พัฒนาทักษะ STEAM ผ่านงานบ้าน
แต่ละครอบครัวมีงานบ้านอะไรบ้างที่มอบหมายให้เด็ก ๆ ช่วยทำ ?
คุณพ่อคุณแม่คงคุ้นเคยกับการแสดงออกทาง ‘อารมณ์’ ของลูกกันอยู่แล้วผ่านเสียงร้องไห้ ผ่านคราบน้ำตาตอนที่ลูกเสียใจ ผ่านเสียงตะโกนยามที่ลูกโมโห ผ่านเสียงหัวเราะ ผ่านการเต้นรำยามที่ลูกมีความสุข บางครั้งผ่านไป 3 นาที ลูกแสดงออกมา 4 อารมณ์จนพ่อแม่ตามแทบไม่ทัน
โดยพฤติกรรมที่แสดงออกจากอารมณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ก็ยังเป็นตัวกระตุ้นทำให้พ่อแม่อย่างเราหงุดหงิด โกรธ และบางครั้งทำให้เราต้องเสียน้ำตาจนทำให้การเลี้ยงลูกเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย
..."ทำไมมนุษย์เราต้องมีอารมณ์ และทำไมลูกจึงแสดงออกทางอารมณ์มากกว่าผู้มหญ่อย่างเรา ?"... วันนี้มาทำความเข้าใจกันครับ
“อารมณ์” เป็นหนึ่งสัญชาตญาณที่ทำให้มนุษย์อยู่รอดมาถึงทุกวันนี้ และเราเป็นสิ่งมีชีวิตเดียวบนโลกนี้ที่ร้องไห้ออกมาได้จากอารมณ์เศร้าเสียใจได้ เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น สมองเรารับรู้และ ‘รู้สึก’ ตอบสนองกับเหตุการณ์นั้นด้วย ‘อารมณ์’ โกรธ เศร้า เสียใจ หงุดหงิด ไม่สบายตัว ยินดี มีความสุข ฯลฯ จากนั้นร่างกายก็จะตอบสนองกับอารมณ์นั้นด้วยการเปลี่ยนแปลงของการเต้นของหัวใจ ชีพจร ความดันโลหิต อุณหภูมิ การหายใจ และประสาทสัมผัส แล้วจึงแสดงออกมาภายนอกด้วยพฤติกรรมและการกระทำผ่านการร้องไห้ โวยวาย หัวเราะ หรือกระทั่งการทำร้ายตัวเอง
เพราะสมองเรารับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และอารมณ์จะผลักเราให้ ‘ลงมือ’ ตอบสนองกับเหตุการณ์ข้างหน้า หากมีอันตรายที่ทำให้เรารู้สึกกลัว มนุษย์จะเลือกที่จะ ‘ถอยหนี’ หรือ ‘สู้ตาย’ กับเหตุการณ์ข้างหน้า หลายครั้งหนีอาจรอด หลายครั้งไม่สู้ก็ตาย นี่เองที่ทำให้มนุษย์รอดตายมาจนถึงทุกวันนี้ ในทางจิตวิทยา
เช่น เมื่อลูกต้องเจอข้อสอบที่ยาก เขาอาจรู้สึกเครียดและกังวลมากขึ้น ซึ่งความเครียดและกังวลนั้นจะผลักให้ลูกอ่านหนังสือมากขึ้น ขวนขวายพยายามเพื่อเตรียมตัวสอบได้ดีขึ้น หรือกิจกรรมที่ลูกชอบ ทำให้เขารู้สึกตื่นเต้น ใจสั่น สนุกสนาน โดยความรู้สึกเหล่านี้กระตุ้นทำให้เขากล้าทำ ทำซ้ำ และทำได้ดีขึ้นในกิจกรรมนั้น ๆ เป็นต้น
อารมณ์ ยังเป็น “การสื่อสาร” ที่ทำให้คนอื่นเข้าใจเรา
เด็กเล็กร้องไห้เมื่อหิว เมื่อง่วงนอน เมื่อไม่สบายตัว เมื่อรู้สึกไม่ปลอดภัย เสียงร้อง เพื่อสื่อสารให้พ่อแม่เข้ามาดูแลอุ้ม-กอด-ให้นม-เปลี่ยนผ้าอ้อม เพื่อให้เขาอยู่รอดและเติบโต เรียนรู้ความปลอดภัยทางอารมณ์ พ่อแม่มีอยู่จริง เรียนรู้ที่จะไว้ใจพ่อแม่ ไว้ใจโลก และออกไปสำรวจโลกได้อย่างมีความมั่นใจในตัวเอง ในขณะเดียวกันเด็กก็เรียนรู้ว่าผลของพฤติกรรมที่เกิดจากอารมณ์ของเขานั้นส่งผลอะไรกับสิ่งรอบข้างด้วย ร้องไห้ โวยวายแล้วได้สิ่งที่ต้องการมาครอบครอง ครั้งต่อไปหากไม่ได้ เด็กก็จะยิ่งร้องไห้และโวยวายมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย
นอกจากนั้นเมื่อรู้จักอารมณ์ความรู้สึกของตนเองได้ดีจะทำให้เราเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ดังนั้นคนที่ไม่เคยเข้าใจอารมณ์ของตนเอง และไม่เคยได้รับผู้อื่นที่เข้าใจอารมณ์ของเขาก็ไม่สามารถที่จะเติบโตขึ้นมาเข้าอกเข้าใจคนอื่นได้ลเลย
..."ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่ต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับ ‘อารมณ์’ ก็คือ “สื่อสาร-ต่อติด-จัดการอารมณ์"...
✚ สื่อสาร ให้ลูกเรียนรู้และรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเองว่าเศร้า เสียใจ ดีใจ หงุดหงิด ผิดหวัง หรือตื่นเต้น เป็นต้น
✚ ต่อติด เพื่อสื่อสารว่าพ่อแม่เข้าใจที่ลูกรู้สึกเป็นอย่างไร พ่อแม่ต้องให้ความเข้าใจและยอมรับในสิ่งที่ลูกรู้สึก
✚ จัดการ สอนให้ลูกจัดการอารมณ์ของตนเองอย่างเหมาะสม เราสามารถแสดงอารมณ์ออกมาได้เพียงแต่ควรให้เหมาะสมและมีขอบเขต เช่น ร้องไห้ได้แต่ทำร้ายคนอื่น ทำร้ายตัวเองหรือทำลายสิ่งของไม่ได้โดยมีพ่อแม่อยู่เคียงข้างอย่างเข้าใจให้เขามีที่พึ่งในยามที่เขายังไม่สามารถควบคุมความรู้สึกของตนเองได้ดี ค่อย ๆ สอนให้เขารู้เท่าทันและควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ในที่สุด
อย่าลืมว่าก่อนที่จะสอนลูกให้รู้จักและจัดการอารมณ์ของตนเองได้นั้น พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีก่อนเสมอ มีสติรู้เท่าทันและจัดการอารมณ์ของตัวเองให้ได้ก่อน เพราะถ้าเกิดเหตุการณ์แล้วสติพ่อแม่หลุดบ่อย ลูกก็จะซึมซับวิธีนั้นไปใช้เช่นกัน