ข่าวประชาสัมพันธ์ : คิดคลับส์ ชวนเที่ยว Astro Night Family Camp
ชวนคู่พ่อลูก อายุ 6 - 12 ปี มาร่วมสร้างช่วงเวลาแห่งความประทับใจกับกิจกรรม Astro Night Family Camp
แต่มันมีภัยร้ายที่แฝงมากับโลกออนไลน์ที่คาดไม่ถึงอีกมากมาย โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชนที่เข้าสู่โลกออนไลน์แบบรู้ไม่เท่าทัน จนกลายเป็นเหยื่อของบรรดามิจฉาชีพ !
“ภัยร้าย “ที่ว่าก็คือ เล่ห์กลโกงในโลกออนไลน์
เมื่อปีที่แล้ว บริษัท เดอะ นีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) เปิดเผยผลการวิจัยว่าพฤติกรรมออนไลน์ของกลุ่มวัยรุ่นและผู้ใหญ่ในประเทศไทย โดยระบุว่า ความเสี่ยง 3 อันดับแรกที่ก่อให้เกิดความกังวลในระดับสูงและความยากลำบากในการจัดการได้แก่ การแฮกบัญชี ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล และการฉ้อโกงออนไลน์
...“สำหรับวัยรุ่นการสูญเสียการเข้าถึงบัญชีหรือการที่แฮกเกอร์นำบัญชีของพวกเขาไปใช้ในทางที่ผิดถือเป็นปัญหาใหญ่ ขณะที่สิ่งผู้ใหญ่กังวลมากที่สุดคือการสูญเสียทางการเงินจากกลโกงต่าง ๆ”...
ปัญหาเรื่องกลโกงในโลกออนไลน์เกิดขึ้นกับคนทุกเพศทุกวัย และแต่ละปัญหาก็แตกต่างกันไป แต่ในส่วนของวัยรุ่นเป็นกลุ่มที่ใช้มือถือบ่อย และเป็นกลุ่มที่มิจฉาชีพมองเป็นกลุ่มเป้าหมายใหญ่ ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA ระบุว่า เยาวชนเป็นกลุ่มที่ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดเฉลี่ย 13 ชั่วโมงต่อวัน
กลโกงออนไลน์เป็นเรื่องที่น่ากังวลมากที่สุด !
ยกตัวอย่างภัยร้ายที่มักมาจากโลกออนไลน์
เดี๋ยวนี้กลโกงออนไลน์มีการพัฒนาไปตามเทคโนโลยี ความรู้ของผู้ที่โกง จำนวนของคนโกงก็เพิ่มมากขึ้น ท่ามกลางความไม่ระมัดระวังตัวหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้คนยุคนี้ ฉะนั้นวิธีสอนให้ลูกรู้เท่าทันเล่ห์กลโกงหรือภัยร้ายในโลกออนไลน์เป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง !
▶︎ 1. พูดคุยสร้างข้อตกลงร่วมกัน
พ่อแม่ควรพูดคุยกับลูกถึงโลกออนไลน์มีทั้งคนดีและคนไม่ดีปะปนอยู่ ฉะนั้นเมื่อลูกอยู่บนโลกออนไลน์ควรมีข้อตกลงร่วมกันก่อนว่า ไม่ควรไว้วางใจให้ความใกล้ชิดสนิทสนมกับเพื่อนในโลกออนไลน์ หรือถึงขนาดออกไปเจอกันเพียงลำพัง โดยยกตัวอย่างอุทาหรณ์ที่เคยเกิดขึ้น เพื่อเป็นการเตือนและให้ข้อคิดเพื่อเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น
▶︎ 2. ต้องไม่เปิดเผยเอกสารสำคัญ ◆
เอกสารสำคัญเป็นเรื่องที่ต้องไม่เปิดเผยให้ใครรู้ เช่น เบอร์บัญชี สำเนาบัตรประชาชน หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางการเงินใด ๆ เด็ดขาด เพราะทำให้คนอื่นสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญของเราได้ เดี๋ยวนี้มีการหลอกลวงขั้นสูงทางอินเตอร์เน็ตในรูปแบบของการปลอมแปลงอีเมล์ หรือข้อความที่สร้างขึ้นเพื่อหลอกให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลทางด้านการเงินหรือ ข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ อาทิ ข้อมูลหมายเลขบัตรเครดิต หมายเลขประจำตัวผู้ใช้ รหัสผ่าน ซึ่งมีเหยื่อหลงกลจำนวนมาก
▶︎ 3. อย่ากรอกข้อมูลโดยไม่ตรวจสอบ ◆
ถ้ามีข้อความหรือมีรหัสอะไรที่ไม่รู้ที่มา แล้วระบุให้เรากรอกรายละเอียด ต้องไม่กรอกเด็ดขาด รวมไปถึงการไม่เข้าไปกดข้อความใด ๆ ที่ไม่รู้ หรือแค่สงสัยก็ห้ามให้ลูกกดเข้าไปเด็ดขาด เพราะเคยมีกรณีที่เด็กกดปุ่ม OK ไปเรื่อย ๆ โดยไม่รู้ว่ามันคืออะไร สุดท้ายก็มีบิลมาเก็บที่บ้านในหลักเงินหลายหมื่นบาท หรืออาจเป็นไวรัสก็ได้
▶︎ 4. บนโลกออนไลน์ไม่มีของฟรี
ปัจจุบันมีข้อความประเภท ลดราคาสินค้าทั้งร้าน กดเข้าไปเพื่อรับสินค้าฟรี ลดแหลกแจกแถม หรือข้อความใด ๆ อีกมากมายที่ถูกส่งมากระตุ้นต่อมอยากรู้อยากเห็นอยากได้ของเด็กให้กดเข้าไป ซึ่งในความเป็นจริงของฟรีหรือของถูกที่ว่านั้นต้องแลกมากับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเสมอ เช่น ข้อมูล หรือสุดท้ายก็ต้องจ่ายเงินอยู่ดี
▶︎ 5. ไม่โอนเงินให้ใครเด็ดขาด
รูปแบบการสร้างเพื่อนในยุคนี้ อาจไม่รู้จักกันแต่ก็เป็นเพื่อนกันได้ และส่วนใหญ่ก็อยากได้เพื่อนจำนวนมาก ๆ ด้วย ซึ่งก็อาจเป็นภัยได้ถ้ารู้ไม่เท่าทัน ฉะนั้น พ่อแม่จำเป็นต้องบอกลูกเสมอว่าอย่าไว้ใจคนแปลกหน้า และไม่ควรหลงเชื่อใครง่าย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการโอนเงิน ยกตัวอย่างข่าวที่มีการโดนโกงผ่านโลกออนไลน์อยู่ทุกวี่วันก็ได้
▶︎ 6. อย่าลืม sign out ทุกครั้ง
ทุกครั้งที่เข้าสู่โลกออนไลน์ เมื่อต้องใช้เครื่องมือที่อื่นที่ไม่ใช่ของตัวเอง อย่าลืมออกจากระบบทุกครั้งหลังการใช้งาน เพราะคนอื่นอาจใช้อีเมลของเราสวมรอยไปกระทำความผิดได้
เรื่องการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์และภัยออนไลน์มีความจำเป็นมาก อย่าคิดว่าลูกโตมากับโลกยุคดิจิทัลแล้วจะไม่มีทางถูกกลโกงออนไลน์ได้ ทุกคนมีโอกาสทั้งนั้น เพียงแต่ต้องระมัดระวังตัว และมีสติรู้ตัวเสมอในการเข้าสู่โลกออนไลน์ ที่สำคัญพ่อแม่ก็ต้องทำตัวเป็นแบบอย่างด้วยนะคะ