187
สร้างภูมิคุ้มกันทางใจให้กับลูกด้วยการสร้าง Resilience ให้กับลูก

สร้างภูมิคุ้มกันทางใจให้กับลูกด้วยการสร้าง Resilience ให้กับลูก

โพสต์เมื่อวันที่ : August 17, 2022

 

ในปัจจุบันนี้เด็ก ๆ ต้องเผชิญกับสถานการณ์โรคระบาดที่กินเวลามายาวนานส่งผลให้เกิดความ เปลี่ยนแปลงมากมาย ทำให้เด็ก ๆ ต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวตลอดเวลา ซึ่งหนึ่งในความสามารถที่จะช่วย ให้เด็ก ๆ มีภูมิคุ้มกันทางใจต่อโลกที่เปลี่ยนไปเช่นนี้ คือ “Resilience”

 

“Resilience” คือ ความสามารถในการฟื้นตัว หรือ ความยืดหยุ่นทางจิตใจ เมื่อเจออุปสรรคหรือความท้าทายจะกล้าเผชิญและไม่ยอมแพ้ เมื่อล้มลงหรือพ้ายแพ้ จะลุกขึ้นมาใหม่และพร้อมที่จะเรียนรู้เพื่อเติบโตต่อไปได้ โดยยังคงความมั่นใจและคุณค่าภายในตนเองไว้ได้เสมอ

 

 

แนวทางสร้าง “Resilience” ให้เกิดขึ้นในตัวเด็ก

 

ขั้นที่ 1 สร้างสายสัมพันธ์ (Bonding)

  • เด็กวัย 0 - 3 ปี ต้องการการตอบสนองขั้นพื้นฐาน (ปัจจัย 4) และความรักจากพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู เมื่อหิวนม ได้กินนม เมื่อเฉอะแฉะ ได้เปลี่ยนผ้าอ้อม เมื่อร้องไห้ ได้รับการโอบอุ้ม กอด ปลอบประโลม เมื่อตื่นขึ้นมามองไปรอบห้อง เจอใครสักคนที่พร้อมจะอยู่ตรงนั้นเพื่อเขา การตอบสนองเหล่านี้ทำให้เด็ก ๆ รับรู้ว่าตัวเขาสามารถพึ่งพิงสภาพแวดล้อมได้ และสภาพแวดล้อมนั้นปลอดภัยสำหรับเขา

 

  • เด็กวัย 1 - 3 ปี ต้องการเวลาจากพ่อแม่และผู้เลี้ยงดู เวลาที่จะนั่งลงเล่น อ่านหนังสือ (นิทาน) สอนเขาทำสิ่งต่าง ๆ เวลาที่จะสายสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น สร้าง “ตัวตนที่มีอยู่จริง” ของทั้งผู้เลี้ยงดูและตัวเด็กเอง นอกจากเด็ก ๆ ต้องการพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู แล้วพวกเขายังรับรู้ได้ว่าตัวเขาเป็นที่รักและที่ต้องการเช่นกัน

 

 

คำถาม : 'ถ้าหากไม่มีพ่อแม่หรือเป็นผู้ใหญ่คนอื่นเลี้ยงดูเด็กจะเป็นอะไรไหม ?

คำตอบ : "ในขั้นนี้ ไม่จำเป็นต้องมีทั้งพ่อและแม่ หรือ ต้องเป็นพ่อกับแม่เท่านั้น เพราะสำหรับเด็ก ๆ แล้ว ขอเพียงผู้ใหญ่สักคนที่พร้อมจะเป็นที่พึ่งพิงทางใจ และเป็นพื้นที่ปลอดภัยที่มีอยู่จริงสำหรับพวกเขา สายสัมพันธ์สามารถเกิดขึ้นมาได้ และสายสัมพันธ์ดังกล่าวสามารถสร้างตัวตนที่มีอยู่จริงให้กับเด็ก ๆ ได้เช่นกัน”

 

 

ขั้นที่ 2 สร้างความไว้วางใจและการยอมรับในกันและกัน

เด็กวัย 2-3 ปีขึ้นไป ต้องการใช้ร่างกายของตัวเองเพื่อสำรวจโลกและเรียนรู้ศักยภาพของตัวเอง เด็ก ๆ วัยนี้อยากที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง แต่พวกเขายังเพิ่งเริ่มหัดทำ ผนวกกับร่างกายที่เพิ่งเริ่ม พัฒนาและเติบโต ความแข็งแรงคงทน และวุฒิภาวะของเด็ก ๆ จึงยังไม่เทียบเท่าผู้ใหญ่ ส่งผลให้พวกเขาทำสิ่งต่าง ๆ ได้ไม่เรียบร้อยหรือดีเท่ากับเรา แต่นั่นไม่ใช่ปัญหา เพราะหัวใจสำคัญของขั้นนี้ คือ การสร้างความไว้วางใจและการยอมรับในกันและกัน

 

หากพ่อแม่และผู้ใหญ่ควรมอบความไว้วางใจให้กับเด็ก ๆ โดยการให้พวกเขาฝึกช่วยเหลือตัวเองตามวัย และได้ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองมากขึ้น และให้การยอมรับในสิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้ เด็ก ๆ จะค่อย ๆ รับรู้ถึงความสามารถที่เขามีเพื่อพัฒนาไปสู่การมีความมั่นใจในตนเองต่อไป

 

นอกจากนี้การที่พ่อแม่มุ่งเน้นที่ “ความพยายาม” และ “กระบวนการเรียนรู้” มากกว่ามุ่งเน้น “ผลลัพธ์” เป็นสำคัญ จะทำให้เด็ก ๆ มีแนวโน้มยอมรับและมองเห็นความสามารถของตัวเองเพื่อพัฒนาต่อไปได้มากกว่า ดังน้ันแม้ว่าเด็ก ๆ จะทำสิ่งต่าง ๆ ได้ไม่ดีเยี่ยม แต่พวกเขาสามารถฝึกฝน เรียนรู้ และพัฒนาต่อไปได้

 

 

ขั้นที่ 3 สร้างการรับรู้คุณค่าภายในตนเอง (Self-value)

เด็กวัย 3-5 ปี สามารถสร้างการรับรู้คุณค่าภายในตนเองผ่านรูปธรรม กล่าวคือเมื่อเด็กลงมือทำบางอย่าง แล้วสิ่งนั้นมีคุณค่าต่อตัวเองและผู้อื่น พวกเขาจะค่อย ๆ รับรู้ถึงคุณค่าที่เกิดขึ้นจากภายนอก เพื่อนำสู่คุณค่าภายในตนเอง

 

ยกตัวอย่าง

เมื่อเด็ก ๆ ช่วยทำงานบางอย่างที่เป็นประโยชน์ ผู้ใหญ่ให้การชื่นชมเขา ทำให้เด็ก ๆ รับรู้ว่า สิ่งท่ีเขาทำนั้นมีคุณค่าต่อผู้อื่น แม้การชื่นชมจะเป็นการยืนยันจากบุคคลภายนอก แต่ก็เป็นสิ่งที่ทำให้เด็ก ๆ มองเห็นคุณค่าภายในตัวเขาอย่างเป็นรูปธรรม
เมื่อเด็ก ๆ รับรู้ว่าตนเองสามารถทำสิ่งที่มีคุณค่าได้ และตัวเขามีคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น พวกเขาไม่จำเป็นต้องรอการยืนยันจากสังคม เพราะพวกเขาได้ตระหนักรู้ถึงคุณค่านั้นภายในตนเอง แล้ว

 

 

คุณค่าภายในตนเอง แม้ช่วงแรกจะเกิดขึ้นจากการกระทำที่เป็นรูปธรรม เนื่องจากความสามารถในการเข้าในของเด็กวัย 3-5 ปียังถูกจำกัดไว้เพียงสิ่งที่มองเห็นและจับต้องได้ แต่เมื่อเด็ก ๆ โตพอจะเข้าใจนามธรรม คุณค่าภายในตัวเขาจะแผ่ขยายไปมากกว่าสิ่งที่เขาท เพราะคุณค่าภายหมายรวมถึงสิ่งที่เขาเป็น สิ่งที่เขาเชื่อ สิ่งที่เขาทำ

 

ดังนั้นสำหรับพ่อแม่และผู้ใหญ่ควรให้การสนับสนุนและยอมรับในตัวตนของเด็ก ๆ ที่สำคัญเราควรเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ทำ ได้เป็น ในสิ่งที่เขาต้องการ โดยให้คำแนะนำและการสอนสิ่งพื้นฐานที่จะทำให้เด็ก ๆ ไม่ทำให้ตัวเองหรือว่าผู้อื่นเดือดร้อน

 

 

ขั้นที่ 4 สร้างการควบคุมตนเอง (Self-control)

เด็กวัย 5-6 ปี พวกเขาเต็มไปด้วยพลังอันล้นเหลือ และพร้อมจะเรียนรู้ และทำสิ่งต่าง ๆ มากมายแต่สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้พวกเขาไปได้ถึงเป้าหมายโดยไม่ไขว้เขวไปเสียก่อน คือ ความสามารถในการยับยั้ง ชั่งใจ หรือ การควบคุมตนเอง ซึ่งความสามารถในการควบคุมตนเอง สามารถเกิดขึ้นได้จากการปลูก ฝังและฝึกฝนตั้งแต่วัยเยาว์ผ่านการ...

 

  • ให้เด็ก ๆ เรียนรู้ที่จะทำสิ่งที่สำคัญและมีความจำเป็น (Needs) ก่อนสิ่งที่อยากท (Wants) แม้สิ่งนั้นเด็ก ๆ จะไม่ชอบ ไม่อยากท หรือ ไม่เคยท แต่เด็ก ๆ ต้องฝึกฝนที่จะทำสิ่งนั้นจนเสร็จ ก่อนจะไปทำในสิ่งที่ตัวเองอยากท เช่น ทำการบ้านก่อนไปเล่น ทำงานบ้านก่อนไปกินขนม เป็นต้น

 

  • ให้เด็ก ๆ ได้ฝึกการรอคอยตามวัย เพื่อให้เด็ก ๆ มีความอดทนต่อสิ่งเร้า (Delayed gratification) เช่น อยากเล่นชิงช้า แต่ต้องต่อแถวรอถึงตาตัวเองถึงจะได้เล่น

 

  • ให้เด็ก ๆ ได้เจอสิ่งที่ท้าทาย และให้พวกเขาได้ฝึกแก้ปัญหาด้วยตนเอง เมื่อเด็ก ๆ เจอปัญหา และอุปสรรค ผู้ใหญ่อย่าเพิ่งรีบเร่งเข้าไปช่วยพวกเขาทันที เพราะเด็ก ๆ จะขาดโอกาสในการ จัดการอารมณ์ และเผชิญปัญหาด้วยตนเอง แต่เมื่อพวกเขาพยายามอย่างเต็มที่แล้ว ผู้ใหญ่ สามารถเข้าไปแนะนำและสอนวิธีการให้พวกเขาได้

 

  • ให้เด็ก ๆ รับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองเสมอ เมื่อเด็ก ๆ ทำผิดพวกเขาต้องรับผิดชอบ ต่อผลที่เกิดขึ้น โดยมีผู้ใหญ่ให้การสอนและเคียงข้าง เผชิญกับปัญหาที่เกิดขึ้น

 

  • ให้เด็ก ๆ รู้ว่าความผิดพลาดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอ แม้เราจะพยายามควบคุมตัวเองอย่าง เต็มที่แล้ว แต่บางครั้งความผิดพลาดก็เกิดขึ้นได้ ไม่เป็นไรที่จะผิดพลาด แต่ให้เรียนรู้และความผิดพลาดนั้นมาเป็นบทเรียน

 

 

ขั้นที่ 5 สร้างประสบการณ์ “ล้มแล้วลุก”

ปล่อยให้เด็ก ๆ ที่ลงมือทำและเผชิญปัญหาตามวัยของเขา ยิ่งลงมือทำมาก ยิ่งเผชิญบ่อย เด็ก ๆ จะพัฒนาทักษะที่สำคัญในการสร้าง Resilience ประสบการณ์ที่พวกเขาได้รับอาจจะมีทั้งประสบการณ์ที่ เขาได้รับชัยชนะ สมหวัง และประสบความสำเร็จ

 

แต่ในขณะเดียวกันประสบการณ์ที่พวกเขาได้รับ ความพ่ายแพ้ ผิดหวัง และทำไม่สำเร็จ ก็ล้วนเป็นประสบการณ์ที่สำคัญที่ทำให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ “ความยืดหยุ่น” “การปรับตัว” และ “การเติบโต” สิ่งสำคัญของขั้นนี้ คือ การมีพ่อแม่หรือบุคคลที่เด็ก ๆ รักให้การสนับสนุน โดยเฉพาะทางใจผ่านการ เคียงข้างในยามที่เด็ก ๆ ต้องการ

 

 

สุดท้ายพ่อแม่และผู้ใหญ่ไม่สามารถปกป้องเด็ก ๆ ได้ไปตลอดชีวิต แต่เราสามารถสร้างสายสัมพันธ์ และสอนสิ่งสำคัญที่จะติดตัวลูกไปตลอดชีวิตของเขาได้ Resilience คือ หนึ่งสิ่งสำคัญที่พ่อแม่สามารถสร้างให้กับลูก เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันทางใจที่ช่วยให้เด็ก ๆ เติบโตเป็นตัวเองและยังคงคุณค่าภายในตัวเขาไว้ได้ แม้พวกเขาจะต้องเผชิญกับปัญหาและความ ท้าทายอีกมากมายในชีวิต

 

 

อ้างอิง

American Psychological Association (2020, August 26) Resilience guide for parents and teachers https://wwwapaorg/topics/resilience/guide-parents-teacher