ข่าวประชาสัมพันธ์ : คิดคลับส์ ชวนเที่ยว Astro Night Family Camp
ชวนคู่พ่อลูก อายุ 6 - 12 ปี มาร่วมสร้างช่วงเวลาแห่งความประทับใจกับกิจกรรม Astro Night Family Camp
ข่าววัยรุ่นฆ่าตัวตายเป็นข่าวที่ได้ยินเป็นระยะ ได้สะท้อนให้เรารู้ว่าเด็กและวัยรุ่นของเรากำลังเผชิญกับปัญหามากมายกว่าที่เราคิด คลินิกวัยรุ่น ก็เต็มไปด้วยวัยรุ่นที่มาด้วยโรคซึมเศร้า
มีรายงานว่าเด็กไทยประมาณ 1 ล้านคนมีความเสี่ยงปัญหาเรื่องสุขภาพจิต ประมาณร้อยละ 12-17 ของวัยรุ่นจะมีอาการโรคซึมเศร้าอยู่ในช่วงหนึ่งช่วงใดของชีวิตจากงานวิจัยและการได้ทำงานกับวัยรุ่นและครอบครัว พบว่าสิ่งที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการซึมเศร้าของวัยรุ่น มักเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้
❤︎ 1. ความเป็นวัยรุ่นเอง ‣ วัยรุ่นเป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลง ทั้งร่างกาย และสมอง รวมถึงการต้องเครียดเรื่องอนาคต การรับมือกับความเปลี่ยนแปลง ความคาดหวังของพ่อแม่หลายครั้งก็ไม่ได้ง่ายแบบที่หลายคนคิด
❤︎ 2. สมองของวัยรุ่น ‣ เป็นสมองที่สมองส่วน “อารมณ์” เติบโตที่สุด วัยรุ่นจึงเศร้าง่าย หลงง่าย หงุดหงิดง่าย ใช้อารมณ์นำเหตุผล ควบคุมอารมณ์ต่าง ๆ ยังไม่ดีนัก
❤︎ 3. กรรมพันธุ์ ‣ มียีนส์ที่เกี่ยวพันกับโรคซึมเศร้า ที่ทำให้สารสื่อประสาทในสมองทำงานผิดปกติ ถ้ามีประวัติคนในครอบครัวเป็น นี่เป็นความเสี่ยงที่วัยรุ่นบางคนก็เลี่ยงไม่ได้
❤︎ 4. การเลี้ยงดูที่ห่างเหิน ‣ โดยเฉพาะในวัยตั้งต้นชีวิต การเลี้ยงดูที่มีข้าวให้กิน มีบ้านให้อยู่ แต่ไม่ทำให้รู้สึกมีตัวตน หรือเป็นคนที่มีความหมาย
❤︎ 5. การเลี้ยงดูเชิงลบ ‣ ดุ ว่า ตำหนิ เปรียบเทียบ ใช้ความรุนแรง
❤︎ 6. การเลี้ยงดูที่เต็มไปด้วยความคาดหวัง ‣ และการควบคุมชีวิต
❤︎ 7. การถูกเลี้ยงดูมาแบบไม่เคยให้เผชิญความผิดหวัง ‣ ชีวิตมีแต่ความสบาย อะไรที่อยากได้ก็ได้เสมอ
❤︎ 8. การไม่มีใคร “รับฟัง” ‣ จริง ๆ ในชีวิต
❤︎ 9. การขาดทักษะ ‣ ในการเข้าใจและจัดการอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง
❤︎ 10. การเรียนที่หนักหนา ‣ หาเวลาพักแทบไม่ได้ ชีวิตได้แต่ใช้เดินไปตามตาราง
❤︎ 11. การไม่ได้รับการยอมรับ ‣ จากเพื่อน คนรัก และสังคม สิ่งนี้ “เป็นเรื่องสำคัญ” เพราะนี่เป็นพัฒนาการตามวัย
❤︎ 12. การถูกล้อ ‣ แกล้ง รังแก ทั้งในโลกออนไลน์และในชีวิตจริง
❤︎ 13. การใช้สื่อโซเชียล ‣ ที่เปิดเข้าไปก็มีเรื่องดี ๆ ของชีวิตคนอื่น โพสต์อะไรยอดไลค์ก็ไม่ได้ดังที่คาดหวัง การเปรียบเทียบสิ่งที่เป็นกับสิ่งที่เห็น (มีงานวิจัยพบว่าเฟสบุคมีความสัมพันธ์กับโรคซึมเศร้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ)
❤︎ 14. ความแตกต่าง ‣ เช่น ความเจ็บป่วยเรื้อรัง ความพิการ รูปร่างหน้าตา เพศสภาพ ฯลฯ ที่จริง ๆ หลายปัญหาอยู่ที่ความไม่เข้าใจความหลากหลายทางธรรมชาติของสังคม
❤︎ 15. “ความนับถือตัวเอง” ที่ไม่ดี ‣ ความนับถือตัวเอง ที่สั่งสมมาตั้งแต่การเลี้ยงดูในวันเด็ก
❤︎ 16. การไม่เข้าใจโรคซึมเศร้าของคนใกล้ชิด ‣ “คิดไปเอง” “ก็แค่อย่าคิดมาก” “ไม่เข้มแข็ง” “เดี๋ยวก็ดีขึ้นเอง” “ไปบวชเดี๋ยวก็หาย” ทำให้ขาดโอกาสที่จะเข้าถึงการรักษา
ไม่อยากให้ลูกเป็นโรคซึมเศร้า หลีกเลี่ยงปัจจัยที่หลีกเลี่ยงได้เสียแต่วันนี้
สุดท้ายที่อยากฝากไว้ “โรคซึมเศร้า” เป็นเรื่องจริง “โรคซึมเศร้า” อันตรายถึงชีวิต “โรคซึมเศร้า” รักษาได้อย่าอายที่จะพบแพทย์