การเติบโตในยุคดิจิทัล
ในปัจจุบัน “หน้าจอ” เข้ามามีบทบาทในชีวิตมาก และแทรกซึมเข้าสู่ทุกครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
คุณแม่ท่านหนึ่ง ซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศออสเตรเลีย และเธอมีลูกทั้งหมด 6 คน อายุ 2-6 ปี เป็นลูกชาย 3 คน และแฝดสามชายหญิง วิธีการเลือกซื้อของขวัญให้ลูกของเธอน่าสนใจมาก จึงอยากนำมาแบ่งปันในบทความนี้เพื่อเป็นอีกแนวทางเลือกสำหรับคุณพ่อคุณแม่
คุณแม่ท่านนี้จะซื้อของขวัญทั้งหมด 4 ชิ้นให้กับลูกที่เป็นเจ้าของวันเกิด โดยใช้หลักการ "wants, needs, wears, reads" format ซึ่งของขวัญแต่ละชิ้น สามารถอธิบายได้ดังนี้
คือ สิ่งที่เด็กที่อยากได้ อาจจะไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน แต่ของชิ้นนั้นส่งผลต่อจิตใจของเด็กน้อย ของที่เด็กอยากได้อาจจะมีหลายอย่าง เราต้องพิจารณาตามความเหมาะสม เช่น “ราคา” ไม่ควรแพงเกินไป เพราะเด็กน้อยยังรักษาของไม่ได้ดีนัก และของที่ราคาแพงอาจจะเป็นอันตรายกับเขาด้วย คนอาจจะจ้องทำร้ายลูกของเราเวลาอยู่นอกบ้าน “ช่วงวัย” ของชิ้นนั้นเหมาะสมกับอายุของเด็กหรือไม่
คือ สิ่งที่จำเป็นต่อเด็ก เช่น ของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น กระติกน้ำ แก้ว กระเป๋า หรือ เครื่องเขียนต่าง ๆ เช่น ดินสอ สี สมุด
คือ ส่ิงที่เด็ก ๆ สามารถสวมใส่ได้ หรือ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มนั่นเอง เช่น เสื้อผ้า รองเท้า ถุงเท้า เป็นต้น แม้ว่าสิ่งเหล่านี้ พ่อแม่จำเป็นต้องซื้อให้เด็ก ๆ อยู่แล้ว แต่การซื้อให้เขาเป็นของขวัญวันเกิด ทำให้เด็กได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามา ...“อายุที่มากขึ้นมาพร้อมกับร่างกายที่เติบโตขึ้นเช่นกัน”...
คือ “หนังสือ” การได้รับหนังสือเป็นของขวัญวันเกิดทำให้เด็ก ๆ เรียนรู้ความสำคัญของ “การอ่าน” แม้เขาจะยังไม่อยู่ในวัยที่อ่านออก แต่เราสามารถมอบหนังสือให้เป็นของขวัญ เพื่อนำหนังสือเล่มนั้นมาอ่านพร้อมกับเราได้ ที่สำคัญนอกจากเจ้าของวันเกิดแล้ว พี่ ๆ น้อง ๆ คนอื่นก็สามารถมาฟังหรืออ่านหนังสือเล่นนั้นด้วยได้
แต่เป็นสิ่งหนึ่งที่ลืมไม่ได้เด็ดขาด คุณแม่ท่านนี้มอบความรักให้กับลูก ๆ ด้วยการ ทำอาหารเช้าง่าย ๆ ให้กับลูก ๆ ของเธอ นอกจากนี้เธอจะใช้เวลากับเด็ก ๆ ในวันเกิดของพวกเขาเพื่อทำกิจกรรมง่าย ๆ เช่น ไปสวนสาธารณะ ไปเล่นทราย และ กลับบ้านมานอนกอดกับพวกเขา
นอกจากนี้ ในวันเกิดของลูกแต่ละคนของเธอ พี่น้องคนอื่น ๆ จะไม่ได้รับของขวัญเหมือนเจ้าของวันเกิด เด็กเล็กอาจจะมีโยเยบ้าง แต่ไม่นานก็หยุดร้องแล้วมาชื่นชมของขวัญกับเจ้าของวันเกิด ที่เธอทำแบบนี้ เพราะเธอต้องการสอนลูก ๆ เรื่องของ “การยินดี” กับผู้อื่นที่ได้รับของขวัญ และ “การรอคอย” เมื่อยังไม่ถึงวันเกิดของตนเอง ก็ต้องรอก่อน
ที่สำคัญเธอต้องการสอนเจ้าของวันเกิดถึงเรื่อง “การแบ่งปัน” เมื่อได้รับของขวัญมา เจ้าของวันเกิดเห็นพี่น้องของเขาไม่ได้รับอะไร เขาก็ไม่อยากสนุกอยู่คนเดียว จึงแบ่งปันให้ทุกคนมาสนุกด้วยกัน
ลูก ๆ ทั้งหกของเธอ “ยินดี” และ “พอใจ” กับสิ่งที่พวกเขาได้รับ เพราะคุณแม่ได้ปลูกฝังความเรียบง่าย แต่เต็มไปด้วยความเอาใจใส่ และความรักให้กับพวกเขา เธอคาดหวังว่า เมื่อลูก ๆ โตขึ้น พวกเขาจะเป็นเด็กที่ “สุขง่าย ทุกข์ยาก"
รูปแบบการซื้อของขวัญนี้เป็นเพียงอีกรูปแบบหนึ่งที่ช่วยให้เด็ก ๆ รับรู้ถึงคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ที่ได้รับมา แต่ละครอบครัวอาจจะมีรูปแบบการซื้อของขวัญให้ลูกหลายของตนแตกต่างกันออกไป บทความนี้แค่ต้องการนำเสนอรูปแบบที่น่าสนใจ เผื่อครอบครัวไหนอยากนำไปประยุกต์ใช้
เพราะ “วันเกิดที่ดีที่สุด” ไม่จำเป็นต้องมีของขวัญราคาแพง หรือ จัดงานเลี้ยงวันเกิดใหญ่โต ขอเพียงเป็นวันที่เด็กน้อยได้ตระหนักถึง “อายุ” ที่มากขึ้น ได้รับของขวัญจากความรัก ได้เติบโตอย่างอบอุ่น พร้อมหน้าพร้อมตากับคนที่เขารัก เพียงเท่านี้ก็สามารถเป็นวันเกิดที่ดีที่สุดสำหรับลูกและทุกคนในครอบครัวได้เช่นกัน