การเติบโตในยุคดิจิทัล
ในปัจจุบัน “หน้าจอ” เข้ามามีบทบาทในชีวิตมาก และแทรกซึมเข้าสู่ทุกครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นักวิชาการสัตว์ทะเล ทช.-ผู้เชี่ยวชาญ ชี้ฉลามหัวบาตร กัดเด็กลูกครึ่งไทย-ยูเครน ขณะเล่นน้ำบริเวณหาดกมลา จ.ภูเก็ต เย็บ 33 เข็ม ระบุไม่ใช่ปลาสาก ตามที่เด็กเข้าใจ เนื่องจากบาดแผลมีรอยฟันบน-ฟันล่าง บ่งชี้ถูกฉลามงับ เจ้าตัวเล่านาทีต่อสู้ ใช้หมัดชกสู้จนเลือดสาด
“ผมรู้สึกเจ็บขา และเห็นเงาดำวับๆ และพุ่งกัดผม เพราะถ้าเป็นปลาอื่นจะไม่งับ เพราะว่าตรงขามันงับ และฟันล่างของปลาจะคม ตอนที่โดนกัดกำลังว่ายน้ำ รู้ตัวอีกทีเข้าใกล้แล้ว”
ด.ช.ณภัทร คริสแตลโกล หรือน้องอเล็กซ์ วัย 8 ขวบลูกครึ่งไทย-ยูเครน ถูกสัตว์ในทะเลกัด เล่าเหตุการณ์ขณะลงเล่นน้ำบริเวณชายหาดกมลา ต.กมลา อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต เมื่อช่วงเย็นวันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา และถูกสัตว์ในทะเลกัด ได้รับบาดเจ็บบริเวณขาขวาส่งรักษาตัวที่โรงพยาบาล แต่ด.ช.ณภัทร มั่นใจว่าปลาที่จู่โจมเป็นแค่ปลาสาก
ผู้สื่อข่าวถามว่าได้ต่อสู้กับปลาหรือไม่ ด.ช.ณภัทร กล่าวว่า หลังจากเห็นเป็นเงาดำ ๆ พุ่งเข้ามาจึงได้สู้อยู่ 1 นาที โดยใช้มือต่อยเข้าไปที่จมูกและตาของปลา รวมทั้งตีไปที่ลำตัว ตอนนั้นคิดว่าน่าจะเป็นปลาสาก เพราะฟันด้านล่างของปลาสากจะคม ตัวจะมีสีดำอยู่ใต้น้ำ ต่างจากฉลามที่มีตัวใหญ่ และหากเข้ามากัดก็น่าจะรู้ตัวก่อน
ด.ช.ณภัทร กล่าวอีกว่า เหตุที่เชื่อว่าเป็นปลาสาก เพราะเคยเห็น และจับตัวปลาสากมาก่อน ตอนที่เอามือฟาดมันไปมีความรู้สึกว่าผิวหนัง เหมือนกับปลาสากที่เคยจับ แต่ก็ไม่ชัดนัก เนื่องเจ็บขามาก จึงรีบว่ายน้ำเข้าฝั่ง
วันนี้ (2 พ.ค.) นายพิเชษฐ์ ปาณะพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมนายก้องเกียรติกิตติวัฒนาวงศ์ ผอ.ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลภาคใต้ตอนบน (อันดามัน) ตัวแทนจากประมงจังหวัดภูเก็ตตำรวจท่องเที่ยวภูเก็ตเจ้าหน้าที่ศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต(TAC) และนายเดวิด มาร์ติน ชาวฝรั่งเศส ช่างภาพใต้น้ำ ละผู้เชี่ยวชาญฉลามกลุ่มอนุรักษ์ OceonForAll ได้ร่วมพูดคุยกับเด็กชายอเล็กซ์ และครอบครัว
นายพิเชษฐ์ กล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดบริเวณชายหาดกมลา หน้าสถานีตำรวจภูธรกมลาห่างจากชายฝั่งไปป 100เมตร มีระดับน้ำลึกประมาณ 1 เมตร ในส่วนของบาดแผล จากการพูดคุยกับผอ.ศูนย์วิจัยฯ และผู้เชี่ยวชาญรวมผู้เชี่ยวชาญชาวต่างชาติ มีการวินิจฉัยว่าสัตว์ทะเลที่กัดขามี 2 ชนิด คือฉลาม และปลาสาก
ขณะที่ นายก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ ผอ.ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลภาคใต้ตอนบน(อันดามัน) กล่าวว่า สาเหตุที่มั่นใจว่าบาดแผล เกิดจากถูกฉลามกัดว่าได้มีการวินิจฉัยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านฉลาม และดูร่องรอยของบาดแผล จึงตัดปลาสากออกไป เนื่องจากบริเวณดังกล่าวไม่ใช่แหล่งหากินของปลาสาก
“รวมถึงร่องรอยของบาดแผลที่สำคัญที่บ่งบอกว่าเป็นฉลามคือมีร่องรอยของฟันบน และฟันล่างตรงบาดแผลที่ขาขวา ซึ่งเป็นลักษณะของมีคมทั้ง 2 ด้านเป็นการงับทั้งฟันบน และฟันล่าง”
ประกอบกับจุดเกิดเป็นเซิร์ฟโซน ซึงปกติฉลามจะหากินบริเวณนี้อยู่แล้วเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากตัวของฉลาม เห็นมีการเคลื่อนไหวบริเวณที่น้ำขุ่น และเข้าทดสอบดูว่าใช่อาหารหรือไม่ แต่เมื่อกัดลงไปแล้วพบว่าไม่ใช่ ก็ไม่มีการโจมตีซ้ำ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดน้อยครั้งมาก
“เบื้องต้นสงสัยฉลามอยู่ 2 ชนิดคือฉลามหัวบาตร หรือ BlueShark กับฉลามครีบดำ แต่ให้น้ำหนักไปทางฉลามหัวบาตรมากกว่าทั้งนี้ยังไม่ยืนยันว่าชนิดใดกันแน่”
ที่มา : Thai PBS