การเติบโตในยุคดิจิทัล
ในปัจจุบัน “หน้าจอ” เข้ามามีบทบาทในชีวิตมาก และแทรกซึมเข้าสู่ทุกครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
หมอพบว่ามีปัญหาหนึ่งที่เป็นปัญหาคลาสสิคของครอบครัวคนไทย คือ หลายครั้งที่พ่อแม่ไม่มีอำนาจในการดูแลอบรมลูก "โดยแท้จริง"
..."พอผมบอกว่าเราเพิ่งกินพิซซ่าไปเมื่อวันก่อน ไว้รออาทิตย์หน้าค่อยกิน ลูกโทรหายาย ยายขับรถมาส่งพิซซ่าทันที พร้อมโวยวายว่าทำไมแค่นี้ตามใจลูกไม่ได้" ...
..."ป้าแอบให้หลานดูไอโฟนประจำ แถมบอกลูกว่าเดี๋ยวตอนแม่เผลอ ค่อยมาดูกับป้าอีก แต่อย่าบอกแม่นะ" ...
..."จะอะไรกันนักหนา จะปล่อยลูกร้องทำไม เรื่องแค่นี้เอง มา ๆ มาหาย่า ไม่ต้องไปฟังแม่เค้า วันหลังอยากได้อะไรมาบอกย่า" ...
..."พ่อแกเนี่ยนะ มันไม่ได้เรื่อง แค่นี้ก็ไม่รู้เรื่อง" ...
การอยู่เป็นครอบครัวใหญ่
ที่ผู้ใหญ่หลายคนเข้ามาวุ่นวายกับหน้าที่ที่ควรเป็นของพ่อแม่ เนื่องจากความรักที่มากล้น และการที่พ่อแม่เองก็ไม่มีเวลาเลี้ยง หลายคนอยากเป็นที่รัก อยากเป็นฮีโร่ของหลานโดยหลงลืมไป ว่าเรากำลัง "มอบ" อะไรให้กับลูกหลาน การที่เด็กไม่เรียนรู้ว่าอะไรควรไม่ควร อะไรควรได้ไม่ควรได้ เพราะคนเลี้ยงพูดกันไปคนละเรื่อง มีความสำคัญต่อการไม่รู้ขอบเขตและควบคุมตนเอง การทำให้ตัวเองเป็นฮีโร่ของเด็กด้วยการตามใจ ส่งผลให้เด็กเติบโตเป็นเด็ก "เอาแต่ใจ"
..."เด็กเอาแต่ใจ" ที่ผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์บอกว่า มีผลต่อการพัฒนาที่ไม่ดีของ "สมองส่วนคิด"...
การยกตัวเองให้ดีกว่าพ่อแม่ หรือทำให้พ่อแม่ดูไม่ได้เรื่อง ทำให้ตัวเด็ก "ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ" นำมาซึ่งปัญหาการเลี้ยงดูมากมายในภายหลัง ที่สุดท้าย ผลลบทั้งหลายก็ตกมาที่ลูกหลาน
..."รักลูก... อย่าเกรงใจใคร แต่ไม่เกรงใจชีวิตลูกเรานะคะเพราะหลายครั้งเราช่วยลูกได้ เริ่มจากเรื่องง่าย ๆ "ไม่ปล่อยวาง" ด้วยความเกรงใจ"...