พัฒนาทักษะ STEAM ผ่านงานบ้าน
แต่ละครอบครัวมีงานบ้านอะไรบ้างที่มอบหมายให้เด็ก ๆ ช่วยทำ ?
"จิตอาสา" หมายถึง จิตของคนที่รู้จักความเสียสละ ความร่วมมือ ร่วมใจ ในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม อยากช่วยเหลือผู้อื่น ถ้าให้เห็นภาพก็คือ คนที่ไม่ได้มองเห็นแต่ความต้องการของตัวเอง แต่รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา เป็นธุระและเข้าร่วมในเรื่องของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ต่อสังคม หรือประเทศชาติ
แต่ในโลกยุคเทคโนโลยีที่ทำให้ผู้คนนับวันยิ่งมีความเป็นปัจเจกชนมากขึ้น สนใจแต่โลกของตัวเอง มีความรู้สึกแบบต่างคนต่างอยู่ สนใจสิ่งรอบตัวน้อยลง กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลต่อเด็กและเยาวชนในยุคต่อไปที่มีแนวโน้มจะขาดทักษะเรื่องนี้
เพราะการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนเป็นเรื่องต้องอาศัยการซึมซับแบบอย่างจากสิ่งแวดล้อม และบุคคลใกล้ชิดเป็นตัวอย่างที่ดี ตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของ Albert Bandura นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ผู้ศึกษาค้นคว้า "ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม" (Social Learning Theory) หรือทฤษฎี "ทฤษฎีปัญญาสังคม" เน้นหลักการเรียนรู้โดยการสังเกต (Observational Learning) เกิดจากการที่บุคคลสังเกตการกระทำของผู้อื่นแล้วพยายามเลียนแบบพฤติกรรมนั้น ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมทางสังคม
เด็กและเยาวชนเรียนรู้ผ่านตัวแบบที่มีอิทธิพล ซึ่งตัวแบบที่มีอิทธิพลก็คือบุคคลในครอบครัวและบุคคลใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ผู้ปกครองหรือคุณครู ถ้าต้องการสอนให้เด็กและเยาวชนมีหัวใจจิตอาสาแล้ว ก็ควรที่จะต้องปลูกฝังระดับจิตสำนึก
เด็กจะได้ประโยชน์อะไรจากการมีจิตอาสา
ฝึกจิตอาสาให้กับลูกได้อย่างไร
✚ 1. เป็นแบบอย่างที่ดี ✚
พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี จิตสำนึกของลูกจะเปิดกว้างขณะอยู่กับพ่อแม่ ถ้าพ่อแม่คิดดี ทำดี ลูกก็จะคิดดี ทำดีตาม การปลูกฝังเรื่องจิตสำนึกที่ได้ผลอย่ามุ่งแต่พูดจาสั่งสอน แต่จะต้องเกิดขึ้นจากการกระทำและคำพูดของพ่อแม่ให้ลูกได้เห็นและได้ยินอย่างสม่ำเสมอถึงจะได้ผล
✚ 2. เริ่มจากรับผิดชอบในบ้าน ✚
ลูกจำเป็นต้องรู้จักบทบาทหน้าที่ของตัวเอง พ่อแม่ควรมอบหมายให้ลูกช่วยเหลืองานบ้านบ้าง โดยพ่อแม่เองก็ต้องมีหน้าที่ความรับผิดชอบด้วยเช่นกัน เพื่อทำให้เขาเรียนรู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบของตัวเอง และผู้อื่น ที่สำคัญต้องทำให้ลูกเกิดความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในสิ่งที่เขาทำ ชี้ให้ลูกเห็นว่าเมื่อลูกมาช่วยเหลือแล้วทำให้พ่อแม่เบาแรงไปมาก และเรื่องความรับผิดชอบต่อหน้าที่ก็ไม่ควรทำในช่วงเวลาสั้น ๆ ไม่ใช่จะทำเมื่อไร แค่ไหนก็ได้ แต่ควรมอบหมายในระยะยาวและภารกิจต้องเสร็จสิ้นด้วย
✚ 3.ปลูกจิตสำนึกเรื่องการแบ่งปัน ✚
พ่อแม่ควรสอนให้เขารู้จักแบ่งปันให้กับผู้อื่น ไม่ดูดายต่อสิ่งรอบข้าง เช่น เมื่อเห็นขยะอยู่หน้าบ้านก็ชวนลูกเก็บให้เป็นที่เป็นทาง รักษาสมบัติสาธารณะ ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ฯลฯ และที่สำคัญการเป็นอาสาหรืออาสาสมัคร ต้องรู้จักตัวเองด้วยว่ามีศักยภาพในการช่วยเหลือสังคมในด้านไหน อย่างไร
✚ 4. สร้างจิตอาสาสู่สังคม ✚
การพัฒนาจิตใจที่จะแบ่งปันไปสู่ผู้อื่นสามารถทำได้ ถ้าได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เล็กอย่างต่อเนื่อง ก็เป็นการพัฒนาจิตใจของตัวเองด้วย พ่อแม่ควรชี้ให้ลูกเห็นว่าสิ่งที่เขาทำนั้นเป็นประโยชน์ต่อคนอื่นแค่ไหน คนที่ได้รับการช่วยเหลือจะมีความสุขอย่างไร เพื่อให้เขาได้เห็นเป็นรูปธรรมว่าสิ่งที่เขาทำนั้นเกิดผลดีต่อผู้อื่นอย่างไร
แต่ทั้งหมดนี้ การกระทำของพ่อแม่ผู้ปกครองต้องสอดคล้องกับการพูดให้ลูกเห็นด้วย รวมถึงหมั่นพาลูกไปทำกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ดี ที่เกิดประโยชน์สม่ำเสมอ โดยสอดแทรกกิจกรรมจิตอาสาให้ลูก เพื่อที่ลูกจะได้เรียนรู้ทางตรง และพร้อมจะส่งต่อไปสู่ผู้อื่น