ข่าวประชาสัมพันธ์ : คิดคลับส์ ชวนเที่ยว Astro Night Family Camp
ชวนคู่พ่อลูก อายุ 6 - 12 ปี มาร่วมสร้างช่วงเวลาแห่งความประทับใจกับกิจกรรม Astro Night Family Camp
เหตุการณ์ที่ 1 ➜ ...”ลูกชายอายุ 9 ขวบ น้องเป็นเด็กดี ทำตามระเบียบที่ตั้งไว้ จะมีอิดออดและแสดงความไม่พอใจบ้างเวลาที่น้องอยากเล่นเกม แม่พยายามแก้ปัญหาโดยการแบ่งเวลา ให้เขาทบทวนบทเรียน ให้เวลาเล่นเกมโดยมีการจำกัดเวลาในแต่ละวัน สุดท้ายคุณพ่อเห็นว่าคุณแม่ทะเลาะกับลูกอยู่บ่อยครั้งเรื่องการทบทวนบทเรียน บวกกับผลการเรียนน้องกลางภาคตกลงต่ำกว่า 90%”...
เหตุการณ์ที่ 2 ➜ ...”คุณแม่จึงบอกน้องไปว่าถ้าผลคะแนนเทอมนี้ต่ำกว่า 90% คุณแม่จะให้งดเล่นเกมเทอมหน้าทั้งเทอม บวกกับคุณพ่อเช็กเครื่องพบว่าน้องใช้เวลากับไอแพดเยอะเกินกว่าที่ควรจะเป็น จึงได้บอกกับน้องไปว่า พ่อและแม่ผิดหวังในตัวหนู คุณพ่อเลยบอกน้องว่าต่อไปนี้จะไม่กำหนดเวลาอีกแล้ว และจะไม่มีการทบทวนบทเรียนทุกเย็น อยากเล่นเกมเท่าไรดูเอาเองเลย”...
เหตุการณ์ที่ 3 ➜ ...”คุณแม่แอบหวังลึก ๆ ว่าน้องจะคิดได้ แต่พอเช็กเครื่องน้องปรากฏว่าน้องใช้เวลาเล่นเกมมากกว่าเดิม ไม่รู้ว่าควรจะทำอย่างไร แม่อยากลดเวลาใช้ไอแพดของน้องลง แต่คุณพ่อกำลังใช้ไม้แข็งเพื่อให้น้องอยากทำอะไรก็ทำเลย แล้วมาดูผลของสิ่งที่น้องเลือก น้องทำเพื่อจะได้ยึดไอแพดน้อง”...
เหตุการณ์ที่ 4 ➜ ...”คุณแม่รู้สึกผิดที่ไม่ได้เล่นกับน้อง แต่คิดว่าการให้เวลาเขาด้วยการทบทวน สอนหนังสือคือการใช้เวลาร่วมกันที่มีประโยชน์กับตัวเขา แม่ออกไปเที่ยวกับน้องก็ใช้เวลาเต็มที่”...
เหตุการณ์ที่ 5 ➜ ...”คุณแม่โกรธจึงเลือกที่จะไม่คุยกับเขา แม่พยายามคุยแต่ก็ฝืนตัวเอง ยิ่งเห็นน้องไม่รู้จักหน้าที่ตัวเอง แม่ก็ไม่อยากคุยด้วย เพราะพยายามคุยกับน้องมาหลายครั้ง”...
เหตุการณ์ที่ 6 ➜ ...”แม่ควรวางตัวยังไงคะ ทำตัวปกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ก็กลัวว่าน้องจะคิดไม่ได้ว่าสิ่งที่น้องทำไม่ถูก จะไม่คุยกับเขาก็กลัวจะห่างกันไป เดี๋ยวจะไม่มีอะไรคุยกัน แม่เครียด นอนไม่หลับ ไม่รู้จะปรึกษาใคร คุณพ่อก็เป็นพวกสุดโต่ง บอกว่าเวลาที่แม่ให้ก็มีแต่เรื่องเรียน”...
จากเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ หมอขอแนะนำแนวทางให้คุณพ่อคุณแม่
🔹 1. คุณพ่อคุณแม่ควรหาวิธีจัดการกับความรู้สึกผิดหวัง และความโกรธของตัวเองให้ได้ก่อน เข้าหาลูก
🔹 2. ไม่ใช้วิธีเย็นชา ไม่ใช้วิธีไม่คุยด้วย เพราะยิ่งทำให้ลูกรู้สึกโดเดี่ยว ไร้ที่พึ่ง
🔹 3. เข้าหาลูก มีเวลาคุณภาพที่คุย เล่น ทำกิจกรรมกับลูก ที่ลูกรับรู้ได้ว่าพ่อแม่เข้าใจและยอมรับเขา
🔹 4. เปิดใจคุยกับลูกเน้นรับฟัง โดยเฉพาะความรู้สึกลูก เช่น ถามลูกว่า “ลูกรู้สึกยังไงที่พ่อแม่ไม่คุยด้วย” พ่อแม่ต้องรับฟังด้วยหัวใจ ซึ่งแปลว่า เราจะไม่เอาเหตุผลมาแก้ไข เช่น พ่อแม่ทำเพราะหวังดี เพราะการพูดแก้ตัว ทำให้ลูกรู้สึกว่า พ่อแม่มาคุยเพื่อให้ลูกเข้าใจพ่อแม่ ไม่ใช่มาคุยเพื่อเข้าใจลูก
🔹 5. ลูกทุกคนบนโลกใบนี้ต้องการพ่อแม่ที่เข้าใจ (ไม่ใช่ตามใจ)ด้วย ไม่ได้ต้องการแต่พ่อแม่ที่อบรมบ่มนิสัยเท่านั้น (ลองถามตัวเองว่า เราต้องการพ่อแม่ที่เข้าใจด้วยมั้ย)
🔹 6. เมื่อเข้าใจกันแล้ว ก็กำกับวินัยใหม่ด้วยการลงรายละเอียด เช่น ทำการบ้านก่อนเล่นเกม และกำหนดเวลาในการเล่นเกม เหมือนที่คุณแม่เคยทำ แต่ครั้งนี้เราต้องจัดการอารมณ์โกรธของเราให้ได้ อย่าทะเลากับลูก
🔹 7. ชื่นชมลูกให้มากขึ้น ทั้งผลลัพธ์ เช่น “ลูกเก่งมากเลยครั้งนี้ปิดเกมตรงเวลา” และความพยายาม “แม่เห็นลูกอิดออด ไม่ยอมปิดแต่สุดท้ายก็ปิดได้ เยี่ยมมากลูก”
🔹 8. สร้างบรรยากาศในบ้านให้มีความสุข โดยคุณพ่อกับคุณแม่เป็นตัวอย่างที่ดี หากทะเลาะกัน ก็อย่าให้ลูกเห็น (หากปัญหาเยอะมาก คุยกันไม่ได้เลย แนะนำให้หาที่ปรึกษาค่ะ)
สุดท้ายนะคะเด็กวัยประถมฯเลี้ยงง่ายกว่าช่วงวัยรุ่นเยอะมาก วันนี้เราผิดหวังและโกรธ ใช้วิธีไม่คุยกับลูก อีกหน่อยลูกวัยรุ่นจะใช้วิธีไม่คุยกับเราแทน จัดการอารมณ์ตนเองให้ดี และฝึกวิธีคุยเรื่องความรู้สึกกับลูกตั้งแต่ตอนนี้พยายามทำให้ทันก่อนลูกเข้าวัยรุ่น เพราะปัญหาเด็กวัยรุ่นยุคนี้เยอะ (โดยเฉพาะซึมเศร้า) พอเด็กไม่คุย ไม่ทำ ไม่ทุกอย่าง พ่อแม่อาจไม่เหลือพลังใจที่จะฝึกฝนเทคนิคต่างๆ ก็ได้