
เวลาที่ลูกทำผิดให้ตำหนิที่ "พฤติกรรมที่ลูกทำ”ไม่ใช่ “ตัวตนที่ลูกเป็น"
พ่อแม่ต้องแยกแยะระหว่าง “พฤติกรรมที่ลูกทำ” กับ “ตัวตนที่ลูกเป็น” ให้ออก
5 สิ่งเหล่านี้จะทำให้เด็กคนหนึ่งได้เรียนรู้และเติบโตโดยมีพ่อแม่และครอบครัวเป็นผู้ประเมิน ติดตาม และหยิบยื่นโอกาสในการเรียนรู้เหล่านี้ให้กับลูกนั่นเอง
โอกาสในที่นี้คือ โอกาสที่เด็กจะได้เรียนรู้ ได้รับผิดชอบตัวเอง ได้รับผิดชอบ ‘ผล’ ของการกระทำของตนเอง และได้มีส่วนร่วมที่จะร่วมทำกิจกรรมส่วนรวมของบ้านและสังคมกับพ่อแม่ เพื่อสร้างตัวตัว สร้างความภาคภูมิใจในตนเองว่าทำได้ ความรู้สึกว่าตัวเองมีค่าควรชม
จงเชื่อมั่นว่าลูกทำได้ในกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการ โดยพ่อแม่ควรสงบตัว ยั้งมือ ให้เวลา ให้โอกาสให้ลูกได้ทดลองทำ ไม่ทำแทนลูก ยั้งใจ ไม่ตัดสินลูกว่าสิ่งที่ทำนั้นถูก ผิด ดี ไม่ดี ยั้งปาก ไม่เฉลยหรือคิดแทนลูก โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มสร้าง ‘โอกาส’ ได้ดังนี้
พ่อแม่ควรเป็นผู้เล่นร่วมที่ดี ไม่แก้ปัญหาแทนลูก ไม่ชี้นำจนเกินไป บางบ้านลูกต่อตัวต่อ ล้มแล้วล้มอีก หรือระบายสีออกนอกกรอบ ผิดสีที่ควรจะเป็น พ่อแม่ก็อดรนทนไม่ได้ต้องยื่นมือเข้าไปสอนหรือชี้แนะว่าระบายสีต้องแบบนี้ เมฆต้องสีขาวนะ หญ้าต้องสีเขียว อันนี้ออกนอกกรอบไม่ได้นะ เล่นของเล่นต่อแบบนั้นเดี๋ยวก็ล้ม แม่ต่อให้ดีกว่า
..."นี่แหละคือการปิดโอกาสที่ให้ลูกได้ลงมือทำ หน้าที่ของพ่อแม่คือเล่นไปกับเขา สร้างคำถาม มากกว่าให้คำตอบ บางทีคำถา เช่น “ทำไมม้าของหนูสีชมพูล่ะคะ” ก็อาจต่อบทสนทนาเปิดโอกาสให้ลูกได้พูดสิ่งที่เขาจินตนาการให้เราได้ฟัง และให้เราได้ตั้งคำถามดี ๆ กลับไปให้ลูกได้อีกมากมายเลยก็ได้"...
▶︎ การปีนต้นไม้
▶︎ การใช้มีด กรรไกร เลื่อย
▶︎ การเล่นในสนามเด็กเล่น การแย่งของเล่นกัน การแบ่งปัน การสมานฉันท์
▶︎ การท่องเที่ยวไปในสถานที่ใหม่ ๆ การเข้าหาธรรมชาติ ไปฟาร์ม ไปสวนสัตว์ ไปทะเล
▶︎ การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมตามสถาบันกระตุ้นพัฒนาการเด็กต่าง ๆ ผ่านการเล่น การเรียนในรูปแบบต่าง ๆ
▶︎ การเปิดโอกาสให้ลูกมี ‘เวลาว่าง’ เพื่อให้ลูกเลือกที่จะเล่นหรือเรียนรู้ในสิ่งที่เขาสนใจหรือสิ่งที่เขาทำได้ดี
▶︎ เปิดโอกาสให้ลูกได้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานบ้านก็เป็นอีกสิ่งที่สร้างลูกได้
เหล่านี้คือ ‘โอกาส’ ที่คุณพ่อคุณแม่หยิบยื่นให้ได้ ขึ้นกับว่าเรารับความเสี่ยงได้มากแค่ไหน เชื่อว่ายังมีโอกาสอีกมากมายที่พร้อมจะให้ลูกได้ลงมือทำ เพียงแต่พ่อแม่ต้องไว้ใจ เชื่อว่าเขาทำได้ ให้ลูกได้ออกจากพื้นที่ปลอดภัยและความสุขสบายของเขาบ้าง หัดลองทำ หัดรับผิดชอบตัวเองมากขึ้น เรียนผูกก็ตองเรียนแก้ ล้มก็เรียนรู้ที่จะลุกขึ้นมาได้ โดยมีพ่อแม่เป็นคนเฝ้ามองและสนับสนุนให้ลูกได้ลงมือทำ
เพราะสุดท้ายเราไม่สามารถเลี้ยงลูกไปตลอดชีวิตได้ ทักษะชีวิตในการดูแลตนเองขั้นพื้นฐาน ความรับผิดชอบ ความถนัด ความมั่นใจในตนเอง ความรู้สึกว่าตนเองมีค่า ความอดทนอดกลั้นที่เราปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็ก จะเป็นทักษะที่จะทำให้ลูกอยู่รอดในอนาคตต่อไป
..."พื้นที่ปลอดภัยที่ให้โอกาสเติบโต เท่านี้ที่ลูกต้องการ"...