การเติบโตในยุคดิจิทัล
ในปัจจุบัน “หน้าจอ” เข้ามามีบทบาทในชีวิตมาก และแทรกซึมเข้าสู่ทุกครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ด้วยเหตุนี้เมื่อผู้ใหญ่ขู่หรือลงโทษอย่างรุนแรง เช่น ขังเขาไว้ในห้องคนเดียว ตะคอก ฟาด และอื่น ๆ แม้ว่าเด็กอาจจะหยุดทำพฤติกรรมทันที แต่การหยุดนั้นเป็นการหยุดเพียงชั่วคราว กล่าวคือ หยุดทำพฤติกรรมนั้น เพราะเขากลัวเรา แต่ไม่ได้หยุดทำ เพราะเกิดความเข้าใจและเรียนรู้ในสิ่งที่ถูกต้อง ดังนั้นในสถานการณ์ที่ไม่มีเรา หรือในวันที่เขาโตพอจะไม่กลัวเราอีกต่อไป เขาอาจจะทำพฤติกรรมนั้นอีก หรืออาจจะทำพฤติกรรมที่รุนแรงข้ึนไปอีก
“เมื่อเด็กถูกขู่ให้กลัวหรือลงโทษอย่างรุนแรง” เด็กบางคนอาจจะกลัวมาจนส่งผลต่อความมั่นใจในตัวเองของเขา เมื่อต้องตัดสินใจ หรือ ต้องเผชิญกับปัญหา เขามีแนวโน้มที่จะหนีหรือหลีกเลี่ยงไม่เผชิญ เด็กบางคนอาจจะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้รอดพ้นจากการถูกลงโทษ เขาอาจจะใช้การเฉไฉ โกหก ปกปิด หรือ แม้แต่ประทั้งโยนความผิดของตนเองให้กับผู้อื่น เพราะสำหรับเขาแล้วการทำผิดนั้นดูน่ากลัวน้อยกว่าการถูกลงโทษอย่างรุนแรง
นอกจากนี้ในเด็กบางคนเมื่อไม่สามารถหนีจากการถูกลงโทษได้ มักจะเก็บความรู้สึกทางลบที่เกิดขึ้นและระบายออกอย่างไม่ถูกวิธี เช่น การส่งต่อความรุนแรงนั้นไปสู่ผู้อื่น หรือ ไปกระทำกับผู้อื่นที่อาจจะอ่อนแอกว่า แบบเดียวกับที่เขาเคยถูกกระทำ
ดังนั้นถ้าอยากให้เด็กเรียนรู้ไม่ทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอย่างยั่งยืน เราไม่ควรสอนเขาด้วยการทำให้เขากลัว แต่ควรสอนเขาด้วยเหตุผล เพราะเราคงไม่อยากสร้างเด็กที่ใช้แต่สมองส่วนสัญชาตญาณในการดำรงชีวิต
คำตอบ : ในกรณีเด็กเล็ก เราควรรอให้เขาสงบลงก่อน อย่าเพิ่งสอนสั่งอะไรเด็กเวลาที่เขาอาละวาด นั่งลงข้าง ๆ สงบแล้วจึงหันไปมองหน้าเขา บอกเขาชัดเจนว่า ไม่ควรทำอะไร และเขาควรทำอะไร เพราะอะไร ? ถ้าเขาทำไม่เหมาะสม สอนเขาขอโทษ เขาไม่ทำ จับมือเขาแล้วขอโทษไปด้วยกัน ทำเช่นนี้ทุกครั้งที่เกิดพฤติกรรมไม่เหมาะสม เด็กจะเรียนรู้จากการทำสม่ำเสมอ ไม่ใช่จากเหตุการณ์ครั้งเดียว
สมองเหตุผลจะถูกพัฒนาได้ เมื่อเด็กสงบเพียงพอที่เราจะพูดให้เขาฟัง และเขาได้ยินเสียงเรา ผู้ใหญ่ไม่มีความจะเป็นต้องไปตะเบ็งเสียงแข่งกับเด็กเลย รอเขาสงบ แล้วพูดเมื่อเขาหยุดอาละวาด เขาจะได้ยินเสียงเราชัดเจน เมื่อได้ยินเสียง สมองจะประมวลเสียง และคิดตาม เมื่อนั้นสมองส่วนเหตุผลจึงจะได้รับการกระตุ้น และใช้งาน
...“เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมรุนแรง ผู้ใหญ่ไม่มีความจำเป็นต้องสู้กับเขา เราควรสงบดั่งหินผา ไม่ตอบโต้ แต่ไม่คลอนแคลน ไม่หวั่นไหว ยืนหยัดในสิ่งที่ต้องการจะสอนเขา แต่ไม่ทำร้ายเด็กเพื่อให้เขากลัว”...
คำตอบ : ในกรณีเด็กโต เราควรขอเวลานอกให้กันและกัน เมื่อสงบแล้วค่อยกลับมาคุยกันใหม่ สอนเขาให้เข้าใจ รับฟังกันและกัน ให้โอกาสลูกพูดให้จบโดยที่เราไม่แทรก ในขณะเดียวกันเวลาที่เราพูด ควรเน้นพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาปัจจุบันที่เกิดขึ้นตำหนิหรือขุดคุ้ยปัญหาเก่ามาพูดร่วมกับปัญหาใหม่ ข้อสำคัญที่เราต้องตระหนักอยู่เสมอ “การสอนลูกตั้งแต่เล็ก ๆ ด้วยเหตุผล จะนำมาซึ่งเด็กโตที่พร้อมจะคุยกับเราด้วยเหตุผลเช่นกัน”
“พ่อแม่ควรพูดความจริงกับลูกเสมอ” พ่อแม่ที่พูดคำไหนคำนั้น และทำตามสัญญาเสมอ คำพูดของเราจะศักดิ์สิทธิ์กับลูก
ในกรณีที่พ่อแม่พูดแล้วไม่เป็นตามนั้น มีหย่อนยานไปบ้าง หรือ ไม่ทำตามนั้น พูดแล้วไม่ได้หมายความที่พูด เด็กเรียนรู้และจดจำ และจะไม่ถือเอาคำพูดเราเป็นจริงเป็นจัง ดังนั้น “พูดคำไหน คำนั้น ทำตามที่พูด” สำคัญมาก ๆ นอกจากนี้ พ่อกับแม่และผู้ใหญ่ในบ้านควรพูดให้ตรงกัน ทำไปในทิศทางเดียวกัน ไม่เช่นนั้นจะเกิดเหตุการณ์ที่ว่า “เด็กจะเชื่อเพียงคำของผู้ใหญ่ท่ีตรงกับความต้องการของเขา” เช่น เมื่อพ่อมาบอกให้หยุดดูหน้าจอ เด็กอาจจะบอกว่า “ก็แม่บอกให้ผมดูหน้าจอได้” หรือ “ก็อาม่าให้หนูกินลูกอมได้ ไม่เชื่อไปถามอาม่าเลย” เป็นต้น ผู้ใหญ่ตกลงกันให้ชัดเจน เพราะแนวทางเดียวกันที่ชัดเจนมีผลต่อการทำตามของเด็กมาก ๆ
แม้การสอนด้วยเหตุผล ผลลัพธ์นั้นใช้เวลาเนิ่นนาน และต้องอาศัยความอดทน สอนซ้ำ ย้ำเรื่องเดิมบ่อย ๆ กว่าที่เด็ก ๆ จะเรียนรู้ และเข้าใจ ในขณะที่การขู่และการลงโทษรุนแรงผลลัพธ์กลับเกิดขึ้นทันทีทันใด ทันใจเรา
อย่างไรกก็ตามในระยะยาว เด็กท่ีเรียนรู้ผ่านเหตุผล สมองของเขามีแนวโน้มจะพัฒนาได้ดีกว่าเด็กที่ถูกทำให้หวาดกลัว ซึ่งทำให้เด็กที่เรียนรู้ผ่านเหตุผลมีแนวโน้มเข้าใจอย่างยั่งยืนและสามารถแผ่ขยายสิ่งที่เขาได้เรียนรู้ไปสู่เรื่องอื่น ๆ ในชีวิตได้อีกด้วย
ถ้าเราเน้นผลลัพธ์ระยะสั้น และพร้อมรับผลของความเปราะบางที่อาจจะเกิดขึ้นภายใน เราอาจจะเลือกวิธีหลัง แต่ถ้าเราอยากเห็นผลระยะยาวที่ยั่งยืน และเราอดทนเพียงพอ วิธีแรกจะทำให้เราเห็นความงอกงามทั้งภายนอกและภายในแน่นอน
“เราควรสอนเด็กด้วยความรักและวินัยที่เหมาะสมตามวัย” เพราะการใช้ความกลัวทำให้เด็กหยุดพฤติกรรม(ชั่วคราว) นอกจากจะให้เด็กเกิดความกลัวแล้ว ความกลัวนั้นอาจจะนำไปสู่ความรุนแรง ความสับสน ความเศร้า ซึ่งอาจจะนำไปสู่การเกิดบาดแผลในใจของเด็กได้