ข่าวประชาสัมพันธ์ : คิดคลับส์ ชวนเที่ยว Astro Night Family Camp
ชวนคู่พ่อลูก อายุ 6 - 12 ปี มาร่วมสร้างช่วงเวลาแห่งความประทับใจกับกิจกรรม Astro Night Family Camp
นอกจากหน้าที่ในการสั่งสอนลูกแล้ว พ่อแม่ก็มีหน้าที่ชื่นชมลูกด้วย เพราะคำชื่นชมช่วยพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (self seteem) ทำให้ลูกมองตนเองในเชิงบวก มีความหมายและมีตัวตนในสายตาพ่อแม่
ความสัมพันธ์ระหว่างกันก็จะดีขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม คำชื่นชมที่จะได้ผลดังกล่าว พ่อแม่ต้องพูดด้วยความจริงใจ และ บรรยายออกมาได้ว่าเห็นสิ่งดี ๆ อะไรในตัวลูก โดยพ่อแม่สามารถแต่งประโยคได้หลายแบบ ดังนี้...
❤︎ คำชื่นชมที่เน้นความรู้สึกของพ่อแม่ที่มีต่อลูก ❤︎
...“แม่รู้สึกดีใจที่ลูกเอาชนะความกลัวได้”...
...“พ่อรู้สึกภูมิใจที่ลูกยอมให้ของน้อง ถึงแม้น้องจะไม่ให้ของลูก”...
...“พ่อปลื้มใจนะที่เห็นลูกเข้าไปกอดเพื่อนที่กำลังแพ้”...
คำชื่นชมนี้ดีตรงที่ลูกรับรู้ความรู้สึกของพ่อแม่ที่มีต่อตนเอง ช่วยให้มีความผูกพันที่ลึกซึ้งขึ้น
❤︎ คำชื่นชมที่เน้นตัวตนลูก ❤︎
มักมีคำว่า ..."เก่งมาก"..."ดีมาก"..."น่ารักมาก"... ประกอบในประโยค
...“ดีมากที่ลูกยอมไปซ้อม ถึงแม้ว่าลูกจะเหนื่อย”...
...“ลูกแสดงความคิดที่ละเอียดดี ช่วยให้คนฟังเข้าใจง่าย เก่งมากเลย”...
...“ลูกน่ารักจัง ที่ช่วยแต่งตัวให้น้อง”...
คำชื่นชมนี้ดีตรงที่ลูกรับรู้สิ่งที่ดีของตนเองโดยไม่เกี่ยวกับความรู้สึกพ่อแม่ ทำให้เป็นตัวของตัวเองง่าย ไม่ต้องคิดว่าพ่อแม่จะดีใจหรือไม่
...“ชื่นใจจังเลย ลูกแม่มีน้ำใจนักกีฬา”...
คำว่า 'น้ำใจนักกีฬา' เป็นคำศัพท์ที่อธิบายคุณลักษณะดี ๆ หลายอย่าง ไม่ใช่เล่นเก่ง เช่น สามารถยอมรับความพ่ายแพ้ได้, ช่วยเหลือเพื่อนที่เป็นฝ่ายชนะได้, ให้อภัยเพื่อนที่ทำเสียคะแนนได้ ฯลฯ
...“แม่ภูมิใจมากที่ลูกเป็นเด็กอดทน ไม่ไปเที่ยววันนี้ได้”...
คำว่า 'อดทน' เป็นคำศัพท์ที่อธิบายคุณลักษณะที่ดีที่ใช้ได้กับทุกเรื่อง เช่น อดทนทำการบ้าน, อดทนไม่ลัดคิว, อดทนให้น้องเล่นก่อน, อดทนไม่ดูการ์ตูนระหว่างกินข้าว ฯลฯ
...“เก่งมากเลย ลูกแม่เป็นเด็กกล้าหาญ เดินไปบอกครูว่าตัวเองเป็นคนทิ้งขยะไม่ลงถัง”...
คำว่า 'กล้าหาญ' เป็นคำศัพท์ที่อธิบายคุณลักษณะที่ดีที่ใช้ได้หลายเรื่อง เช่น กล้าหาญในการยอมรับผิด, กล้าหาญในการช่วยเพื่อนที่กำลังแย่, กล้าหาญที่จะพูดความจริง, กล้าหาญที่อาสาทำงานนี้ ฯลฯ
คำชื่นชมชนิดนี้ดี เพราะคำที่ระบุคุณลักษณะดี ๆ นั้น ให้ความหมายเชิงบวกที่กว้างและลึก จึงส่งผลกระทบในเชิงบวกที่เข้มข้นต่อตัวเด็ก เด็กจะภาคภูมิใจในตนเองมาก
หมอขอแนะนำให้ฝึกพูดชื่นชมทั้ง 3 แบบ โดยใช้เกลี่ย ๆ กันไปค่ะ ในข้อแรก เด็กจะมีความผูกพันทางความรู้สึกกับพ่อแม่ลึกซึ้งขึ้น เพราะรู้ว่าพ่อแม่จะดีใจหรือปลื้มใจลูกตรงไหน ซึ่งธรรมชาติเด็ก ๆ ก็อยากเอาใจพ่อแม่อยู่แล้ว จึงทำให้ลูกอยากประพฤติตัวดีขึ้น ๆ แต่หมอไม่แนะนำให้พ่อแม่พูดข้อนี้ข้อเดียว เราควรชื่นชมตามข้อสองและข้อสามด้วย เพื่อให้เด็กสามารถภาคภูมิใจโดยเป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องทำเพื่อให้พ่อแม่ดีใจหรือปลื้มใจเท่านั้น
และสำหรับพ่อแม่ที่ชมแบบข้อสองหรือข้อสาม แต่ไม่เคยชมแบบข้อแรกโดยเฉพาะคุณพ่อที่ไม่ถนัดสื่อความรู้สึกเท่าคนเป็นแม่ หมอขอให้ทำค่ะ เพราะเด็ก ๆ ทุกคนอยากรู้ว่าพ่อแม่รู้สึกยังไงกับพวกเขา และความรู้สึกร่วมนี้จะทำให้เกิดความใกล้ชิดทางความรู้สึก ความผูกพันทางใจกับพ่อแม่ก็จะมากขึ้นด้วย
..."อ่านถึงตรงนี้แล้ว อย่าเครียดว่ามีรายละเอียดเยอะจัง สำหรับมือใหม่หัดชม หมอขอสรุปสั้น ๆ ละกันว่า ขอให้ชื่นชมลูกตามจริงและบรรยายออกมา หากทำได้ประมาณนี้ ลูกก็ดีใจและภาคภูมิใจกว่าไม่มีคำชมออกจากพ่อแม่แล้วค่ะ"...