ข่าวประชาสัมพันธ์ : คิดคลับส์ ชวนเที่ยว Astro Night Family Camp
ชวนคู่พ่อลูก อายุ 6 - 12 ปี มาร่วมสร้างช่วงเวลาแห่งความประทับใจกับกิจกรรม Astro Night Family Camp
ในเด็กเล็กอาจจะโกหก...
...เพื่อปกปิดบางสิ่งบางอย่าง ทำให้ตัวเองรอดพ้นจากปัญหาดังกล่าว
...เพื่อดูว่า ผู้ใหญ่หรือคนรอบข้างจะตอบสนองอย่างไรเมื่อพวกเขาพูดโกหก เช่น เด็กเล็กบางคนอาจจะรู้ว่า ถ้าเขาบอกแม่ว่า มีแมลงสาปในชามข้าวด้วย (แม้จะไม่มี) แม่ของเขาจะกรี๊ด
...เพื่อทำให้เรื่องราวของพวกเขาน่าตื่นเต้นมากขึ้นหรือทำให้ตัวเองน่าสนใจมากขึ้น เช่น เด็กบางคนอาจจะวิ่งได้เร็ว เขาอาจจะเพิ่มเรื่องราวเวลาเล่าว่า “เขาวิ่งได้เร็วที่สุดในห้องเลยนะ"
...เพื่อให้ได้รับความสนใจ เช่น เด็กบางคนไม่ค่อยมีใครสนใจ เขาอยากจะเป็นที่สนใจ เลยคิดกุเรื่องขึ้นมา
...เพื่อให้ได้รับสิ่งที่พวกเขาต้องการ หรือ หลีกเลี่ยงสิ่งที่เขาไม่ต้องการ เช่น การบอกกับคุณยายว่า "แม่อนุญาตให้กินขนมได้หนึ่งชิ้นก่อนกินข้าวเย็น” หรือ บอกคุณครูพละว่า “วันนี้ไม่สบาย”
แต่ในเด็กโตมักจะโกหก เพราะ...
...เพราะ ไม่ต้องการทำให้ใครเสียใจ หรือ ผิดหวัง เช่น เด็กบางคนทำคะแนนสอบได้ไม่ดี แต่ไม่กล้าบอกความจริงกับพ่อแม่ เพราะกลัวว่า พ่อแม่จะผิดหวังใจตัวเขา
...เพราะ กลัวว่าจะทำให้ใครโกรธ เช่น เด็กบางคนรู้สึกไม่สบาย แต่เขาไม่กล้าบอกพ่อแม่ เพราะกลัวว่าพ่อแม่จะโกรธเขา
...เพราะ การโกหกน่ากลัวน้อยกว่าการพูดความจริงออกไป เช่น ผู้ใหญ่อาจจะทำโทษเขารุนแรง จนเด็กรู้สึกกลัว ครั้งต่อไป เขาเลือกที่จะโกหกดีกว่าพูดความจริงออกไป
...เพราะ เขารู้สึกอับอาย เช่น เขาไม่อยากให้เพื่อนรู้ว่า "เขาทำการบ้านไม่ได้เอง”
...เพราะ เขาต้องการ หรือ หลีกเลี่ยงบางอย่าง (ข้อนี้จะคล้ายในเด็กเล็กข้อที่ 5)
คำถาม : "เราจะทำอย่างไรเพื่อให้เด็กพูดความจริง?”
คำตอบ : “เราต้องเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับเขาก่อน”
“ให้การยอมรับ” “ให้การรับฟัง” “ให้ความช่วยเหลือ”
☺︎ "ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเรากับลูกสำคัญมาก” ☺︎
ถ้าหากเรากับลูกไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การคาดหวังให้ลูกพูดความจริงกับเรา อาจจะเป็นเรื่องที่ยากเกินไป เพราะสำหรับเด็กแล้ว การมีความสัมพันธ์ที่ดี จะช่วยลดกำแพงระหว่างเรากับลูก ให้การพูดความจริงไม่ได้นำไปสู่สิ่งที่น่ากลัว เช่น การลงโทษอย่างรุนแรง ความผิดหวัง และอื่น ๆ แต่เป็นการได้รับความช่วยเหลือจากเราต่างหาก
☺︎ "สนับสนุนให้ลูกพูดความจริง” ☺︎
เมื่อลูกพูดความจริง แม้สิ่งนั้นจะทำให้พ่อแม่อย่างเรารู้สึกโกรธมากแค่ไหน ก็ให้เราสงบใจ และให้การช่วยเหลือลูกก่อน เมื่อช่วยเหลือแล้ว เราสามารถสอนเขาให้จดจำบทเรียนครั้งนี้ เพื่อว่า ในอนาคตเขาจะได้ไม่ทำเช่นนี้อีก
เพราะการลงโทษที่รุนแรงมักนำไปสู่การ “โกหก” มากกว่า “การพูดความจริง” ในขณะที่ “ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อแม่และเด็ก” "การรับฟัง" และการทำให้เด็กรู้สึกว่า "ตนเป็นที่ยอมรับ" นำไปสู่ “การพูดความจริง” มากกว่า "ปกปิดความจริงนั้นไว้” ถ้าเด็กรับรู้ว่า “การพูดความจริงจะทำให้เขาได้รับการช่วยเหลือ” เด็กจะเลือกที่จะบอกเรา เพราะไม่มีเด็กคนไหนอยากโกหกหรอก ถ้าเขารู้ว่า ผู้ใหญ่ช่วยเหลือเขาได้
สุดท้าย ในวันที่ลูกพูดโกหก ผู้ใหญ่ควรกลับมาทบทวนว่า...
ทุกครั้งที่เด็กโกหก ไม่มีครั้งไหนที่เขาทำโดยปราศจากสาเหตุ ถ้าหากเราทบทวนให้ดี เราจะรู้ว่า “ทำไมเด็กต้องโกหกเรา"
ในวันที่ลูกเราโกหก เราในฐานะพ่อแม่ และผู้ใหญ่ ต้องท่องเอาไว้ให้ขึ้นใจ “ช่วยลูกแก้ปัญหาก่อน" รับฟังอย่างสงบ ฟังให้จบ อย่าเพิ่งขัด และอย่าเพิ่งถามหาสาเหตุ แต่ให้ช่วยกันแก้ปัญหาก่อน เมื่อปัญหาคลี่คลาย อย่าลืมสอนเขาให้จดจำเป็นบทเรียน และให้ลูกเรียนรู้ที่จะรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเสมอ โดยมีพ่อแม่เคียงข้าง จนปัญหาเรื่องราวจบลงด้วยดี
...”เด็ก ๆ มักเรียนรู้จากพ่อแม่ของเขา ดังนั้น ‘พ่อแม่ควรพูดความจริงเสมอ’”...
อ้างอิง : Strichartz, A F, & Burton, R V (1990) Lies and truth: A study of the development of the concept Child development, 61(1), 211-220