
"ล้มได้...ต้องลุกให้ไว" ทำไมทักษะความยืดหยุ่นจึงสำคัญมากกว่าการเรียนเก่ง
'ความยืดหยุ่นทางจิตใจ' คือกุญแจสำคัญในการเตรียมความพร้อมสู่โลกอนาคตที่ไม่แน่นอน
"ศูนย์การเล่นหลากหลายวัย (Intergenerational Play Center)” ก่อตั้งขึ้นในประเทศออสเตรเลีย เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสเชื่อมต่อกับสังคมอีกครั้ง โดยศูนย์แห่งนี้ ผู้สูงวัยจะได้มาทำกิจกรรมร่วมกับเด็กปฐมวัย ซึ่งไม่บ่อยนักที่เราจะพบว่า “เด็กน้อยปฐมวัย” กับ “คุณตาคุณยายวัยเกษียณอายุ” สามารถใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกันได้อย่างสนุกสนาน และก่อเกิดเป็นสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น จนไม่มีช่องว่างระหว่างวัยอีกต่อไป
แม้ความแตกต่างระหว่างวัยจะมีช่องว่างมหาศาล แต่สิ่งที่ทั้งสองวัยนี้ต้องการไม่แตกต่างกัน คือ “การได้รับความสนใจ” และ “การรับรู้ถึงคุณค่าภายในตนเอง” ซึ่งเมื่อทั้งสองวัยมาเจอกัน พวกเขาสามารถเติมเต็มทั้งสองสิ่งนี้ให้กันได้เป็นอย่างดี
...”ความใจร้อน”... ที่มาพร้อมกับพลัง ความเร็วและความกระตือรือร้นของเด็ก ๆ
...”ความใจเย็น”... ที่มาพร้อมกับความสงบ ความช้าและความมั่นคงของผู้สูงวัย ต่างเป็นส่วนผสมที่ลงตัว
เด็กวัย 4 ขวบ เป็นเพื่อนกับคุณตาคุณยายจากบ้านพักคนชรา วันนี้พวกเขาต้องวาดรูปกันและกัน เด็กหญิงวัย 4 ขวบ ซึ่งจับคู่กับคุณตาวัย 82 ปี เริ่มรู้สึกกระวนกระวายใจ เพราะว่าเธอไม่รู้วิธีวาดรูป “เด็กผู้ชาย”
เด็กหญิง : หนูไม่รู้วิธีวาดรูปคุณ
คุณตา : ขอโทษนะ หนูพูดว่าอะไรนะ ?
เด็กหญิง : หนูพูดว่า หนูไม่รู้วิธีวาดรูปเด็กผู้ชาย
คุณตา : ฉันเป็นเด็กผู้ชายเหรอ
เด็กหญิง : ใช่ แต่ฉันไม่รู้ว่าจะวาดเด็กผู้ชายยังไงดี
เด็กหญิงพูดประโยคเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า ด้วยความคับข้องใจท่ีเธอไม่สามารถทำวาดรูปคุณตาไม่ได้ทำให้เธอเริ่มร้องไห้ออกมา คุณตาที่ไม่รู้จะปลอบเด็กหญิงอย่างไรดี จึงลูบหลังน้อย ๆ ของเธอ
คุณตา : หนูเป็นอะไรหรือเปล่า ?
เด็กหญิง : หนูไม่รู้วิธีวาดรูปเด็กผู้ชาย
คุณตา : ไม่เป็นไรนะ ฉันไม่อยากทำให้หนูร้องไห้เลย
คุณตาค่อยใช้มือของเขาเช็ดน้ำตาให้เด็กหญิง และจับไปที่ไหล่ของเธออย่างอ่อนโยน สำหรับเด็กหญิงแล้ว ในช่วงเวลานี้ที่เธอทำอะไรไม่ถูก คุณตาเปรียบเสมือนพื้นที่ปลอดภัยที่ยอมรับในตัวเธออย่างปราศจากเงื่อนไข ไม่ว่าเธอจะร้องไห้ออกมา แต่คุณตาก็ยังยอมรับเธอและรอเธอสงบอย่างใจเย็น
คุณตา : เราต้องการกระดาษทิชชู่สำหรับเช็ดน้ำตาให้หนู
เด็กหญิง : เราต้องการกระดาษทิชชู่
หลังจากที่เธอได้ร้องไห้ออกมา เด็กหญิงค่อย ๆ กลับมาเป็นตัวเธอที่ “ร่าเริง” และ “สดใส” อีกครั้ง
เด็กหญิง : เป็นเพราะหนูลงสีดำตรงนี้ไป ทำให้เรามองไม่เห็นสีของดวงตาคุณ ถ้าเป็นอย่างนั้นมันไม่เป็นไรใช่ไหม ?
คุณตา : ไม่เป็นไรเลย
ที่แท้ ที่เด็กหญิงร้องไห้ อาจจะเป็นเพราะเธอลงสีดวงตาของคุณตาพลาดไป ทำให้เธอรู้สึกแย่ที่เธอทำผิดพลาด แต่ด้วยความที่คุณตายอมรับเธออย่างจริงใจ เด็กหญิงจึงกลับมาวาดรูปเขาได้อีกครั้ง
...“เราต่างยอมรับในกันและกัน”...
สายสัมพันธ์อันดีมีความสำคัญยิ่ง เด็ก ๆ จะวางใจกับบุคคลที่พวกเขามีความสัมพันธ์อันดีด้วย ซึ่งการวางใจนำไม่สู่ “การรับฟัง” “การทำตาม” และ “ความเชื่อมั่นทั้งต่อตนเองและบุคคลนั้น”
สายสัมพันธ์อันดีเกิดขึ้นได้จาก “การยอมรับโดยปราศจากเงื่อนไข” ยอมรับในสิ่งที่เด็กเป็น ทั้งตอนที่เขาร่าเริงหรือร้องไห้ ผู้ใหญ่จะไม่ปฏิเสธหรือผลักไสเด็กๆ ออกไปในวันที่เขาไม่พร้อม แต่เราจะให้การเคียงข้าง รอพวกเขาสงบ เพื่อสอนพวกเขาในสิ่งเหมาะสม
การเคียงข้างของผู้ใหญ่ในวันที่เด็ก ๆ ทำผิดพลาด ทำให้เด็ก ๆ รับรู้ว่า ...“ไม่เป็นไรนะที่ฉันจะทำผิดพลาดบ้าง เพราะความผิดพลาดเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต ทุกคนทำผิดพลาดได้ และถึงแม้ว่าจะทำผิดพลาดฉันยังเป็นที่รักของพ่อแม่เสมอ ความรักของพ่อแม่จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง”...
การที่มีคนที่เชื่อมั่นในตัวเรา ทำให้เรามีความเชื่อมั่นที่จะทำหลายสิ่งหลายอย่าง เราจะไม่กลัวที่จะลองทำสิ่งใหม่ๆ ไม่กลัวทำพลาด และไม่กลัวที่จะเริ่มต้นอีกครั้ง เพราะความเชื่อมั่นที่ใครสักคนที่รักเรามอบให้ ทำให้เรารับรู้ถึงคุณค่าของตัวเอง และสามารถที่จะสร้างคุณค่าภายในตัวเองต่อไป
ในขณะเดียวกัน ผู้สูงวัยที่กำลังโรยรา การได้รับรู้ถึง "คุณค่าภายในตัวเอง" และ "การมีคุณค่าสำหรับใครสักคน" ทำให้พวกเขามีพลังแรงใจที่ใช้ชีวิตอยู่ต่อไป
อ้างอิง : www.youtube.com