กรมอนามัย เตือนดูแลสุขภาพให้พร้อม “เด็กเล็ก” เสี่ยงเจ็บป่วยง่าย
แนะดูแลสุขภาพช่วงหน้าหนาวเป็นพิเศษ ดื่มน้ำอุ่น ออกกำลังกาย เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
หลาย ๆ ครั้งเวลาลูกทะเลาะกันก็จะพูดว่า “พ่อแม่ไม่ยุติธรรมเลย” หมอเข้าใจค่ะว่า คำพูดนี้สะกิดให้เราพยายามทำให้ลูกทุกคนได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน เช่น ได้ของเท่ากัน, โดนลงโทษเหมือนกัน
แต่ความจริงแล้ว ในชีวิตจริงก็ไม่มีความยุติธรรมเสมอไป ใช่มั้ยคะ และแทบเป็นไปไม่ได้ที่ทุกอย่างในบ้านจะมีความเท่าเทียมกัน เช่น ลูกคนโตอาจได้รับอนุญาตให้เล่นเกมส์ เพราะรับผิดชอบงานเรียบร้อย แต่น้องเล็ก ซึ่งด้วยวัยก็ยังรับผิดชอบขนาดพี่ไม่ได้ ก็จะมองว่าพี่เล่นเกมส์มากกว่า คือ สิ่งที่ไม่ยุติธรรม
พ่อแม่สามารถอธิบายเหตุผลให้ลูกคนเล็กเข้าใจว่าเพราะอะไร แต่อย่าคาดหวังว่าลูกจะเข้าใจคำอธิบายทุกอย่างเสมอไป เพราะบางทีก็เป็นเรื่องของกฎ เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม แล้วเราจะช่วยลูกอย่างไร ?
พ่อแม่ควรเล่าประสบการณ์ของตัวเองให้ลูกฟัง
เวลาที่เราต้องรับมือกับความรู้สึกว่าสถานการณ์นั้นๆไม่ยุติธรรม เช่น เพื่อนที่ทำงานบางคนอาจได้วันหยุดมากกว่าพ่อหรือแม่ เพราะว่าเขาทำงานมานานกว่า ซึ่งพ่อแม่เข้าใจว่าความรู้สึกไม่ยุติธรรมเป็นยังไง และลูกยังเข้าใจว่า มันมีเหตุผลอื่นๆที่ฟังแล้วเข้าใจยาก แต่ประเด็นสำคัญคือ พ่อแม่ต้องบอกลูกว่า เราจัดการความรู้สึกนี้ยังไงด้วยนะคะ
หมอแนะนำให้เราแชร์ทัศนคติในเชิงบวก เช่น “พ่อแม่ก็พยายามไม่สนใจเรื่องนั้น เพราะไม่มีประโยชน์ที่จะคิด กฎก็คือกฎ แม่รู้ว่าวันหนึ่งถ้าเราทำงานนานๆก็จะได้สิทธิแบบนั้น.. แต่ แม่ไม่ชอบกฎแบบนี้นะ คิดว่าถ้ามีโอกาสก็จะย้ายที่ทำงาน... ”
หมอไม่อยากให้เราบ่นกับลูกและต่อว่าหัวหน้า
เช่น “ไม่ยุติธรรมเลย คนทำงานมานาน ไม่ใช่ว่าทำงานดี หัวหน้าไม่รู้จักลงมาดูหน้างานบ้าง บลา ๆ ๆ” เข้าใจที่หมอบอกใช่มั้ยคะ ถ้าเราบ่น ๆ แต่ก็ยังคงทำงานอยู่ที่เดิม ลูกจะไม่ได้เรียนรู้วิธีแก้ปัญหาอย่างฉลาด และยังซึมซับทัศนคติเชิงลบ มองโลกในแง่ร้าย โดยไม่สามารถทำอะไรกับชีวิตตนเองได้เลย แนะนำให้ไปบ่นกับเพื่อน ๆ ด้วยกันดีกว่าค่ะ เพราะลูกไม่ใช่แค่ฟังเขาเรียนรู้วิธีใช้ชีวิตและวิธีมองโลกจากเราด้วย
โดยทั่วไปแล้วเด็กส่วนใหญ่ที่พูดว่า “พ่อแม่ไม่ยุติธรรม” ไม่ใช่เพราะว่าเขาอยากได้ความยุติธรรมตลอดเวลา ความจริงแล้ว ลูกอยากได้ความสนใจและใส่ใจจากพ่อแม่มากกว่า
ดังนั้น จงใช้เวลาฟังลูกเมื่อเขาบ่นว่าแม่ไม่ยุติธรรม (อย่าเอาแต่อธิบายเหตุผล) จงรับฟังจนลูกรู้สึกว่าพ่อแม่ใส่ใจและสนใจเขาเหมือนกัน
...”อย่าลืมถามตัวเองด้วยว่า จริง ๆ แล้ว เราลำเอียงหรือเปล่า ลองซื่อสัตย์กับตัวเองดูค่ะ หมอพบบ่อยนะคะ ที่พ่อหรือแม่รักลูกไม่เท่ากันจริง ๆ”...