การเติบโตในยุคดิจิทัล
ในปัจจุบัน “หน้าจอ” เข้ามามีบทบาทในชีวิตมาก และแทรกซึมเข้าสู่ทุกครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
..."คุณหมอครับ เวลาลูกร้องไห้ ผมจะสั่งลูกบอกให้หยุดร้อง เพราะเคยทำตามที่คุณหมอเขียนว่าให้ปลอบลูกให้บอกลูกว่าร้องไห้ได้ ปรากฏว่าลูกก็ร้องไม่หยุดอยู่ดี แต่ก็ไม่แน่ใจว่าที่ทำอยู่นี่มันถูกรึเปล่า"...
หมอตอบแบบนี้นะคะ..."เวลาลูกร้องไห้ หมอไม่ได้มีเป้าหมายที่จะต้องทำให้ลูกหยุดร้อง"... การร้องไห้เป็นการปลดปล่อยทางอารมณ์ เป็นการแสดงความรู้สึกที่อึดอัดคับข้องใจ เป็นการระบายความรู้สึกทางลบ เป็นสัญญาณขอความช่วยเหลือ ..."การสั่งให้ลูกหยุดร้องไห้ ขู่ เพิกเฉย หลายครั้งจึงยิ่งทำให้ความเจ็บปวดใจ เลวร้ายลงกว่าเดิม"...
เวลาลูกร้องไห้ หมอมีเป้าหมาย คือช่วย "ทำให้ลูกรู้สึกดีขึ้น" และ ทำให้ลูก "เรียนรู้วิธีการ" และการคิดเพื่อสงบตัวเอง เพราะหมอเชื่อว่าไม่มีเด็กคนไหนอยากร้องไห้ถ้าไม่เสียใจหรือเจ็บปวด
การทำให้ลูกรู้สึกดีขึ้น ไม่ได้เกิดจากการตามใจให้จบ ๆ ไป แต่เป็นการที่ลูกจะได้เรียนรู้ รู้จักอารมณ์ และรับรู้ว่ามีใครสักคนที่ "รับฟัง" "เข้าใจ" และ "อยู่ข้าง ๆ กัน" ในวันที่เสียใจ ประโยคที่หมอเลยชอบใช้บ่อย ๆ เมื่อลูกร้องไห้...
หมอเชื่อว่าเด็ก ๆ จะหยุดร้องไห้ มีเหตุผลง่าย ๆ มาจากลูกรู้สึกได้ว่ามีคนที่ "รับฟัง" และ "เข้าใจ" ความเสียใจที่มีอยู่ได้จริง ๆ
"รักลูก" แทนการหยุดพฤติกรรม เราหันมาช่วยความรู้สึกของลูกกันนะคะ การเติบโตมาแบบพบว่ามีคนเข้าใจในอารมณ์และตอบสนองกับมันได้อย่างดี... มันมีความหมายกับการเติบโตทางใจของลูกจริง ๆ