พัฒนาทักษะ STEAM ผ่านงานบ้าน
แต่ละครอบครัวมีงานบ้านอะไรบ้างที่มอบหมายให้เด็ก ๆ ช่วยทำ ?
หลาย ๆ ครั้งที่ได้ยินผ่านหู และอดไม่ได้ที่จะเก็บมาคิดว่า “การเลี้ยงลูกให้เหมือนเพื่อน” นั้นถูกต้องไหม และจะเกิดอะไรขึ้นกับคุณพ่อคุณแม่เองในการดูแลลูก หากลูกให้ความสำคัญหรือเห็นว่าพ่อแม่อยู่เท่าเทียมกับตัวเขา
เพราะลูกยังต้องการคนคอยเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำที่ถูกต้อง เพราะลูกยังต้องการคนคอยควบคุมการใช้กฎกติกาต่าง ๆ เพื่อสร้างวินัยให้เกิดขึ้น ที่สำคัญคือ ลูกยังต้องการแบบอย่างที่ดีเพื่อที่จะเติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพ พ่อแม่จึงควรจะมีความ "น่าเคารพยำเกรง" ยังคงต้องมี "อำนาจ" ที่เหนือกว่าคำว่า "เพื่อน" ลูกจึงจะเชื่อฟัง
แน่นอนว่า "อำนาจ" นี้ต้องไม่ใช่เผด็จการ ไม่ใช่การบังคับให้ลูกทำตามความต้องการของพ่อแม่โดยไม่ฟังความรู้สึก หรือความต้องการที่แท้จริงของลูก เพราะถึงจะ "ไม่ใช่เพื่อน" แต่ก็ต้องพร้อมที่จะเป็น "เพื่อน" ที่เข้าอกเข้าใจความรู้สึกของลูกด้วย และคุณสมบัติสำคัญของ "เพื่อน" ที่พ่อแม่ควรจะสร้างขึ้นมาให้ได้ ก็คือการทำให้ลูกรู้สึก "ไว้วางใจ" เพราะในยามที่มีปัญหาหรือทุกข์ใจ ลูกย่อมจะนึกถึงคนที่เขาไว้ใจก่อนเป็นอันดับแรกเสมอ ซึ่งการสร้างให้ลูกรู้สึกไว้วางใจนั้น ก็เริ่มต้นง่าย ๆ ผ่านการเป็น "ผู้ฟังที่ดี" ฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ
❤︎ 1. เปิดใจตัวเอง ทำใจให้ร่ม ๆ และเป็นกลาง ไม่ต้องตื่นเต้น หรือมีอารมณ์โกรธ เศร้า ตามลูก
❤︎ 2. เปิดตัวแบบพันธมิตร ตอบสนองและแสดงให้ลูกเห็นว่าเราพร้อมจะเข้าใจและรับฟัง เพื่อลดโอกาสที่ลูกจะหันมาขัดแย้งกับคุณพ่อคุณแม่เสียเองตั้งแต่เริ่มต้นบทสนทนา
❤︎ 3. ตั้งใจฟังและพยายามเข้าใจ ขั้นตอนนี้คุณพ่อคุณแม่อาจตั้งคำถามสั้น ๆ เพื่อแสดงว่าเราสนใจและตั้งใจฟัง และเพื่อให้เราเข้าใจสถานการณ์และอารมณ์ของลูกมากขึ้น แต่ต้องระมัดระวังไม่ถามคำถามที่เป็นการโจมตีลูก หรือตัดสินผิดถูกโดยเด็ดขาด
❤︎ 4. ทบทวนประเด็น เป็นขั้นตอนสรุปเรื่องราวทั้งหมด เพื่อตรวจสอบว่าเราเข้าใจเรื่องและจุดประสงค์ของลูกถูกต้องหรือไม่
❤︎ 5. ถามไอเดียแก้ปัญหา บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจยังไม่ต้องรีบให้คำแนะนำในทันที การถามด้วยคำถามปลายเปิดเป็นการให้ลูกได้พยายามคิดแก้ปัญหาด้วยตัวเองก่อนนั้นเป็นเรื่องที่ดีมาก เช่น “ลูกคิดว่าการที่เพื่อนทำแบบนั้น มีเหตุผลอะไร” หรือ “ถ้าไม่อยากให้เกิดปัญหาแบบนี้อีก ลูกจะทำอย่างไร” เป็นต้น
❤︎ 6. ให้คำปรึกษาและแนะนำ ถึงตอนนี้พอลูกอารมณ์เย็นลง หรือพอได้ระบายความอัดอั้นออกไปบ้าง จะทำให้สามารถพูดคุยด้วยเหตุและผลได้ ถือเป็นจังหวะที่ดีในการสอนหรือแทรกคำแนะนำที่ถูกทางได้ครับ
ความจริงเมื่อลูกเริ่มเติบโตและมีสังคมของตัวเอง “เพื่อน” จะเป็นสิ่งที่หาได้ไม่ยากสำหรับลูก แต่ “ที่ปรึกษาที่ดี” ที่ลูกนึกถึงและสบายใจอยากจะเข้าหา แล้วได้แนวคิดที่ถูกต้องกลับมาต่างหาก เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งยวดในสภาพสังคมปัจจุบัน
..."เรามาทำตัวเป็น “พ่อแม่ที่พร้อมจะเป็นเพื่อน” ให้ลูกรู้สึก “ไว้วางใจ” กันดีกว่านะครับ"...