
เพราะการนอนสำคัญส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของลูก การที่คุณพ่อคุณแม่ฝึกให้ลูกสามารถกล่อมตัวเองหลับได้นั้น จะมีประโยชน์ทั้งตัวลูกเองและตัวคุณพ่อคุณแม่
- ประโยชน์ต่อตัวลูก ลูกสามารถกล่อมตัวเองหลับได้เอง และหากลูกตื่นขึ้นมาตอนกลางคืนลูกก็สามารถกล่อมตัวเองให้หลับต่อได้
- ประโยชน์ต่อคุณพ่อคุณแม่ ไม่ต้องโอ๋กล่อมลูกด้วยเทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้ลูกหลับเพราะลูกสามารถกล่อมตัวเองให้หลับเองได้ คุณพ่อคุณแม่ก็ก็จะมีเวลานอนหลับได้มากขึ้น

แล้วจะฝึกให้ลูกกล่อมตัวเองหลับได้เมื่อไหร่ ?
ประมาณ 3 เดือนขึ้นไป เพราะช่วงอายุนี้ลูกจะมีช่วงเวลาการหลับเคลิ้มลดลงและหลับสนิทเพิ่มมากขึ้น และจะใช้เวลาในการฝึก 2-4 สัปดาห์ และต้องมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ฝึก ฝึกในบ้านหลังเดิม ที่นอนอันเดิมของลูก ร่วมกับปรับสภาพแวดล้อมให้เสียงเงียบ ห้องมืด อุณหภูมิเหมาะสมเพื่อให้ง่ายต่อการฝึก

วิธีฝึกให้ลูกกล่อมตัวเองหลับได้ด้วย 4 วิธีนี้
1. ให้ลูกกินนมให้เสร็จจบอิ่ม จับเรอ
- แม่กล่อมลูกนอนแนบอกแม่หรืออาจโยกตัวเบา ๆ ประมาณ 5-10 นาทีแต่ไม่เกิน 25 นาที จากนั้นค่อย ๆ วางลูกลงนอนบนที่นอน หากลูกร้องอาจให้ดูดจุกเพื่อกล่อมตัวเองให้หลับได้ แต่หากร้องหนักมาก ให้อุ้มกล่อมอีกครั้ง เมื่อหลับแล้วค่อย ๆ วางลูกลงบนที่นอน
- วางลูกนอนบนที่นอนอาจให้ดูดจุกเพื่อช่วยกล่อมให้หลับได้ และตบก้น หรือเกาหลังให้ลูกหลับ และค่อย ๆ ลดระยะเวลาลงเรื่อย ๆ
- ฝึกให้ลูกนอนบนที่นอนขนาดที่กึ่งหลับกึ่งตื่น และให้ลูกเรียนรู้วิธีการกล่อมตัวเองให้หลับ และคุณแม่หันหลังหนีลูกไป แต่วิธีนี้จะทรมานจิตใจแม่เพราะอาจจะทำใจลำบากที่จะทิ้งให้ลูกร้อง แต่วิธีนี้จะฝึกได้ผลเร็ว
2. หากระหว่างนอนลูกตื่นมาร้องไห้
- อย่าเพิ่งเข้าไปอุ้มปลอบโอ๋ลูกได้ทันที ให้สังเกตดูก่อนประมาณ 3-5 นาที เพื่อดูว่าลูกสามารถกล่อมตัวเองนอนหลับต่อได้ไหม หากพบว่าลูกร้องไห้หนักมาก ให้อุ้มปลอบโอ๋ลูกและหาสาเหตุของการร้องไห้ แต่ขณะที่อุ้มปลอบโอ๋ลูกนั้นต้องปิดไฟและทำด้วยความเงียบที่สุด เพื่อให้ลูกรู้ว่านี่คือตอนกลางคืน
แต่ถึงอย่างไรให้คุณพ่อคุณแม่เลือกวิธีที่ฝึกที่สะดวกและทำแล้วมีความสุขจะดีที่สุด

