ข่าวประชาสัมพันธ์ : คิดคลับส์ ชวนเที่ยว Astro Night Family Camp
ชวนคู่พ่อลูก อายุ 6 - 12 ปี มาร่วมสร้างช่วงเวลาแห่งความประทับใจกับกิจกรรม Astro Night Family Camp
หลายครั้งกลับกลายเป็นการจุดชนวนนำไปสู่ ‘การปะทะ’ ‘ความรุนแรง’ รวมถึง ‘ความขัดแย้ง’ ในครอบครัวได้ ดังนั้นวันนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึง ‘ความดื้อ’ ของเด็กที่พ่อแม่ควรทราบ ความจริงข้อที่หนึ่ง เด็กสุขภาพดีที่มีพัฒนาการตามวัย ต่างก็ "ดื้อ" ด้วยกันทั้งนั้น เพราะนั่นคือพื้นฐานแห่งการเติบโต เด็กต้องดื้อเพื่อเติบโต
คำว่า ”ดื้อ“ ตามนิยามของราชบัณฑิตยสถาน ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ นิยามไว้คือ “ว. ไม่ยอมเชื่อฟังหรือทำตาม.”
ตัดภาพมาที่เด็กตั้งแต่อายุ 1 - 2 ขวบที่เริ่มสร้าง ‘ตัวตน’
มีความสามารถตามวัยที่จะลงมือทำสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเองมากขึ้น กล้ามเนื้อมัดใหญ่เริ่มเดินเตาะแตะ ไปจนถึงวิ่งเร็วปีนป่ายได้ดี กล้ามเนื้อมัดเล็กที่เริ่มหยิบจับสิ่งของได้มั่นคง เคาะได้ ขว้างได้ ใช้นิ้วมือเพื่อเริ่มแกะ แคะ แงะ และขีดเขียนเส้นยุ่ง ๆ จนไปถึงเส้นในรูปทรงต่าง ๆ ได้ตามวัย (เช่น อายุราว 1+ ขวบเริ่มขีดเส้นยุ่ง ๆ ได้ อายุ 3 ขวบเริ่มวาดวงกลมได้)
ในด้านภาษา เด็กเริ่มพูดได้ เริ่มรู้จักคำศัพท์ใหม่ ๆ เริ่มสื่อสารบอกความต้องการของตัวเองได้ผ่านการร้อยเรียงประโยคเป็นคำพูดต่าง ๆ ได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ด้านการช่วยเหลือตัวเอง เริ่มมั่นใจมากขึ้น ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเองได้เก่งขึ้นเรื่อย ๆ และเริ่มแยกตัวออกจากพ่อแม่ได้ดีขึ้นโดยเฉพาะในวัย 3 ขวบขึ้นไป หลายคนเริ่มเล่นด้วยตัวเองได้โดยไม่ต้องรอพ่อแม่แล้ว
คุณพ่อคุณแม่คงพอเห็นภาพแล้วว่า เมื่อเด็กเติบโตขึ้นตามวัย เขามีศักยภาพในตัวเองมากขึ้น เริ่มพัฒนาตัวตนของเขาได้ดี และต้องการที่จำพูดและทำในสิ่งที่เขาต้องการมากขึ้น เพราะเด็กทุกคนมีอิสระในการใช้ชีวิตและเล่นในแบบของเขา และนั่นนำมาสู่ความไม่ได้ดั่งใจของพ่อแม่อย่างเรา
..."เราไม่อยากให้ลูกวิ่งเร็ว เพราะกลัวเขาหกล้ม เราไม่อยากให้ปีนบันได เพราะกลัวตกลงมา"...
เราอยากให้ลูกเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะหวังดีและอยากให้ทุกอย่างเรียบร้อยผ่านไปได้ดีในแต่ละวัน
เช้าก็ต้องกินข้าว อาบน้ำ แปรงฟัน วัยเรียนก็อยากให้ดูแลตัวเอง รู้เวลา แต่งตัวไปโรงเรียน เวลาพ่อแม่บอกอะไรก็อยากให้ทำตาม ตัดภาพมาในความเป็นจริง บอก “อย่าวิ่ง” พ่อเจ้าประคุณก็วิ่งจู๊ด บอกให้มาอาบน้ำ เขาก็วิ่งหนี แต่งตัวไปโรงเรียนก็มีความอิดออด พูดไปบางทีก็เถียงกลับ ยกเหตุผลต่าง ๆ นานามาอ้างเพื่อไม่ทำตามที่พ่อแม่บอก นี่แหละที่เรียกว่า “ดื้อ” ในคำนิยามของพ่อแม่
แต่ในฝั่งของลูกและหลักแห่งพัฒนาการตามวัยนั้น เราพบว่าทุกความดื้อ ทุกการทดสอบสมมติฐานว่า ทำแบบนี้จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ทุกหยาดน้ำตา ทุกประโยคที่เถียง ทุกเสียงที่กรีดร้อง ทุกทางเดินในการเติบโตของมนุษย์จิ๋วคนหนึ่งนั้นมีเรื่องราวให้เขาได้เรียนรู้จากตัวเอง จากพ่อแม่ จากปฏิกิริยาจากคนรอบข้าง และแน่นอน จากผลของการกระทำของตัวเองทั้งทางตรงและทางอ้อม
เด็กนั้นดื้อได้แต่ไม่ควร 'ดื้อด้าน' ผิดซ้ำไปซ้ำมาโดยปราศจากการเรียนรู้ใด ๆ ยิ่งดื้อหนักข้อมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็ต้องมานั่งทบทวนวิธีการดีลกับความดื้อธรรมดาของเราเองด้วยนะ จากดื้อปกติกลายเป็นดื้อด้านนี่มันต้องมีที่มาที่ไปแหละเนอะ
สิ่งที่พอจะช่วยให้เด็กดีขึ้นได้อย่างชัดเจนก็คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของพ่อแม่
โดยเฉพาะการลดความรุนแรงเกรี้ยวกราดของพ่อแม่ในการรับมือ ‘ความดื้อ’ ของลูก เพราะยิ่งเกรี้ยวกราดใส่เด็ก ลูกก็อาจไม่ได้เรียนรู้กับความดื้อของตัวเองที่เกิดขึ้นนั่นเอง ยิ่งใช้วิธีที่รุนแรงในการเลี้ยงลูก ลูกก็อาจสู้กลับ ดื้อเงียบ หรือถอยหนีจนกระทบความเชื่อมั่นและความภาคภูมิใจในตัวเอง และนี่ยังไม่นับบาดแผลของความเกรี้ยวกราดของพ่อแม่ด้วยนะครับ ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่ต้องทำก่อนก็คือ เข้าใจลูกตามวัยในแบบฉบับของเขา
เพราะเราจะพบว่า 'ความดื้อ' ส่วนใหญ่ในมุมมองของผู้ใหญ่หลายคนนั้น มิใช่ความดื้อจริง มันก็แค่ไม่ได้ดั่งใจเราเท่านั้นเอง ยกตัวอย่างเช่น เราคาดหวังให้ลูกอยู่นิ่ง ๆ เรียบร้อยเชื่อฟัง ในวันที่เขาเพิ่งเรียนรู้ที่จะปีนป่าย สำรวจสิ่งที่อยู่รอบตัว บันไดสูง ๆ ไต่ไปแล้วเป็นไงนะ กรอบรูปอันนั้นสวยดี ลองปีนขึ้นไปเอามาดูซิ บล็อกไม้อันนี้ เอามาอมหน่อยซิ อูมามิ 555 อมแล้วรู้สึกดีตามวัยของเขา ไหนลองโยนของนั่นนี่ดูซิ โยนแล้ว แม่กรี๊ดกร๊าดดี เก็บให้เราด้วย โยนอีกซิ สนุกจัง (ตัดภาพมาที่แม่ คือ นางยักษ์กำลังเข้าสิง นี่โยนอะไรนักหนา บอกห้ามก็ยังโยน มันน่าจะโดนสักป๊าบไหม แบบนี้ แบบนี้แม่ก็ต้องพักก่อนนะครับ)
ไหนจะเรื่องที่ผู้ใหญ่อย่างเราชอบห้ามด้วยแล้วนั้น ยิ่งไปกันใหญ่ เพราะยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ เด็กเหมือนฟังได้แต่คำสุดท้าย แค่ขาดคำว่า "ไม่" และ "อย่า" ตอนแรกที่พ่อแม่พูดเท่านั้นเอง 555 อย่าวิ่งนะ ไปค่ะ วิ่งค่ะ 555
..."ลองหยุดเกรี้ยวกราด แล้วเข้าใจลูก อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าในการสอนเขาให้เข้าใจ"...