ชวนรู้จัก Take It Down เว็บไซต์ช่วยเหลือเยาวชน ลบ "สื่อลามก" จากโซเชียล
เว็บไซต์ที่ ช่วยเหลือผู้เสียหายจากการถูกนำ ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมทางเพศ ออกจากโลกออนไลน์
เราจะเห็นได้จากข่าวสารในปัจจุบัน ที่มีเด็กจำนวนไม่น้อย ต้องตกเป็นเหยื่อของการถูกล่วงละเมิดทางเพศ หากลงลึกถึงความสัมพันธ์ของผู้กระทำและผู้ถูกกระทำพบว่ากลุ่มคนที่ก่อเหตุการณ์ล่วงละเมิดทางเพศเด็กเป็นอันดับต้น ๆ คือคนคุ้นเคย และเป็นบุคคลในครอบครัว เเล้วเมื่อเรากำลังสงสัยหรือทราบว่าเด็กถูกล่วงเกินทางเพศ เราควรทำอย่างไร ? เรามีมาเเนะนำให้คุณพ่อ-คุณเเม่และผู้ปกครอง ได้รู้ถึงขั้นตอนว่าควรทำอย่างไร
1. เมื่อเด็กแสดงท่าทีว่าต้องการบอกเล่าเรื่องราวที่เขารู้สึกว่ามีปัญหาหรือขอความช่วยเหลือ
อย่าผัดผ่อนเพราะจะทำให้เด็กรู้สึกว่าเราไม่อาจเป็นที่พึ่งของเขาได้ ควรแสดงตัวว่าพร้อมที่จะรับฟังและช่วยเหลือเด็กทุกกรณีให้เด็กเกิดความรู้สึกมั่นคงจิตใจเมื่อเขาบอกเล่าปัญหาแก่เรา เขาจะได้รับการช่วยเหลือและคุ้มครองเสมอ ไม่มีปัญหาใดที่ร้ายแรงเกินกว่าที่เราจะรับฟังและปกป้องเด็ก
2. แม้ว่าเรื่องที่เด็กเล่าจะเป็นเรื่องที่ร้ายแรงจนเหลือเชื่อ
ก็ขอให้ตั้งสติรับฟังอย่างสงบ หากเราแสดงอาการตกใจ โกรธ หรือเสียใจ เด็กจะหยุดไม่บอกเล่าต่อไปอีกเพราะเกิดความไม่มั่นใจว่าเราสามารถช่วยเหลือเขาได้หรือไม่ รวมทั้งจะทำให้เขาเดือดร้อนมากยิ่งขึ้นหรือไม่
3. กรณีที่เด็กไม่สามารถบอกเล่าอย่างต่อเนื่องเพราะปัญหาด้านจิตใจหรืออารมณ์
คอยปลอบโยนให้กำลังใจเด็ก ให้เด็กสบายใจว่าหากเขาบอกเล่าออกมาทั้งหมด เขาจะได้รับการปกป้องให้ปลอดภัยและได้รับการช่วยเหลือทุกเรื่อง อย่าขัดหรือโต้แย้งหรือซักค้านเด็ก เพราะทำให้เด็กเข้าใจว่าเราไม่เชื่อหรือไม่รับฟังเรื่องที่เกิดขึ้น ปล่อยให้เด็กพูดทั้งหมดที่เขาต้องการบอกเล่าก่อนแล้วจึงค่อยซักถามในรายละเอียดที่เรารู้สึกว่าเป็นคำบอกเล่าที่ไม่ชัดเจน
4. แม้ว่าเด็กไม่ยอมบอกเล่าว่าผู้กระทำเป็นใคร
ไม่ต้องคาดคั้นแต่สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดก่อนหน้าเด็กจะถูกกระทำและหลังจากถูกกระทำ เพื่อกำหนดวงของผู้ต้องสงสัยและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้กระทำหรือความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้กระทำเท่าที่จะทำได้ การทราบว่าผู้กระทำเป็นใครไม่จำเป็นต้องให้เด็กระบุตัวหรือบอกชื่อเสมอไป ยังวิธีการค้นหาอีกมากมาย
5. วิเคราะห์ข้อมูล พิจารณาว่าเป็นความจริงหรือไม่
หากเป็นเรื่องที่ไม่จริงรายละเอียดและข้อเท็จจริงจะไม่ชัดเจนหรือไม่ปะติดปะต่อ การเล่าหลายครั้งจะไม่ตรงกันหรือบางครั้งเป็นเรื่องจริงแต่รายละเอียดอาจไม่ชัดเจนหรือไม่ปะติดปะต่อกันก็เป็นได้เพราะเด็กอาจมีความสามารถในการสื่อสารน้อยหรือยังมีปัญหาด้านอารมณ์จิตใจอยู่
หลังจากวิเคราะห์แล้วให้หาวิธีการช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป เช่น รีบพาเด็กไปรับคำปรึกษาหรือขอความช่วยเหลือจากนักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ เป็นต้น
6. พาเด็กไปไว้ในที่ปลอดภัย และมีหลักประกันให้เด็กว่าจะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติอย่างปลอดภัย
7. เก็บรวบรวมหลักฐาน
เช่น เสื้อผ้าที่สวมใส่ขณะที่ถูกล่วงเกินทางเพศ ขนเพชร ก้นบุหรี่ ถุงยางอนามัย หรืออื่น ๆ ที่ผู้กระทำความผิดทิ้งร่องรอยไว้ อย่าลืมตรวจดูช่องรอยความเสียหายที่ร่างกายของเด็ก และถ่ายภาพด้วย (ถ้าสามารถทำได้และต้องบอกเหตุผลให้เด็กรู้ว่าจะใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมาย) ส่งเด็กเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐที่ใกล้ที่สุดทันที อย่าเพิ่งชำระล้างร่างกายเด็กก่อนรับการตรวจรักษา จดชื่อแพทย์รวมไปถึงวันเวลาและสถานที่ขณะตรวจรักษาไว้ด้วย
กรณีที่ทราบข้อมูลจากเด็กหลังเกิดเหตุการณ์ไม่เกิน 7 วันอาจยังมีหลักฐานร่องรอยตกค้างอยู่แพทย์อาจค้นพบได้ หากเกิน 7 วันอาจไม่พบร่องรอยของการล่วงเกินทางเพศติ แต่ต้องตรวจรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และตรวจสอบการตั้งครรภ์ด้วย
8. แจ้งตำรวจทันทีให้รายละเอียดทุกอย่างเท่าที่ทราบ (ผู้กระทำเป็นใคร ผู้ถูกกระทำเป็นใคร เวลาที่เกิดเหตุ สถานที่เกิดเหตุฯลฯ) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหากับเด็กคนอื่น ๆ
9. แจ้งหน่วยงานทางสังคมที่เกี่ยวข้อง หรือ แจ้ง ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วนโทร.1300 บอกรายละเอียดทุกอย่างเท่าที่ทราบ เพื่อขอรับความช่วยเหลือต่อไป
ที่มา : ที่มา : มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก