พัฒนาทักษะ STEAM ผ่านงานบ้าน
แต่ละครอบครัวมีงานบ้านอะไรบ้างที่มอบหมายให้เด็ก ๆ ช่วยทำ ?
บล็อกไม้ถือเป็นของเล่นที่มีอิสระทางโครงสร้าง (Free form) ซึ่งเด็กสามารถนำไปใช้เล่นเป็นอะไรก็ได้ตามแต่จินตนาการ ในเด็กเล็กวัย 0-1 ปี พวกเขามักเอาบล็อกไม้มาขว้าง มากัด มาอม มาเคาะให้เกิดเสียง เพื่อตอบสนองต่อการทดสอบข้อจำกัดของร่างกายตนเอง และทดลองตามความสนใจของตนเอง ซึ่งได้แก่ ชิม กัด ขว้าง อม เคาะ
ต่อมาเด็ก ๆ จะค่อย ๆ ค้นพบว่าบล็อกไม้สามารถต่อกันได้ พวกเขาจะต่อการแนวราบ หรือเรียงไปเรื่อย ๆ เป็นขบวนบล็อกไม้ต่อ ๆ กัน ทำให้การรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์ต่าง ๆ ของเด็ก ๆ ได้รับการพัฒนา
...“เด็ก ๆ ยิ่งเล่น ยิ่งพัฒนา”...
เมื่อเขาโตขึ้นมา พัฒนาการที่เราจะได้เห็น คือ การต่อบล็อกไม้เป็นตึกสูง ยิ่งสูง ยิ่งท้าทาย ยิ่งต้องวางเเผนและเบามือ เมื่อเขาต่อได้สูงยิ่งเสริมความมั่นใจ
เมื่อต่อแล้วบล็อกไม้ถล่มลงมา เหตุการณ์นี้ได้สอนให้เด็กรู้ว่า ...“ไม่เป็นไร”... การพังของบล็อกไม้เป็นเรื่องปกติ เกิดขึ้นได้เสมอ เขาได้เรียนรู้การจัดการอารมณ์ไม่ให้โกรธ และรับมือกับของที่พังลงมา ถ้าเขาพร้อมจะเล่นต่อ ก็เพียงกลับไปต่อใหม่
ในวัย 2 ปีขึ้นไป จินตนาการของพวกเขาจะทำให้บล็อกไม้ที่พวกเขาต่อขึ้นมา ค่อย ๆ มีชีวิต เด็ก ๆ บล็อกไม้สี่เหลี่ยมธรรมดา ๆ ในวันวานก็จะกลายเป็น 'รถยนต์' 'เครื่องบิน' 'กระต่าย' และอื่น ๆ ได้ตามใจคิด ในแต่ละวันบล็อกไม้ชิ้นเดิมอาจจะกลายร่างเป็นสารพัดสิ่ง ยิ่งเล่น ยิ่งพัฒนาความคิดได้ไม่รู้จบ
สุดท้ายการเล่นบล็อกไม้ ควรจบด้วยการเก็บของเล่นเสมอ เพื่อให้เด็ก ๆ เรียนรู้วินัยของ “ดูแลรับผิดชอบ” ของเล่นของตัวเอง
ถือเป็นวินัยข้อแรก ๆ ในชีวิตที่เด็ก ๆ สามารถเรียนรู้ และแผ่ขยายไปสู่วินัยข้ออื่น ๆ ที่สำคัญในชีวิต เมื่อเด็ก ๆ สามารถรับผิดชอบต่อของเล่นของเขาได้ เขาจะสามารถรับผิดชอบสิ่งอื่น ๆ ได้เช่นกัน
"บล็อกไม้” เป็นของเล่นที่ทุกวัยสามารถเล่นได้ เพราะการต่อบล็อกไม้ขึ้นอยู่กับความคิดและจินตนาการของผู้สร้าง เด็กจะสร้างบล็อกไม้ตามความคิดแบบเด็ก หากเราเป็นผู้ใหญ่เราจะสร้างออกมาในแบบผู้ใหญ่ แต่ยิ่งเราเล่นกับลูกมาเท่าไหร่ ยิ่งสร้างความผูกพัน ยิ่งทำให้เราเป็น “พ่อแม่ที่มีอยู่จริง” สำหรับลูกของเรา
สุดท้ายหากเราไม่มีบล็อกไม้ เราสามารถใช้ของเล่นหรือวัสดุอื่น ๆ ทดแทนบล็อกไม้ได้เช่นกัน อย่างเช่น ตัวต่อพลาสติก กล่องลัง อิฐ หรือ แม้แต่หิน ก็สามารถนำมาเล่นในรูปแบบเดียวกันได้
...“พ่อแม่ยิ่งเล่นกับลูก ยิ่งมีอยู่จริง”...