ข่าวประชาสัมพันธ์ : คิดคลับส์ ชวนเที่ยว Astro Night Family Camp
ชวนคู่พ่อลูก อายุ 6 - 12 ปี มาร่วมสร้างช่วงเวลาแห่งความประทับใจกับกิจกรรม Astro Night Family Camp
การดูดนิ้ว อมมือ เป็นพฤติกรรมที่พบได้บ่อย และเป็นเรื่องปกติ พบมากในเด็กอายุ 3-4 เดือน หรือเด็กบางคนก็พบพฤติกรรมดูดนิ้วก่อนอายุ 3 เดือน
เพราะเด็กสามารถคว้าจับสิ่งของเข้าปากได้ และเรียนรู้อวัยวะของตัวเอง เอามือของตัวเองมาอมหรือมาดูด เมื่อลูกโตขึ้นลูกจะดูดนิ้วเพื่อปลอบใจตัวเองเมื่อมีอารมณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เครียด กลัว เหงา เหนื่อย หิว ง่วง ไม่สบาย ลดความเจ็บปวด และพฤติกรรมการดูดนิ้วของเด็กจะหายไปหลังอายุ 2 ปี เพราะเด็กทารกแรกเกิดถึงอายุ 2 ปี เด็กจะอยู่ในขั้น oral state คือเด็กต้องการ การตอบสนองทางปากมากที่สุด จะรู้สึกพึงพอใจเมื่อได้ดูดนม ดูดนิ้ว อมนิ้ว
หากพฤติกรรมการอมมือของเด็กนั้น เกิดขึ้นเพื่อปลอบ กล่อมตัวเองคุณพ่อคุณแม่เองไม่ต้องกังวล และไม่ต้องพยายามให้ลูกเลิกพฤติกรรมการอมนิ้ว แต่หากลูกยังมีพฤติกรรมการอมนิ้วหลัง 1 ปีไปแล้ว ควรฝึกให้ลูกเลิกพฤติกรรมการอมนิ้ว เพราะอาจส่งผลต่อการสบของฟันทำให้ฟันเหยิน หากยิ่งเลิกช้า 2-3 ปีไปแล้วจะยิ่งฝึกยาก
🔻 1. ให้ลูกดูดจุกหลอก ที่ลูกอายุมากกว่า 1 เดือนขึ้นไปแล้ว สามารถให้ลูกดูดจุกหลอกได้ และควรฝึกให้ลูกเลิกดูดจุกหลอกเมื่อลูกอายุ 6 เดือน
🔻 2. เบี่ยงเบนความสนใจไปทำกิจกรรมการเล่นอย่างอื่น เช่นจ๊ะเอ๋ ตบแปะ จับปูดำ หรือให้จับของเล่นกรุ๊งกริ๊ง
🔻 3. นิทานช่วยได้ โดยการอ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟังเพื่อเชื่อมโยงพฤติกรรมที่ได้จากหนังสือนิทาน
🔻 4. แปะพลาสเตอร์ที่นิ้ว เพื่อให้ลูกดูดนิ้วได้ลำบากมากขึ้น
เมื่อลูกทำได้ คุณพ่อคุณแม่ควรชมเชยหรือให้สติ๊กเกอร์สะสม เพื่อให้ลูกสนใจทำพฤติกรรมบ่อย ๆ
✳️ 1. มีการสบของฟันที่ผิดปกติ ฟันเหยิน
✳️ 2. นิ้วที่ดูดเปื่อย นิ้วลีบ
✳️ 3. ลูกติดเชื้อบ่อย ท้องเสียบ่อย จากการที่ลูกใช้มือหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ แล้วมือมีเชื้อโรคอยู่ แล้วลูกอมมืออาจนำพาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายลูก
✳️ 4. ลูกติดการดูดนิ้ว อมนิ้ว ที่อายุมากกว่า 2 ปีก็ยังไม่เลิกดูด