5740
"มกราคม" ทำไมถึงยาวนานจัง ?

"มกราคม" ทำไมถึงยาวนานจัง ?

โพสต์เมื่อวันที่ : January 21, 2024

 

เคยสงสัยกันมั้ยคะว่าทำไมเดือนมกราคมถึงยาวนานนนนนนนนนนนนกว่าเดือนอื่น ๆ

 

มีงานวิจัยมากมายให้ข้อมูลตรงกันว่า เดือนมกราคมเป็นเดือนที่ยาวนานในความรู้สึกมากกว่า 11 เดือนที่เหลือ นักวิจัยมหาวิทยาลันเคมบริดจ์ อธิบายว่าแม้เวลาในความเป็นจริงจะดำเนินไปตามปกติแต่เวลาสมองของเราอาจไม่เท่ากัน ทำให้รู้สึกได้ว่ามกราคมผ่านไปช้า

 

หนึ่งในปัจจัยสำคัญของนาฬิกาสมองคือ “โดพามีน” (Dopamine) สารสื่อประสาทที่จะหลั่งออกมาเวลาที่เกิดความรู้สึกสุข สบายใจ หรือตื่นเต้น สารเคมีในสมองตัวนี้จะทำให้นาฬิกาในสมองเดินเร็วขึ้น และในทางตรงกันข้าม หากไม่ได้รู้สึกสุข สบายใจ ตื่นเต้น หรือรู้สึกเบื่อ ก็ยิ่งทำให้เกิดความรู้สึกว่าเวลาเดินช้ากว่าความเป็นจริง

 

 

สารโดพามีน (Dopamine) เกี่ยวข้องยังไง ?

จากงานวิจัยระบุไว้ว่าเดือนมกราคมจะเป็นช่วงเวลาที่มีการหลั่งโดพามีนออกมาน้อยกว่า 2 เดือนก่อนหน้า คือเดือนพฤศจิกายนและเดือนธันวาคม ซึ่งช่วงเดือนเหล่านี้มีเทศกาลวันหยุด กิจกรรมต่าง ๆ ที่ชวนให้มีความสุขในทุก ๆ วัน สารโดพามีนนี้ก็จะหลั่งออกมามากเป็นพิเศษในช่วง 2 เดือนหลัง

 

ซึ่งเป็นผลทำให้เมื่อถึงเดือนมกราคมที่ทุกอย่างต้องกลับสู่สภาวะปกติ เด็ก ๆ ต้องกลับมาเรียน ผู้ใหญ่ต้องกลับมาทำงานด้วยจิตใจที่อาจจะยังติดอยู่กับความรู้สึกในเทศกาลปีใหม่จึงทำให้โดพามีนนั้นหลั่งน้อยลง

 

 

หากเพื่อน ๆ กำลังคิดว่าเมื่อไหร่จะผ่านพ้นเดือนมกราคมนี้ไป ลองหันถามคนข้าง ๆ วันนี้เป็นอย่างไรบ้าง แบ่งปันและรับฟังเรื่องราวที่ได้เจอในช่วงปีใหม่ของกันและกันเพื่อสร้างความสุขเล็ก ๆ ในระหว่างรอสิ้นเดือนมกรานี้กันนะคะ