กรมอนามัย เตือนดูแลสุขภาพให้พร้อม “เด็กเล็ก” เสี่ยงเจ็บป่วยง่าย
แนะดูแลสุขภาพช่วงหน้าหนาวเป็นพิเศษ ดื่มน้ำอุ่น ออกกำลังกาย เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
เมื่อวันที่ (13 พ.ย.2567) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โรคไอกรน เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ระบบทางเดินหาย ใจ สามารถติดต่อได้ง่ายผ่านการไอ จาม และการหายใจเอาละอองฝอยที่มีเชื้อเข้าไป
โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่ยังได้รับวัคซีนไม่ครบหรือภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงพอ มักพบการระบาดในสถานที่ที่มีเด็กอยู่รวมกันจำนวนมาก เช่น โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก
ด้าน นพ.อัครฐาน จิตนุยานนท์ ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า อาการของโรคไอกรนในระยะแรกจะคล้ายหวัดธรรมดา มีน้ำมูก ไอเล็กน้อย และมีไข้ต่ำ ๆ
นพ.อัครฐาน การระบาดของโรคไอกรนในปัจจุบันมีหลายปัจจัย หนึ่งในนั้นคือการที่ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนที่ได้รับในวัยเด็กเริ่มลดลงตามกาลเวลา โดยเฉพาะหลังจากการฉีดวัคซีนเข็มสุดท้ายในช่วงอายุ 4 ขวบ ประกอบกับการเคลื่อนย้ายของประชากรในภูมิภาคที่มีความแตกต่างของการเข้าถึงวัคซีนพื้นฐาน
สำหรับการป้องกันและควบคุมการระบาด สถานศึกษาจำเป็นต้องมีมาตรการที่เข้มงวด ทั้งการคัดกรองนักเรียนที่มีอาการไอเรื้อรังหรือไอรุนแรงเป็นชุด แยกผู้ป่วยและให้หยุดเรียนจนกว่าจะได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะครบ 5 วัน พร้อมทั้งแจ้งผู้ปกครองในห้องเรียนที่พบผู้ป่วยเพื่อเฝ้าระวัง
สำหรับเด็กโตที่ ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นช่วงอายุ 11-12 ปี พิจารณาฉีดวัคซีนกระตุ้น Tdap (Tetanus-Diphtheria-acellular Pertussis) แม้จะเป็นวัคซีนทางเลือก แต่มีความปลอดภัยสูงเนื่องจากเป็นชนิดไม่พึ่งเซลล์ซึ่งมีผลข้างเคียงน้อย
โรคไอกรนอาจมีความรุนแรงในบางกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะทารกอายุน้อยกว่า 1 ปีที่ยังได้รับวัคซีนไม่ครบ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง รวมถึงบุคลากรที่ต้องดูแลเด็ก จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
เนื่องจากผู้ปกครองอาจไม่ทราบหรืออาจไม่ได้พาบุตรหลานไปรับวัคซีนกระตุ้นในช่วงประถมปลายหรือมัธยมต้น จึงขอความร่วมมือสถานศึกษาช่วยประชาสัมพันธ์ และแจ้งเตือนผู้ปกครองถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีนกระตุ้น เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้าง
ข้อมูลจากกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค รายงานเมื่อ ก.ย.2567 ระบุว่าในปี 2566–2567 พบว่าแนวโน้มของผู้ป่วยรายงานโรคไอกรนเพิ่มสูงขึ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็ก โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ยังไม่ได้รับหรือได้รับวัคซีนที่มี
ส่วนประกอบของโรคไอกรนไม่ครบถ้วน หากพื้นที่ใดมีความครอบคลุมการได้รับวัคซีนที่มีส่วนประกอบของไอกรน (DTP-HB-Hib/ DTP) ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี น้อยกว่าร้อยละ 90 มีแนวโน้มระบาดได้ในอนาคต
โรคไอกรน เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ ซึ่งก่อโรคในคนเท่านั้น ในเด็กเล็กจะมีอาการรุนแรง แต่ในเด็กโตและผู้ใหญ่ มักมีอาการไม่รุนแรง
โรคไอกรนเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bordetella Pertussis เป็นแบคทีเรียแกรมลบรูปแท่งที่มีพิลไลช่วยยึดเกาะเซลล์ และสามารถสร้างสารพิษ pertussis toxin ที่ทำลายเนื้อเยื่อและกระตุ้นการหลั่งสารไซโตไคน์ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคไอกรน
เชื้อไอกรนมีระยะฟักตัวประมาณ 6–20 วันที่พบบ่อยประมาณ 7–10 วัน สามารถติดต่อและแพร่กระจายผ่านการสัมผัสโดยตรงกับละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย ที่เกิดจากการไอหรือจามของผู้ป่วย
เริ่มแรกผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายอาการหวัดทั่วไป ได้แก่ น้ำมูกไหล แน่นจมูกและไอ ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ต่อมาจะมีอาการไอถี่ๆ ติดต่อกันเป็นชุดๆ จนเด็กหน้าเขียว และมีเสียงหายใจเข้า วู๊ป(Whooping cough) สลับกันอาการไอเป็นชุดๆ อาจทำให้เด็กขาดอากาศหายใจ และเสียชีวิตได้
จากการรายงานผู้ป่วยโรคไอกรนขององค์การอนามัยโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 -2565 พบว่ามีแนวโน้มผู้ป่วยลดลงในทุกภูมิภาค ผู้ป่วยเฉลี่ย 143,000 คนต่อปี ในปีพ.ศ.2565 พบผู้ป่วยโรคไอกรนทั่วโลกมากกว่า 62,500 คน โดยมีรายงานมากที่สุดในภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก ประมาณ 39,000 ราย รองลงมาคือเอเชียใต้และตะวันออก 9,600 คน
สำหรับสถานการณ์ของประเทศไทย ในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา พบว่ามีแนวโน้ม
การรายงานผู้ป่วยลดลง พบจำนวนผู้ป่วยเฉลี่ย 52 คนต่อปี ซึ่งในปี พ.ศ. 2562-2563 พบผู้ป่วยสูงกว่าปีอื่นๆ (99 คน และ 90 คนตามลำดับ)
จากการเฝ้าระวังโรคไอกรน โดยกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค เมื่อวันที่
1 ม.ค.–26 เม.ย.2567 พบว่ามีรายงานผู้ป่วยไอกรนมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยมีการรายงานเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่เดือน ส.ค.2566
ในปัจจุบันมีแนวโน้มลดลง โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นการระบาดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ได้แก่ จ.ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ตามลำดับ ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ร้อยละ 80 ไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับวัคซีนไม่ครบถ้วนตามเกณฑ์
ตามแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศ และพบว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดของโรคไอกรนในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่มีความครอบคลุมของวัคซีน DTP3 ต่ำกว่าร้อยละ 90