2310
การใช้ยาอย่างปลอดภัยในหญิงให้นมบุตร

การใช้ยาอย่างปลอดภัยในหญิงให้นมบุตร

โพสต์เมื่อวันที่ : August 3, 2021

มั่นใจว่าทุกคนอยากจะสุขภาพแข็งแรงไม่เจ็บไม่ป่วยจะได้ดูแลลูกน้อยสุดที่รักได้ด้วยตัวเองอย่างเต็มที่ แต่แม่ก็คนธรรมดาไหนจะอดนอนต่อเนื่องกันเป็นปี ๆ ไหนจะที่ต้องอุ้มลูกตลอดเวลา ไหนจะลูกดราม่าแม่ก็ต้องปลอบ ทางเราก็ไม่ใช่ยอดมนุษย์เนาะ มันก็คงมีเจ็บป่วยไม่สบายบ้างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

พอไม่สบายก็ต้องกินยา แต่ถ้าใครที่ให้นมลูกอยู่ล่ะ มันจะกระทบลูกมั้ย กังวลใจไปอี๊กกกกก วันนี้เราเลยจะมาคุยกันในหัวข้อนี้เลย “การใช้ยาอย่างปลอดภัยในหญิงให้นมบุตร” จากใจเภสัชกรแม่ลูกสอง

 

หลักการทั่วไปในการใช้ยาในหญิงให้นมบุตร

 

❤︎ หลีกเลี่ยงการใช้ยาถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ

เพราะขึ้นชื่อว่ายา ยังไงก็คือสารเคมี เป็นแม่คนแล้วต้อง อดทน อดทน อดทน !!

 

❤︎ เลือกใช้ยาที่ปลอดภัยด้วยขนาดยาต่ำที่สุด

ในระยะเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

❤︎ เลือกยาในรูปแบบที่ออกฤทธิ์เฉพาะที่

แทนการใช้ยาแบบฉีดหรือรับประทาน เช่น ยานวดบรรเทาปวด ยาแก้คัดจมูกแบบพ่น

❤︎ ให้ลูกดูดนมให้เต็มที่ก่อนทานยา

ควรทิ้งห่างประมาณ 2-3 ชั่วโมง ค่อยให้นมรอบถัดไป

 

❤︎ ใช้นมสต๊อคไปก่อนระหว่างที่คุณแม่ทานยา

ในกรณีจำเป็นต้องได้รับยาที่ห้ามใช้ในหญิงให้นมบุตรจริง ๆ ต้องหยุดให้นมค่ะ เพราะความปลอดภัยของลูกคือสิ่งสำคัญที่สุด ♥︎

 

 

"โรคยอดฮิต" สามัญประจำบ้าน เป็นหวัดก็ให้นมลูกได้ แค่เลือกยาให้เหมาะสมปลอดภัย ไม่กระทบน้ำนม (อ้อ !! แล้วก็ระวังเอาหวัดไปติดลูกด้วย ใส่มาสก์ป้องกันด้วยนะคะ)

 

ยาฆ่าเชื้อก็สามารถกินได้ค่ะ ถ้าจำเป็น ตัวอย่างยาที่ใช้ได้อย่างปลอดภัย กลุ่ม Penicillins เช่น Amoxicillin, Dicloxacillin, Cephalosporins, Cefalexin, Cefaclor, Maclorides, Azithromycin, Clarithromycin เป็นต้น

 

 

บางทีแม่ก็ไม่ได้อยากจะท้องเสีย แต่มันห้ามไม่ได้ ท้องเสียแล้วให้นมลูกได้นะคะ ไม่มีปัญหา แต่อย่าลืมดูแลเรื่องความสะอาดให้ดีเท่านั้นเองค่ะ

 

 

สุดท้าย โรคยอดฮิตของมนุษย์แม่ ทั้งปวดหลัง ปวดเอว ปวดแขน ปวดข้อมือ สารพัดอันเนื่องมาจากการอุ้มลูกตลอดเวลา ตัวอย่างยาที่ใช้ได้อย่างปลอดภัยได้แก่ Diclofenac, Ibuprofen, Mefenamic acid, Celecoxib

 

 

ทั้งหมดนี้ตัวอย่างยาที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวันของมนุษย์แม่ แต่ถ้าใครอยากเช็ครายละเอียดตัวอื่น ๆ ก็สามารถเข้าไปเช็คได้ที่เว็ปไซต์ www.e-lactancia.org มีระดับความปลอดภัยขึ้นมาให้ดูเลย ไล่ไปตั้งแต่ Very Low Risk(สีเขียว) ใช้ได้สบาย ๆ ไปจนถึง Very High Risk(สีแดง) ที่ไม่แนะนำให้ใช้ แต่ชื่อตัวยาที่ใส่ลงไปต้องเป็น generic name เท่านั้นนะคะ