ข่าวประชาสัมพันธ์ : คิดคลับส์ ชวนเที่ยว Astro Night Family Camp
ชวนคู่พ่อลูก อายุ 6 - 12 ปี มาร่วมสร้างช่วงเวลาแห่งความประทับใจกับกิจกรรม Astro Night Family Camp
โดยทั่วไป เด็ก ๆ มักเล่น ๆ จึงไม่ค่อยเห็นภาพตัวเองว่ามีศักยภาพอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอัน และงานที่ทำเป็นประจำอยู่ ถือเป็นของง่ายแล้ว ก็อาจไม่ช่วยให้ลูกภาคภูมิใจเพิ่ม พ่อแม่จึงต้องหางานที่ยากขึ้นให้ลูก แต่อย่ายากมากเกิน จนลูกทำไม่ได้บ่อย ๆ เพราะจะกลายเป็นสร้างความรู้สึกล้มเหลว มากกว่าภาคภูมิใจแทน
เมื่อพ่อแม่ให้งานที่ยากขึ้นอีกนิด ก็ถือเป็นการ “สร้างโอกาสให้ลูก” ท้าทายความสามารถตนเอง และพ่อแม่คอยแนะนำเมื่อลูกพบทางตัน เพื่อให้งานยาก ๆ นั้น สามารถสำเร็จได้ด้วยสองมือลูกนะคะ ลูกจะภาคภูมิใจในตนเองและมั่นใจในตัวเองเพิ่มขึ้น
เป็นธรรมดามากเลย ที่พ่อแม่จะบอกว่าลูกไม่ดียังไงเวลาเขาทำผิด เช่น ...“ลูกไม่ทำการบ้านส่งครู เอาแต่เล่นเกมส์ ทำไมทำตัวแบบนี้ ! รู้จักรับผิดชอบบ้างมั้ย !”...
หมอเข้าใจว่าเราเป็นห่วง แต่ตัวอารมณ์โกรธที่ผสมในความเป็นห่วงจะทำให้คำพูดออกมาในลักษณะโจมตีตัวลูก มากกว่าชวนให้คิดถึงการแก้ไข จะทำให้ลูกมองเห็นตัวเองแย่, มองตัวเองไม่ได้ความ, เสียความมั่นใจได้ค่ะ
ซึ่งหมายถึง การตำหนิที่เน้น "พูดปัญหา" ให้ลูกฟัง และค่อยคุยต่อถึง"วิธีแก้ไข" เช่น ...“ลูกใช้เวลาหมดไปกับเกมส์เยอะมาก ทำให้ไม่เหลือเวลาที่มากพอสำหรับทำการบ้าน”... ประโยคนี้ทำให้ลูกมองเห็นปัญหาได้ชัดเจน นั่นคือ เวลาไม่พอทำการบ้าน และต่อด้วยการกระตุ้นให้ลูกหาวิธีแก้ไข ...“ลูกฟังแบบนี้แล้ว จะทำยังไงให้มีเวลาเหลือพอทำการบ้านเสร็จทัน”...
กรณีเด็กที่สามารถบอกว่าแก้ไขยังไงได้แล้ว
แต่ถึงเวลาไม่สามารถคุมตัวเองให้หยุดเกมส์ตามที่รับปากได้ ก็ให้เรากระตุ้นลูกคิดต่อได้เลยค่ะว่า ปัญหาอีกอย่างคือ ...“การที่แม่เรียกแล้ว ลูกไม่หยุดหรือหงุดหงิดใส่แม่ อยากให้ลูกคิดต่อด้วยว่าจะให้แม่เรียกยังไง หรือทำยังไง“...
จะเห็นว่า การตำหนิที่โฟกัสไปที่ “ปัญหาและการแก้ไข" พ่อแม่จะต้องควบคุมอารมณ์ตนเองให้ได้ ถึงจะคิดคำพูดออก หมอขอให้ฝึกกันนะคะ เพราะมันคุ้มค่ามาก เพราะนอกจากจะช่วยกระตุ้นให้สมองลูกคิดแก้ปัญหาแล้ว ยังทำให้ลูกเห็น “ต้นแบบดี ๆ” ของพ่อแม่ เด็กจะซึมซับและนำไปใช้กับชีวิตตนเองในเรื่องอื่น ๆ แต่ถ้าพ่อแม่ใช้อารมณ์แก้ปัญหา ลูกก็เลียนแบบการใช้อารมณ์แก้ปัญหาเหมือนกัน
ซึ่งได้แก่...
❏ คำพูดเสียดแทงหัวใจ เช่น โง่ !, ทำไมไม่ใช้สมอง !, ขี้เกียจตัวเป็นขน !, ใช้อะไรคิดเนี่ย !”
❏ คำพูดประชด เช่น “ทีเล่นเกมส์ละฉลาด พอทำการบ้านกลายเป็นโง่ ไม่รู้เรื่อง !” “ฉลาดแต่เรื่องโง่ ๆ !”, “ทำไมไม่เลิกเรียนหนังสือไปล่ะ จะได้ประหยัดเงินพ่อแม่ !”
❏ คำพูดเปรียบเทียบ เช่น “รู้จักรับผิดชอบเหมือนน้องบ้าง”, เด็กคนอื่น ๆ เขาก็ทำกันได้ ทำไมไม่ทำเหมือนคนอื่นเขา”, เห็นเด็กข้างบ้านมั้ย เก่งให้เหมือนเขาซิ"
❏ คำพูดดูถูก เช่น “ทำตัวแบบนี้ อย่าหวังจะสอบผ่าน”, “เคยทำอะไรดี ๆ บ้างมั้ย”, ชาตินี้ชั้นคงหวังอะไรกับลูกคนนี้ไม่ได้"
การพูดที่โจมตีไปที่ตัวตนลูก จะทำให้เด็กหมดความมั่นใจ และหลายคนก็หมดหวังกับตัวเองเหมือนที่พ่อแม่หมดหวังในตัวเขา และหมอจะบอกว่า คนที่หมดหวังในตัวเอง โอกาสที่จะคิดจะสู้และคิดแกไขนั้น น้อยมาก ระลึกไว้ว่า ตำหนิที่พฤติกรรม เน้นพูดปัญหาและการแก้ไข อย่าโจมตีตัวตนลูก
แต่ต้องตามจริง และจริงใจด้วยนะคะ ข้อนี้หมอพูดบ่อยแล้ว ไม่พูดซ้ำนะคะ แต่ขอเน้นที่ชื่นชมความพยายาม เช่น เมื่อลูกพยายามอดทนทำงานมากขึ้น เมื่อลูกพยายามเปลี่ยนแปลงตัวเอง แม้ว่ายังไม่สำเร็จ
และชื่นชมเมื่อลูกพยายามคิด แม้ว่ายังไม่ลงมือทำและไม่รู้ว่าผลเป็นยังไง ซึ่งลูกคิดปัญหาตัวเอง ก็ดีกว่าไม่คิดเลยใช่มั้ยคะ ชมเขาด้วยนะคะว่า ...”แม่ภูมิใจที่ลูกพยายามคิดแก้ไขตัวเอง”...
หมอรู้ค่ะว่า วินัยหลาย ๆ อย่างเราต้องออกกติกาและควบคุมลูก แต่อย่าให้มากเกินไปจนลูกอดใช้ความคิดตัวเอง และที่สำคัญ เวลาอิสระของลูก อย่าห้ามมาก อย่ากังวลมาก จนลูกขาดโอกาสทดลองศักยภาพตนเอง กลายเป็นเด็กไม่มั่นใจที่จะคิดหรือลงมือทำไปเลย
ข้อนี้ตรงไปตรงมาเลยค่ะ เด็กที่กลัวทำผิด (เพราะจะโดนด่าโดนตี) จะไม่ค่อยกล้าคิดนอกกรอบ จะไม่ค่อยมั่นใจเวลาต้องแสดงความคิดเห็นหรือลงมือทำอะไรที่ยากขึ้น และเด็กที่โดนขู่บ่อย ๆ ก็จะขี้กลัว ไม่มั่นใจ ซึ่งขึ้นอยู่กับขู่อะไร เช่น ขู่ว่าเดี๋ยวคนแปลกหน้ามาจับตัวไป หรือเดี๋ยวพี่เขาว่า หรือเดี๋ยวพี่มาตีหรอก
พอขู่บ่อย ๆ เมื่อเจอเพื่อนพ่อหรือเพื่อนแม่ที่ไม่ค่อยได้เจอกัน แล้วเราให้สวัสดี ลูกจะกลัวขึ้นมาโดยอัตโนมัติ จะไม่สวัสดีหรือหลบไปอยู่ข้างหลัง ด้วยสายตาที่กังวล (และเรื่องขี้กลัว แก้ไขยากมากนะคะ)
...”รู้แบบนี้แล้ว ก็ไม่ใช้อารมณ์รุนแรงและไม่ขู่ลูกนะคะ มาเลี้ยงลูกเชิงบวกกัน ทำทั้ง 7 ข้อเลย เราสร้างลูกให้มั่นใจได้ ด้วยตัวเราเอง สู้ ๆ ค่ะ”...