เที่ยวเล่น...จนเป็นเรื่อง
คุณพ่อคุณแม่เคยมีประสบการณ์ที่จู่ ๆ ก็รู้สึกทึ่ง ในเรื่องที่ลูกเล่าให้ฟังกันบ้างไหมครับ
● 1. สร้างความแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ เมื่อเด็ก ๆ เริ่มปีนป่าย ไม่ใช่เพียงแค่พวกเขาต้องใช้ร่างกายของตัวเองเพื่อปีนขึ้นไป เด็ก ๆ ยังต้องใช้ทั้งจิตใจที่กล้าหาญเพื่อพาตัวเองปีนขึ้นไปอีกด้วย เพื่อที่จะปีนไปให้ถึง ยอดที่ตั้งใจอย่างปลอดภัย
● 2. ช่วยพัฒนาการคิดวางแผนและการแก้ปัญหา เด็ก ๆ ต้องคิดวางแผนและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอยู่เสมอบนต้นไม้นั้น ที่สำคัญเด็ก ๆ ต้องเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปสู่น้อยให้ได้ จากกิ่งใหญ่ไปสู่กิ่งถัดไป เด็ก ๆ ต้องประเมินจากสายตาว่าเขาควรจะปีนไปในทิศทางใด
● 3. สร้างความมั่นใจในตัวเอง เมื่อเด็ก ๆ ปีนไปถึงที่ยอดหรือที่ความสูงที่ตัวเองตั้งไว้ พวกเขาจะเกิดความภาคภูมิใจที่ สามารถทำได้ตามเป้าหมาย ในขณะเดียวกันความมั่นใจในตัวเองของเขาจะค่อย ๆ พัฒนาขึ้นมา “ยิ่งปีนได้สูง การรับรู้ความสามารถภายในตนเองยิ่งชัดเจน” “ยิ่งปีนบ่อย ๆ ยิ่งมองเห็นความเป็นไปได้”
ทั้งนี้พ่อแม่สามารถพิจารณาตามความเหมาะของลูกเราว่า เราควรปล่อยให้เขาปีนป่าย หรือไม่ และควรไปสูงแค่ไหน โดยอาจจะยึดหลักความปลอดภัย
สำหรับผู้ใหญ่ที่กังวลว่า “ปล่อยเด็กเล่นอิสระ โดยปราศจากการควบคุมชี้นำแล้ว ถ้าเขาทำสิ่งที่ไม่เหมาะสม ผู้ใหญ่จะควบคุมเขาได้อย่างไร ?” คำตอบ คือ “การเล่นอิสระ” ไม่ได้เท่ากับ “การปล่อยปละละเลย” เพราะก่อนปล่อย เด็ก ๆ เล่น ผู้ใหญ่มีหน้าที่บอกกติกาหรือขอบเขตให้ชัดเจน
หากเล่นแล้วทำผิดกติกา ผู้ใหญ่มีหน้าที่ย้ำเตือนเรื่องกติกาที่เราตกลงกัน โดยอาจ จะตกลงกับเขาไว้ว่า “แม่จะเตือนลูก 2 ครั้ง ถ้าเกิดครั้งที่ 3 แม่จะเข้าใจว่า ลูกไม่พร้อมเล่นสิ่งนี้ในวันนี้ เราจะหยุดการเล่นนี้ทันที” ยอดไม้ที่ปีนไปถึง เป็นเสมือนเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมและจับต้องได้สำหรับเด็ก ๆ ในวันนี้ ในวันหน้า เมื่อเป้าหมายกลายเป็นนามธรรม เด็ก ๆ จะสามารถวางแผน แก้ปัญหา ระหว่างทาง ไม่ยอมแพ้ และไปได้ถึงเป้าหมายที่พวกเขาหวังไว้