เล่นกีฬาเปลี่ยนชีวิตลูกได้
การเล่นกีฬาเปลี่ยนชีวิตได้ ไม่ใช่คำใหญ่คำโตเกินไป
ไม่ผิดปกติค่ะ ตามพัฒนาการเด็ก เด็ก ๆ จะสนใจเล่นด้วยกันจริง ๆ ก็ประมาณ 3 ปีขึ้นไป แต่ถ้าจะเอาแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยกันต้องประมาณ 6 ปีค่ะ ตามพัฒนาการเด็กในมิติของการเล่น เราแบ่งตามอายุดังนี้
🔹 1. ขวบปีแรก - 2 ปี เล่นคนเดียว
🔸 2. อายุ 2 ปี ขึ้นไป จะเริ่มมองเพื่อนเล่น สนใจว่าเพื่อนเล่นอะไร เช่น มองดูเพื่อนเข็นรถของเล่นไปมา มองดูเพื่อน ๆ วิ่งในสนามเด็กเล่น ส่วนใหญ่จะมีระยะห่างกับเด็กคนอื่น คือหยุดดู และเดินผ่านไปเพื่อไปเล่นอย่างอื่นที่ตัวเองอยากเล่น และในช่วงอายุนี้ เด็กหลาย ๆ คนก็เริ่มนั่งเล่นข้าง ๆ เพื่อนด้วย คือ ไม่ใช่มองและเดินผ่านไปเท่านั้น เด็กจะนำของเล่นตัวเองมานั่งเล่นข้าง ๆ เพื่อน แต่จะไม่เล่นด้วยกันค่ะ เด็กจะมองเพื่อนเล่นเป็นระยะ ๆ และส่วนใหญ่ไม่คุยกัน พ่อแม่อย่าบังคับหรือชักชวนจนลูกต่อต้าน เพราะจะกลายเป็นว่า ลูกไม่ยอมเข้าใกล้เพื่อนเพราะต่อต้านคำพูดพ่อแม่ ไปสนามเด็กเล่น และปล่อยไปตามธรรมชาติ เด็กจะพัฒนาไปเอง
🔹 3. อายุ 3 ปีขั้นไป
ตอนนี้เด็กจะเล่นด้วยกันแล้ว และมีการพูดคุยกันด้วย แต่เป็นลักษณะต่างคนต่างคุยมากกว่า คือ ไม่ค่อยมีคนฟัง เช่น เด็กนำรถของเล่นเล็ก ๆ มาเข็นร่วมกับเพื่อนที่กำลังเข็นรถไปมาอยู่ แล้วจิตนาการว่า “ฉันกำลังไปเที่ยวทะเล” ส่วนเพื่อนอาจจินตนาการว่า “กำลังขับหนีรถคันใหญ่อยู่” ทั้งนี้เพราะเด็กยังจดจ่อกับเรื่องราวของตัวเองมากกว่าของเพื่อน เด็กจะคอยเดินตามกันและกัน เล่นของเล่นและพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังเล่นกันค่ะ และยังพบว่าวัยนี้ เด็กจะมีการแบ่งปัน มีการยื่นของเล่นให้เพื่อนเล่นด้วย เราจะเห็นว่า เด็ก ๆ ยังเล่นกันแบบไร้แบบแผน ไม่มีเป้าหมาย ไม่มีการคุยว่าจะสร้างอะไรกัน จะทำอะไรต่อ
🔸 4. อายุ 4 - 5 ปีขึ้นไป
นอกจากเด็กจะเล่นด้วยกันแล้ว ยังมีการวางแผนและร่วมมือกันค่ะ คือเป็นการเล่นที่มีเป้าหมายแล้ว เช่น เด็ก ๆ ช่วยกันขุดดินเพื่อสร้างเป็นทางรถวิ่ง เมื่อสร้างเสร็จก็นำรถมาวิ่งลงในทางที่สร้างด้วยกัน หรือ ช่วยกันเอาบล็อกไม้มาต่อให้เป็นบ้าน พอสร้างบ้านได้แล้วช่วยกันตกแต่ง เติมเฟอร์นิเจอร์เข้าไปในบ้าน ระหว่างเล่นก็จะคุยกัน มีทั้งพูดความคิดตัวเอง และรับฟังความคิดเพื่อน สามารถร่วมมือกันทำสิ่งที่คิดด้วยกันสำเร็จได้
ทักษะทางสังคมที่เราได้ยินบ่อย ๆ จุด start อยู่ที่ช่วงอายุนี้ค่ะ (จริง ๆ ตอน 3 ขวบเด็กก็เล่นด้วยกัน แต่การร่วมมือกันจริง ๆ เกิดขึ้นตอน 4 ขวบขึ้น) น่าตื่นเต้นนะคะ หมอคิดว่า พ่อแม่ควรส่งเสริมการเล่นแบบร่วมมือกันในช่วงอายุนี้ ทำให้เด็กรู้จักการทำงานเป็นทีมผ่านการเล่นตั้งแต่เริ่มแรกเลย ลูกจะได้มีทัศนะคติที่ดีต่อการมีเพื่อน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาทักษะทางสังคมต่อไปดีกว่า ให้ลูกเล่นแบบแข่งขันที่มีแพ้ - ชนะ ซึ่งเราเองจะพบว่า เวลาลูกแพ้ เขาจะหงุดหงิดอารมณ์เสีย นั่นเป็นเพราะไม่ใช่วัยที่จะยอมรับการแพ้ได้ง่าย ๆ สมองเด็กที่จะเข้าใจตรรกะที่ว่ามีแพ้ก็มีชนะ เดี๋ยวลูกก็ชนะได้นั้น ต้องประมาณประถมฯ ขึ้นไป รอให้สมองลูกพร้อม ค่อยพาเล่นก็ได้นะคะ ไม่ได้ช้าไปเลย
อย่าลืมว่า 1 ในทักษะสำคัญที่คนรุ่นใหม่ควรมีก็คือ #ทักษะการทำงานเป็นทีม ซึ่งพ่อแม่และคุณครูควรปลูกฝังเรื่องนี้ตั้งแต่เริ่มแรก (ให้ฐานดี) และต่อเนื่อง ๆ (ปลูกและฝัง)ไปจนโตเลยนะคะ ปล. ถ้าไม่เล่นกับเพื่อนและสื่อสารช้าด้วย แนะนำพบแพทย์เลยค่ะ