"กุมารแพทย์" ชี้เกมจับเด็กแก้ผ้า ผิดอนุสัญญาสิทธิเด็ก
กิจกรรมกีฬาสีของโรงเรียน มุมของกุมารแพทย์ ชี้ว่าการเล่นเกมลักษณะนี้ผิดอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
เพื่อไม่ให้อารมณ์เหล่านั้นกลายเป็นต้นเหตุของการใช้ความรุนแรงต่อเด็กและละเมิดต่อสิทธิเด็ก เพราะเมื่อพ่อแม่รู้สึกเหนื่อย เครียด กังวลใจ หรือโมโห มีความเสี่ยงที่จะโมโหลูกมากขึ้น อาจจะระบายความหงุดหงิดกับลูก พ่อแม่ต้องคอยสังเกตอารมณ์ของตนให้ดี ระวังที่จะไม่ระบายอารมณ์เอากับลูก และอย่าปล่อยให้ความโกรธทำให้พ่อแม่พูดอะไรที่ร้าย ๆ ออกไป เช่น ดูถูกเหยียดหยามลูก ตะโกนดุด่าหรือเฆี่ยนตีลูก
เมื่อเกิดความรู้สึกด้านลบกับลูก ไม่พึงพอใจกับพฤติกรรมที่ลูกแสดงออก ให้พ่อแม่ลองสังเกตว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดอารมณ์เช่นนั้น จนทำให้เกิดความกังวลจนรับมือไม่ได้
เช่น อ่านหนังสือพัฒนาการเด็ก เข้าชั้นเรียนเลี้ยงดูลูกตามช่วงวัย ปรึกษากุมารแพทย์ ความรู้นี้จะช่วยให้พ่อแม่เข้าใจอารมณ์ พฤติกรรมของลูก ช่วยให้พ่อแม่สงบสติอารมณ์และตอบสนองอย่างเหมาะสม มีความพร้อมมากขึ้นในการจัดการกับสาเหตุที่แท้จริง แทนที่จะตอบสนองต่อพฤติกรรมของลูกที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์
การฝึกสติและการทำสมาธิช่วยให้พ่อแม่สร้างสมดุลทางอารมณ์ท่ามกลางความสับสนวุ่นวาย สติจะสอนให้ยึดมั่นอยู่กับปัจจุบัน สร้างสติให้เป็นนิสัย ค้นหาวิธีง่ายๆ ที่จะรวมสิ่งนี้เข้ากับกิจวัตรประจำวัน เช่น ในขณะที่ให้นมบุตร ขับรถ ล้างจาน ฯลฯ เมื่อพ่อแม่สร้างความสามารถในการสมดุลทางอารมณ์ จะกลายเป็นพ่อแม่ที่อดทนและเอาใจใส่มากขึ้น
หากิจกรรมที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วอย่างน้อย 30 นาทีเกือบทุกวัน เช่น จ๊อกกิ้ง ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ คลาสออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวร่างกายจะหลั่งสารเอ็นโดรฟิน ทำให้อารมณ์ดีขึ้น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นเครื่องคลายความเครียดอันทรงคุณค่า และช่วยให้พ่อแม่เข้าสู่ช่วงเวลาการเลี้ยงลูกแต่ละครั้งด้วยแง่บวก รับมือกับพฤติกรรมของลูกได้อย่างสงบ
ถ้ารู้สึกว่าตนเองกำลังจะระเบิดอารมณ์ ให้พาตัวเองออกจากสถานการณ์นั้น ให้ลูกอยู่ในที่ปลอดภัย เช่น คอกกั้นเด็ก หรือฝากสมาชิกในบ้านช่วยดูแลชั่วคราว วิธีนี้จะช่วยทำให้พ่อแม่หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดที่ทำร้ายจิตใจ หรือทำร้ายเด็ก และพ่อแม่ยังทำเป็นตัวอย่างให้ลูกเห็นถึงเทคนิคการจัดการอารมณ์ที่เหมาะสมสำหรับลูกอีกด้วย
พ่อแม่ควรมีช่วงเวลาของการพักจากดูแลลูก ทำในสิ่งที่ตนเองผ่อนคลายชื่นชอบ เพื่อการพักผ่อนและความสุข เช่น อ่านหนังสือ อาบน้ำ เดินเล่น หรืออะไรก็ตามที่ช่วยเพิ่มกำลังใจ ชาร์จพลัง รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการให้เต็มที่ การดูแลตัวเองแม้แต่เล็กๆ น้อยๆ ก็จะช่วยต่ออายุพลังงานและความอดทนของพ่อแม่ในการดูแลลูกได้ด้วย
หากพ่อแม่พบว่ามีความโกรธ เศร้า กังวล หรือเครียดบ่อย ๆ ควรหาโอกาสพูดคุยกับหมอ พยาบาลสาธารณสุข ผู้ให้คำปรึกษา หรือเพื่อนที่ให้กำลังใจ หรือสมาชิกในครอบครัว การแก้ปัญหาในทางสร้างสรรค์และไม่ก่ออันตรายแก่ลูกเป็นเรื่องสำคัญ
ที่มา : มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก