
6 ทักษะที่เด็กควรมีในศตวรรษที่ 21
ในยุคที่โลกหมุนไปอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงแทบทุกวัน
เมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2568 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2568 ซึ่งมีผลบังคับใช้ทันที โดยมีการปรับแก้ไขในส่วนของการทำโทษบุตรให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
เนื้อหาสำคัญของพระราชบัญญัติใหม่
การทำโทษบุตรต้องไม่เป็นการกระทำทารุณกรรมหรือใช้ความรุนแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมทั้งต้องไม่กระทำโดยมิชอบ ตามที่กำหนดในมาตรา 1567 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยมีการยกเลิกการใช้คำว่า "ทำโทษตามสมควร" และระบุให้ทำโทษเพื่อการว่ากล่าวสั่งสอนหรือปรับพฤติกรรมอย่างมีเหตุผล
การตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
"(2) ทำโทษบุตรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอนหรือปรับพฤติกรรม โดยต้องไม่เป็นการกระทำทารุณกรรมหรือทำร้ายด้วยความรุนแรงต่อร่างกายหรือจิตใจ หรือกระทำโดยมิชอบ"
● ข่าวที่เกี่ยวข้อง : มีผลแล้ว ราชกิจจาฯ ประกาศกฎหมายแก้ไขใหม่ "ทำโทษบุตร"
● อ่านฉบับเต็ม : พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2568
การแก้ไขกฎหมายนี้มีเป้าหมายเพื่อป้องกันการกระทำทารุณกรรมที่อาจส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจของบุตร รวมถึงการสนับสนุนสิทธิของเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กที่ประเทศไทยได้ตอบรับและให้คำมั่นปฏิบัติอย่างเต็มที่
การแก้ไขนี้จะช่วยยกระดับความเป็นมนุษย์ในสังคมไทย และเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและอบอุ่นให้แก่เด็ก เพื่อให้บุตรเติบโตอย่างมีคุณภาพในทุกมิติ
✱ ติดตามข่าวสารและกิจกรรม Thai PBS Kids ได้ทาง Website | Facebook | Youtube | LINE Official ✱