
เลี้ยงลูกสองภาษา : เมื่อลูก "พูดผิด" ต้องรีบแก้เลยไหม ?
พูดผิดไม่ใช่เรื่องผิด ! พ่อแม่ควรแก้ยังไงเมื่อลูกพูดภาษาอังกฤษผิด
ธงชาติไทย สัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจของคนในชาติ "เพราะธงชาติและเพลงชาติไทย คือ สัญลักษณ์ของความเป็นไทย คือ สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกราช ไม่ตกเป็นเมืองขึ้นหรือ อาณานิคมของชาติใด รวมถึงความเสียสละของบรรพบุรุษไทยทุกยุคสมัย ในการปกป้องรักษาแผ่นดินให้คงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน"
(ขอบคุณภาพจาก : พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงพระราชทานธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2460 โดยให้ตราพระราชบัญญัติธงขึ้นใหม่ เนื่องจากในสมัยนั้นไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 กับประเทศสัมพันธมิตร ซึ่งส่วนใหญ่ธงจะมีสามสี ธงชาติไทยในสมัยนั้นจึงเป็นรูปสี่เหลี่ยมรี ขนาดกว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน มีแถบสีน้ำเงินแก่กว้าง 1 ส่วน ซึ่งแบ่ง 3 ของขนาดกว้างแห่งธงอยู่กลาง มีแถบขาวกว้าง 1 ส่วน ซึ่งแบ่ง 6 ของขนาดความกว้างแห่งธงข้างละแถบ แล้วมีแถบสีแดงกว้างเท่าแถบขาวประกอบชั้นนอกอีกข้างละแถบ และเรียกธงนี้ว่า “ธงไตรรงค์” และทรงกำหนด
ความหมายของสีธงชาติ
ซึ่งธงไตรรงค์ หรือธงชาติไทย ถือเป็นสัญลักษณ์อันสูงสุดของชาติเป็นสิ่งเตือนใจให้อนุชนได้รำลึกถึงการเสียสละเลือดเนื้อของบรรพบุรุษเพื่อรักษาไว้ซึ่งแผ่นดิน และร้อยดวงใจคนทั้งชาติให้เป็นหนึ่ง หล่อหลอมความรักสามัคคี สร้างเสริมความภูมิใจในความเป็นชาติ ก่อเกิดเป็นพลังยิ่งใหญ่ในการพัฒนาชาติไทยให้วัฒนาสถาพร
ขอบคุณที่มา : สำนักนายกรัฐมนตรี และพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย