "น้ำนมจะผลิตน้อยไปด้วย เป็นเหตุเป็นผลกัน"
ยกตัวอย่าง
ปั๊มวันละ 5 รอบ ภายใน 24 ชม. เราจะเพิ่มระยะเวลาที่จะรอปั๊มให้นานขึ้น รอบการปั๊มจะลด คือการเพิ่มรอบเวลาให้นานกว่าเดิม จากเคยปั๊มทุก3ชั่วโมงเป็นทุก 4 ชั่วโมง
เราจะให้เวลาห่างขึ้นต่อเมื่อตัวเองรู้สึกลงตัวกับจำนวนรอบที่กำลังลด ร่างกายปรับได้ เราค่อยยืดออกไป อาจใช้เวลาในการยืดเวลานานขึ้น ไม่เท่ากัน 1 - 3 สัปดาห์ ค่อยเป็นค่อยไปตามที่ร่างกายและใจเราไหวได้เลยค่ะจำนวนรอบปั๊มนมจะน้อยลง ไม่ต้องห่วงนะคะช่วงแรกทิ้งไว้นานนมจะดูเยอะ แต่ไม่นานค่ะนมหดแน่นอน
หลังจากนี้วันละ 3 รอบจะให้เหลือ 2 รอบ หรือ 1 รอบ ก็จัดการตัวเองได้ง่ายขึ้นแล้วค่ะ ตึง ๆ ก็รีบบีบมือ พอนมจะเริ่มหมดจริง ๆ มันจะไม่ค่อยคัดไปเองตามธรรมชาติ แต่เราจะไม่มีอาการปวดเจ็บเป็นไข้ เพราะเราลดมันแบบธรรมชาติไม่ได้หักดิบนั่นเอง
☺︎ คนโต (น้องร็อคกี้) น้องกินนมแม่ตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 2 ปี กินนมกล่องเสริมด้วยตั้งแต่ขวบกว่า ๆ และเสริมนมแม่นิด ๆ หน่อย ๆ มาตลอด เลิกปั๊มนม ที่น้องอายุประมาณ 1.2 ปี โดยใช้วิธีลดรอบหลัก ๆ ที่เขียนไปด้านบน คนแรกปั๊มเยอะเหนื่อยเกินไปนมมากเกินไป พอรู้ตัวก็ลดรอบ ยังเสียดายเวลาตอนนั้นปั๊ม8รอบต่อวัน แทบสลบคาเครื่องปั๊ม
สต๊อกนมสุดท้ายกินไม่ทันเอามาอาบ เครียดและไม่มีความสุขหลายเดือนกว่าจะจับจุดได้ นั่งร้องไห้ก็มี ไม่โอเค กดดันหลายอย่าง เพราะเสพสื่อเห็นคนมีนมเยอะ ๆ ทำไมตัวเองมีนิดหน่อย นู้นนี่นั่น ย้อนคิดไปทำไมเหนื่อยขนาดนั้น กลับตัวแก้ตัวในแบบลูกคนที่สองค่ะไม่เอาแล้วแบบเครียด ๆ
☺︎ คนที่สอง (น้องพินดา) ให้นมแม่ เข้าเต้าหลักในช่วงแรก หลังจากนั้นทั้งเข้าเต้าและแบบขวด พยายามให้ลูกกินเต้าให้ได้จะไม่เหนื่อย ปั๊มนมเดือนแรกวันละ 4-5 รอบ (ระหว่างนี้ลูกกินเค้าประปราย ตามสะดวก ขวดเป็นหลัก) ปั๊มเพื่อให้ลูกกินนมสด ๆ วันต่อวัน มีสต๊อกนิดหน่อยเก็บวันละ 5ออนซ์ 10 ออนซ์ เก็บแบบชิว ๆ พอเสริมกันฉุกเฉินไม่ถึง 100 ถุง
รอบปั๊มคือ 06:00 | 12:00 | 18:00 | 00:00 น. เข้าเดือนที่ 6 เหลือ 3 รอบ ก็ลดรอบตามสะดวก โอกาสครั้งที่สองนี้มีความสุขในเรื่องการให้นมมากกว่าลูกคนแรกมาก ๆ จัดการกับตัวเองได้ว่าแบบไหนทำแล้วไม่เหนื่อยเกินไปมีความสุข ไม่เครียดเป็นหนทางที่ดีที่สุดสำหรับเราในสายนมแม่ค่ะ
นมแม่ต้องเริ่มด้วยความเข้าใจและสบายใจที่จะทำ เป็นสิ่งที่ทำให้คุณแม่สามารถให้นมแม่กับลูกได้นานและมีความสุขนะคะ