คุณเป็น "พ่อแม่" แบบไหน ?
ชวนพ่อแม่มาสำรวจตัวเองเพื่อปรับการเลี้ยงดูลูกอย่างเข้าใจ
ขอถามต่ออีกว่า “แล้วเราคุยกับลูกเรื่องอะไร ?” คำตอบที่ได้รับกลับมาส่วนใหญ่ คือ คุยกับลูกเรื่อง "ปลุกให้เขาตื่น และลงมากินข้าว" "เตือนเขาไม่ให้ลืมของ" "การบ้านที่ต้องเอาไปส่งครู" และอื่น ๆ ที่เริ่มคลับคล้ายคลับคลาจะเป็นการ "บ่น" เข้าไปเสียทุกที
ถ้าหากขยายความ นิยามของ "การพูดคุย” ว่า “การพูดคุย” คือ การแลกแปลี่ยนความคิดเห็นที่ทั้งสองฝ่ายสนใจร่วมกัน โดยระหว่างพูดคุยจะมีการโต้ตอบกันของทั้งสองฝ่าย” ส่วนนิยามของ “การบ่น” คือ การระบายความรู้สึกของความคับข้องใจที่มีต่อบางสิ่งบางอย่างออกมาในลักษณะของการพูดอยู่ฝ่ายเดียว และอีกฝ่ายทำได้เพียงรับฟัง
คุณพ่อคุณแม่หลายท่าน อาจจะพอแยกแยะได้แล้วว่า “ที่ผ่านมาเราคุยกับลูก” หรือ “เราบ่นลูก” กันแน่ เมื่อตระหนักรู้แล้วว่า เรายังไม่ค่อยได้พูดคุยกับลูกเท่าไหร่นัก และเรายังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นคุยกับลูกอย่างไรดี ให้เราเริ่มต้นจาก...
ยกตัวอย่างแนวคำถาม
สำหรับลูกปฐมวัย พ่อแม่อาจจะถามเขาว่า...
Q1: “วันนี้ทำอะไรสนุก ๆ มาบ้าง ?”
Q2: “ช่วงนี้ลูกชอบทำอะไร ?”
Q3: “ลูกกับเพื่อน ๆ ทำอะไรที่โรงเรียนบ้าง ?”
Q4: “เย็นนี้ถ้าทำการบ้านเสร็จแล้ว เราทำอะไรกันดี ?”
สำหรับลูกวัยรุ่นนั้น เราอาจจะปรับแนวคำถามสักเล็กน้อย
Q1: “วันนี้เป็นอย่างไรบ้าง ?”
Q2: “ช่วงนี้ลูกสนใจเรื่องอะไร เผื่อพ่อกับแม่จะได้ไปลองดูบ้าง"
Q3: “ช่วงนี้ลูกกังวลใจเรื่องอะไร ?”
Q4: “มีอะไรที่พ่อกับแม่จะช่วยลูกได้บ้าง ?”
คำตอบคือ “ความเชื่อใจ” “ความไว้ใจ” “ความสัมพันธ์” เกิดขึ้นได้จากการพูดคุย และรับฟัง เด็กเรียนรู้ว่า “พ่อกับแม่” เป็นบุคคลที่เขาสามารถพูดคุยด้วยได้ และเป็นคนที่สามารถเป็นที่ปรึกษา และช่วยเหลือเขาได้ในยามที่เขาประสบกับปัญหาในชีวิต
ไม่มีลูกคนไหนที่อยากบอกเรื่องราวที่เป็นปัญหาให้พ่อแม่ที่บ่นเขาเพียงอย่างเดียว เด็กทุกคนทำผิดพลาด (ผู้ใหญ่เราก็เช่นกัน) เขารู้ตัวว่า “ตนเองทำผิดพลาด” เขาได้รับบทลงโทษจากความผิดพลาดนั้นแล้ว แต่การที่เขานำมาบอกพ่อแม่ เขายินดียอมรับการตำหนิ เพราะเขาต้องการความช่วยเหลือ พ่อแม่มีสิทธิ์โกรธ แต่ได้โปรด “อย่าซ้ำเติมเขาและทำร้ายเขาด้วยการพูดที่รุนเเรง”
พ่อแม่ควรให้ความช่วยเหลือเขา และสอนเขา เด็กจะเรียนรู้จากการสอนเพื่อไม่ทำผิดซ้ำอีก ที่สำคัญเมื่อเขาเรียนรู้ว่า พ่อแม่คือบุคคลที่เขาสามารถเชื่อใจและช่วยเหลือเขาได้ ครั้งหน้าถ้าเกิดปัญหาใหม่เข้ามา เขาจะกล้าปรึกษาพ่อแม่ และกลับมาหาเราในวันที่เขาไม่เหลือใคร เพราะพ่อแม่เป็นพื้นที่ปลอดภัยและที่พึ่งทางใจสำหรับเขาเสมอ
สุดท้ายหากเราพูดคุยและรับฟังลูกเรื่อยมาตั้งแต่ในวันที่เขายังเป็นเด็ก ลูกจะเติบโตขึ้นมาและกล้าที่จะนำเรื่องสำคัญหรือปัญหาในชีวิตของเขามาปรึกษาเรา ดังนั้นในวันที่เรายังมีโอกาส “ขอให้พูดคุยกับลูกและรับฟังในสิ่งที่เขาพูด แม้ว่าจะเป็นเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ก็ตาม”