การเติบโตในยุคดิจิทัล
ในปัจจุบัน “หน้าจอ” เข้ามามีบทบาทในชีวิตมาก และแทรกซึมเข้าสู่ทุกครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
...”สวัสดีค่ะคุณหมอ ลูกอายุ 9 ขวบ โมโหแล้วพาลเตะคนอื่น คุณแม่ควรทำอย่างไรคะ หยุดพฤติกรรม ไม่อนุญาตให้ทำ แต่เค้ายังมีแรงอะค่ะ”...
การหยุดพฤติกรรมเตะคนเวลาที่ลูกโมโหนั้น เราต้องการให้ลูกรู้ว่าลูกทำร้ายคนอื่นไม่ได้เด็ดขาด ส่วนจะหยุดลูกได้หรือไม่ได้ หมอคิดว่าไม่ต้องมุ่งมั่นมากเท่ากับลูกต้องรับรู้ว่าพ่อแม่ซีเรียสการทำร้ายคนอื่น เพราะหมอกลัวว่ายิ่งอยากหยุดให้อยู่ จะกลายเป็นก้าวร้าวต่อกันมากขึ้น พ่อแม่จะหมดโอกาสเป็นต้นแบบของการควบคุมอารมณ์
พ่อแม่ควรมุ่งเป้าที่น้ำเสียงและท่าทีของตนเองที่หนักแน่นจริงจังว่าลูกต้องไม่ทำร้ายคน (วิธีการที่หมอเคยเขียนไว้ว่า “จับมือลูกไว้และพูดว่าทำร้ายไม่ได้ นับ 5 วินาทีแล้วปล่อย” การจับและพูดเป็นการแสดงออกว่าเราหนักแน่น ส่วนการปล่อยลูก เป็นการให้โอกาสลูกหยุดตัวเอง) เราไม่ต้องการเอาชนะลูก แต่เราต้องการให้ลูกหยุดตัวเองค่ะ ยิ่งโตเข้าใกล้วัยรุ่นแบบนี้ หมอไม่แนะนำให้เข้าหยุดลูกแบบจับไม่ปล่อย มิฉะนั้นจะกลายเป็นสู้กัน ผิดเป้าหมายของเรานะคะ
มีอีกอย่างที่สำคัญพอ ๆ กับการให้ลูกรู้ว่าทำร้ายคนอื่นไม่ได้ ก็คือ การเอาใจใส่ชีวิตลูก เด็กที่ก้าวร้าวหรืออารมณ์เสียบ่อย ๆ มักมีสาเหตุจากเรื่องรอบตัว ซึ่งเขาแก้ไขเองไม่ได้เยอะแยะค่ะ ถ้าเราสังเกตดี ๆ ลูกมักจะทำผิดเรื่องเดิมบ่อย ๆ ตัวเด็กเองก็รู้สึกผิดหวังกับตัวเองนะคะ เช่น โดนดุเรื่องน้องบ่อย ๆ โดนดุเรื่องแปรงฟันบ่อย ๆ
การที่ลูกผิดแบบเดิม ๆ แปลว่า เขาไม่สามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นได้เองแล้วค่ะ พ่อแม่จะต้องช่วยลูก ใส่ใจในรายละเอียดของปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ใช่แก้ไขเพียงพฤติกรรม ภายนอกที่ก้าวร้าวและหยุดลูกเท่านั้น ถ้าทำแค่นั้น ถือเป็นการแก้ปัญหาแค่ปลายเหตุ ลูกก็จะมีประเด็นให้ทำผิดและโกรธบ่อย ๆ จนไม่มีวันจบ
หมอขอยกตัวอย่าง น้องแบม 6 ขวบ เดินไปหาพี่ก้อยวัย 9 ปี เพราะอยากเล่นด้วย แต่วันนี้พี่ก้อยไม่อยากให้น้องเล่น จึงย้ายของเล่นหนี แต่ว่าน้องแบมก็ยังเดินตามอยู่ดี พี่ก้อยหันไปบอกน้องดี ๆ ว่า ...“อย่ามายุ่ง”... น้องแบมก็เชื่อฟังพี่ โดยนั่งนิ่ง ๆ ได้แป๊บนึง แต่แล้วก็เริ่มยื่นมือเข้าไปหยิบของเล่นที่พี่เล่นอยู่ พี่ไม่พอใจน้องมาก เพราะบอกไปแล้วว่าอย่ามายุ่ง จึงผลักน้องให้ออกไปไกล ทำให้น้องแบมเสียหลักหงายหลัง ร้องไห้เสียงดังจ้า
แม่รีบเข้ามาดูน้อง ดุพี่ก้อย และลงโทษพี่ก้อยที่ทำน้องเจ็บด้วยการยึดของเล่น ไม่ให้เล่นต่อแล้ว พี่ก้อยโกรธมาก แต่ไม่กล้าทำอะไร จึงลุกเดินออกไปจากตรงนั้น พอเห็นพี่เลี้ยงเดินมาก็เลยเตะใส่พี่เลี้ยง 2-3 ที คุณพ่อเห็นแบบนั้น จึงเข้าไปจับลูกไว้ ไม่ให้เตะพี่เลี้ยง แต่ลูกก็โกรธมากขึ้น ถีบแรงขึ้น จนคุณพ่อต้องตวาดให้หยุด ลูกถึงยอม
ลองตอบคำถามนี้นะคะ
ตอบ : เพราะมีความโกรธค้างมาจากที่โดนคุณแม่ดุ และอดเล่นของเล่น
ตอบ : มีโอกาสทำอีกสูงมาก เพราะก้อยพูดดี ๆ แล้วก็ยังไม่ผล ก้อยไม่รู้ว่าจะทำยังไงต่อดี
ตอบ : ไม่ได้ผล เพราะไม่ช่วยให้พี่ก้อยสามารถแก้ปัญหา น้องหยิบของเล่นที่ไม่อนุญาตได้
...”ถ้าคุณเป็นคุณแม่ในเรื่องนี้ คุณจะทำอย่างไร”...
มาฟังเรื่องต่อค่ะ เมื่อคุณพ่อหยุดก้อยได้ คุณพ่อก็สอนลูกว่าทำร้ายคนอื่นไม่ได้นะ วันหลังอย่าทำแบบนี้อีก ไม่อย่างนั้นจะโดนลงโทษ แล้วก้อยก็นั่งซึมอยู่ตรงนั้นคนเดียว
ตอบ : มีโอกาสสูงมาก เพราะปัญหาของก้อย ยังไม่เห็นว่าพ่อแม่ลงมาช่วยลูกคิดเลย ก้อยคงทำผิดซ้ำเดิม โดนดุ และลงที่พี่เลี้ยงอีก
ตอบ : มีโอกาสสูงมากที่จะอิจฉาน้อง เพราะคนเริ่มเรื่องคือน้อง (มาหยิบของเล่นพี่) แต่คนที่โดนลงโทษหลายต่อคือตัวเอง
(พ่อแม่หลายคนคงพอเห็นภาพพี่น้องอิจฉากัน โดยที่เราคิดว่าเราเลี้ยงลูกยุติธรรมแล้วนะคะ จริง ๆ มีรายละเอียดอยู่ในนั้น ถ้าลงโทษแต่พฤติกรรมภายนอก ลูกจะรู้สึกไม่ยุติธรรมแน่นอน เวลาเดี่ยวๆ คือสิ่งสำคัญที่ทำให้ลูกรู้ว่าเราใส่ใจค่ะ)
เรื่องของก้อย พ่อแม่ควรจะสอน “วิธีการเล่นด้วยกัน” “การแบ่งปัน” “การรอ” “การขอ” ให้กับทั้งสองคน โดยเฉพาะคนน้องที่ต้องขอและรอให้เป็น และอย่าลืมให้เวลากับลูกแต่ะละคนเดี่ยว ๆ และสำหรับพี่ก้อย เขาจะได้ระบายความในใจกับพ่อแม่ พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมองไปถึงต้นเหตุที่ทำให้ลูกโมโห มักแก้ไขหรือหยุดพฤติกรรมก้าวร้าวตรงนั้นแล้วก็จบ จึงทำให้ลูกต้องวนเวียนกับปัญหาเดิมซ้ำ ๆ
“ความโกรธ-ความผิดหวัง-ความเศร้า” ก็เกิดขึ้นวนเวียนซ้ำ ๆ เช่นกัน หากเด็กคนไหนตันกับปัญหาของตัวเองและโดนดุแบบนี้เรื่อย ๆ ก็คงจะเป็นเด็กเก็บกดหรือก้าวร้าว หรือไม่ก็มีปัญหาพฤติกรรมอื่น ๆ ตามมา ดังนั้น หน้าที่ของพ่อแม่ นอกจากต้องจริงจังกับพฤติกรรมทำร้ายคนอื่นแล้ว พ่อแม่ต้องมีเวลาใส่ใจชีวิตลูกเพื่อช่วยแก้ปัญหาที่ต้นเหตุด้วย อย่าปล่อยให้ลูกทางตันเลยนะคะ