การเติบโตในยุคดิจิทัล
ในปัจจุบัน “หน้าจอ” เข้ามามีบทบาทในชีวิตมาก และแทรกซึมเข้าสู่ทุกครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
...“เป็นลูกผู้ชายไม่ร้องไห้นะ”...
...“โกรธคนอื่นแบบนี้ได้ยังไง ไม่น่ารักเลย”...
...“ทำไมต้องกลัว ไม่เห็นมีอะไรน่ากลัวเลย”...
...“จะเศร้าอะไรนัก เด็กขี้แยใครๆ ก็อยากไม่เล่นด้วยหรอก”...
...“หยุดร้อง เดี๋ยวนี้ ฮึบบ เก่งมากกก”...
...“ไม่หยุดร้อง เดี๋ยวโดนไม้เรียวแน่ๆ”...
ฯลฯ
เด็กหลายคนเติบโตมากับการถูก “สั่งให้ไม่รู้สึก” หรือถูกสั่งให้ “ระงับความรู้สึก” เด็กหลายคน ถูกมองว่าเป็นเด็กว่าง่าย จัดการได้ ไม่มีปัญหา แต่พอเป็นวัยรุ่น กลับมีปัญหามากมาย ทั้งซึมเศร้า วิตกกังวล กรีดข้อมือก้าวร้าว อารมณ์รุนแรง ใช้ชีวิตแบบไม่มีความสุข
ปัญหาอาจมีที่มาจากหลายสาเหตุ แต่ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่เขาเหล่านี้ไม่รู้วิธีที่จะ “จัดการอารมณ์” ตัวเอง อารมณ์ที่สั่งให้เก็บกดเอาไว้ข้างใน “ทำร้ายใจ” ของใครคนนั้นเสมอ
การเลี้ยงลูก เราจึงไม่ควรมีเป้าหมาย ให้ลูกเป็นเด็กร่าเริง แจ่มใส ยิ้มง่าย ไม่โกรธใคร ไม่เสียใจ ไม่กลัวอะไร ไม่ผิดหวัง เพราะนั่น ไม่ใช่ชีวิตที่ควรเป็นของมนุษย์ เราจึงควรมีเป้าหมาย ที่จะทำให้ลูกรู้จักอารมณ์ทั้งหลาย และรู้วิธีจัดการอารมณ์ที่เหมาะสม เพราะถ้าเราทำให้ลูกไม่รู้จัก สอนให้เก็บกดมันไป ลูกจะจัดการอะไร “ไม่ได้เลย”
พ่อแม่จึงมีหน้าที่แสดงการยอมรับกับอารมณ์ และช่วยลูกหาวิธีระบายอารมณ์นั้น ซึ่งวิธีก็มีหลากหลาย ฝึกได้ตามวัย ทั้งการหายใจ การพูดระบาย การหาอะไรทำ และการ “อยู่กับความรู้สึกตัว”
เห็น... แต่ไม่เป็น
...“ดูเหมือนหนูกำลังโกรธ ลองเป่าเจ้าตัวโกรธออกมามั้ย”...
...“ดูเหมือนหนูกำลังเสียใจ ร้องไห้ได้นะ ถ้ามันทำให้ลูกรู้สึกดีขึ้น”...
...“ลูกคงรู้สึกโกรธ และอยากให้น้องมาขอโทษ ลูกอยากไปบอกน้องตรงๆมั้ย”...
...“ลูกคงรู้สึกกลัว เพราะรู้สึกไม่ปลอดภัย ลูกอยากให้แม่ช่วยอะไรมั้ยให้ลูกรู้สึกดีขึ้น”...
...“แม่รออยู่นะ หนูดีขึ้นแล้ว เราจะได้ไปเล่นกันต่อ”...
...“เราโกรธได้ แต่โยนของไม่ได้ ลูกมาโยนลูกบอลกับแม่ตรงนี้มั้ยเวลาโกรธ”...
ช่วยลูกด้วยความเข้าใจที่มา และช่วยหาวิธีจัดการ