5 วิธีรับมือเมื่อลูกอยากได้ของเหมือนเพื่อน
อาการ “อยากมีอยากได้เหมือนเพื่อน” ทำให้พ่อแม่หลาย ๆ บ้านปวดหัวอยู่ไม่น้อย
ผู้ใหญ่ควรอนุญาตให้เด็กร้องไห้ได้และทำความเข้าใจใหม่ว่าการร้องไห้ไม่ได้เป็นสิ่งที่ไม่ดีเป็นสิ่งต้องห้าม เป็นสิ่งที่แสดงถึงความอ่อนแอ แต่สิ่งที่ผู้ใหญ่ควรทำคือการรับรู้อารมณ์เข้าใจ และตอบสนองอย่างเหมาะสมต่างหาก แนวทางในการรับมือกับการร้องไห้ของเด็ก ขอแบ่งที่มาของการร้องไห้ออกเป็น 2 กรณีใหญ่ ๆ
เช่น ของเล่นที่เขารักถูกทำลาย การแยกจากคนที่เขารัก เช่น แม่ทิ้งเขาไว้กับยาย เพราะต้องไปทำงานในเมือง การถูกทำร้ายทางกายใจเช่น โดนกลั่นแกล้งจากเพื่อน เพื่อนไม่ให้เข้ากลุ่มด้วย การเจ็บป่วยทางกายใจ หัวใจของเขาได้รับการกระทบกระเทือน
ในกรณีนี้สิ่งที่ไม่ควรทำเด็ดขาดเลยคือการบอกให้ลูกหยุดร้องไห้ และที่เลวร้ายที่สุดคือการลงโทษให้ลูกหยุดร้องไห้เสียที เพราะสำหรับลูกแล้ว หัวใจของเขาที่บาดเจ็บมา คงแหลกสลายยิ่งไปกว่าเดิม
..."การรับมือลูกร้องไห้ที่ดีที่สุด คือ “พื้นที่ปลอดภัย = การมีใครสักคนที่เขาไว้ใจอยู่เคียงข้างอย่างยอมรับและเข้าใจ"...
🔻 1. ให้การเคียงข้าง ในเด็กเล็กมากที่ยังไม่สื่อสาร เมื่อร้องไห้ผู้ใหญ่เข้าไปโอบอุ้มและปลอบประโลม ในเด็กโต ผู้ใหญ่พาออกมาในพื้นที่ที่ปลอดภัย มีแค่เรากับเขา ให้ความมั่นใจว่า “ไม่เป็นไร ร้องไห้ได้นะ“ ที่สำคัญหากลูกอนุญาต ให้เรานั่งลงข้าง ๆ เขา ให้การโอบกอด ให้การสัมผัสอย่างอ่อนโยนด้วยการจับมือ/บีบไหล่เบา ๆ แต่ถ้าลูกยังไม่พร้อมให้เราเข้าไปใกล้ให้เรานั่งลงไม่ไกลจากเขา รอเวลาที่เด็กจะสงบและอนุญาตให้เราเข้าไป
🔻 2. ให้การยอมรับ เป็นภาชนะรองรับอารมณ์เด็กได้ดีที่สุด คือใครสักคนที่เขาไว้ใจ และใครคนนั้นพร้อมที่จะเคียงข้างเขาอย่างเข้าใจ เด็กจะสามารถระบายความรู้สึกออกมาอย่างหมดใจ
🔻 3. ให้การสะท้อนและเข้าใจ เมื่อเด็กค่อย ๆ สงบมากพอจะคุยกับเราแล้ว เราสามารถช่วยให้เด็กเรียนรู้อารมณ์ที่ตัวเองเผชิญอยู่ และเข้าใจตัวเองมากขึ้นได้ผ่านการใช้คำถามเหล่านี้
💬 “ตอนนี้ลูกรู้สึกอย่างไร ?"
💬 “เกิดอะไรขึ้น ?”
💬 “เราจะทำอย่างไรดีเพื่อให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น ?”
💬 “อยากให้พ่อ/แม่ช่วยอะไรลูกได้บ้าง ?”
💬 “ครั้งหน้าถ้าเจอสถานการณ์แบบนี้อีก ลูกจะทำอย่างไรดี ?”
🔻 4. ให้ความช่วยเหลือ หรือ เคียงข้างเขาตลอดการช่วยเหลือ ถ้าไม่รู้ว่าจะช่วยลูกอย่างไรดีให้ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ เพราะบางครั้งสิ่งที่ลูกเผชิญอยู่เหนือการ ควบคุมของเรา การพาลูกไปพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา ไม่ใช่เรื่องไม่ดีแต่อย่างใด
การร้องไห้ที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพราะถูกทำร้ายทางกายใจแต่อย่างใด แต่เกิดขึ้นเพราะถูกขัดใจ อยากได้บางอย่าง แต่ไม่ได้เช่น แม่ทำอาหารที่ตัวเองไม่ชอบ ไม่อยากทำบางอย่าง แต่ต้องทำ เช่น ต้องไปแปรงฟัน แต่ไม่อยากแปรง ไม่ได้รับความสนใจอย่างที่ตัวเองต้องการ เช่น เวลาลูกคนแรกเพิ่งมีน้องคนที่สอง อยากเป็นฝ่ายควบคุม เช่น ไม่อยากเล่นเกมตามกติกาอยากเป็นคนสั่งมากกว่าคนทำตาม
ส่วนใหญ่มักจะเกิดในเด็กปฐมวัย (0-6 ปี) เพราะเป็นช่วงวัยที่เด็กยังเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง (Egocentric) การร้องไห้เอาแต่ใจมักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นไปเพื่อต้องการให้ได้ดั่งที่ตัวเองต้องการ และเพื่อต้องการให้ ผู้อื่นสนใจตนเอง
ในกรณีนี้สิ่งที่ควรระมัดระวังคือการเผลอตามใจเขา หรือ ปล่อยให้เด็กเป็นฝ่ายควบคุมเรา ในความเป็นจริงแล้ว เด็กต้องเรียนรู้วินัยที่สำคัญในชีวิต นั่นคือการดูแลตัวเอง และการทำตามกติกาต่าง ๆ เพราะ จะช่วยให้เขาเรียนรู้ได้ดีเติบโตสมวัย
1. ตั้งกติกาหรือข้อตกลงร่วมกันให้ชัดเจน
กฏ 3 ข้อที่ทุกบ้านและทุกคนควรทำตาม ได้แก่ ไม่ทำร้ายตัวเอง ไม่ทำร้ายผู้อื่น ไม่ทำลายข้าวของ กำหนดขอบเขต (เวลา-จำนวนสิ่งที่เขาจะได้) เช่น ทำได้มาก-น้อยแค่ไหน หมดเวลาเมื่อใด จะได้สิ่งนั้นเมื่อไหร่จะ ได้ทำเมื่อไหร่ กำหนดหน้าที่ (ลำดับความสำคัญก่อน-หลัง) เช่น กิจวัตรประจำวันต้องทำให้เสร็จก่อนไปเล่นเสมอ
2. เมื่อเด็กไม่ทำตามกติกา
ให้เราเตือนด้วยการทวนกติกาหรือข้อตกลงให้เขาฟัง ผู้ใหญ่ให้อิสระเด็กในการควบคุมตัวเองภายใต้กติกาที่เหมาะสมตามวัย เมื่อเด็กไม่ทำตาม เรามีหน้าที่ควบคุมกติกา ไม่ใช่บังคับให้เด็กทำตามคำสั่งเราเพียงอย่างเดียว และกติกาที่ดีควรเป็นกติกาที่ทุกคนต้องทำตาม ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ แตกต่างเพียงแค่ปริมาณหน้าที่ตามวัยเท่านั้นเอง
เมื่ออยากให้เด็กทำตาม ผู้ใหญ่ควรเป็นแบบอย่างเช่นกัน เช่น ไม่อยากให้เด็กประวิงเวลา ผู้ใหญ่ก็ต้องตรงต่อเวลา ไม่อยากให้เด็กต่อรอง ผู้ใหญ่ก็ควรรักษาสัญญา พูดคำไหนคำนั้น
3. เด็กร้องไห้อาละวาด เพราะเขาไม่อยากทำสิ่งใด
ให้เรารับมือด้วยความสงบและมั่นคง อย่าตื่น ตระหนก กลัวการอาละวาดของลูก
4. กลับไปที่สายสัมพันธ์เสมอ
เวลาที่เด็กเอาแต่ใจมากเป็นพิเศษ มักจะมีสาเหตุอยู่เบื้องหลังเสมอเช่นมีบางอย่างเปลี่ยนแปลงอายุที่มากขึ้น ต้องมีน้อง ต้องไปโรงเรียน เปลี่ยนโรงเรียน คนในบ้านเปลี่ยนไป
ดังนั้นการที่ลูกดื้อมาขึ้น ไม่ฟัง เอาแต่ใจให้เรากลับไปที่การสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีกับเขาด้วยการมีเวลาคุณภาพให้ ให้ความสนใจ แต่ไม่ใช่การตามใจเช่น อ่านหนังสือนิทานให้เขาฟัง เล่นกับเขา ส่งเขาเข้านอน
5. เด็กได้เรียนรู้ว่าการร้องไห้เอาแต่ใจจะไม่ทำให้เขาได้อย่างที่ต้องการ
เด็กจะหยุดทำพฤติกรรมเช่นนั้น แล้วทำพฤติกรรมอื่นที่ได้รับความสนใจมากกว่า เช่น แทนที่จะร้องไห้เหมือนเดิม เขาจะเปลี่ยนมาใช้การสื่อสารมากขึ้น
ดังนั้นให้การชื่นชมและความสนใจกับพฤติกรรมที่เหมาะสมของลูกเสมออย่ามองข้ามพฤติกรรมดี ๆ และตำหนิ แต่พฤติกรรมไม่ดีของลูกเพราะเขาจะมองเห็นแต่พฤติกรรมที่ไม่ดีของตัวเอง
6. เด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัย
เนื่องด้วยโรค/การเลี้ยงดู/บางสิ่งบางอย่างที่เข้ามาขัดขวางการเติบโต ควรได้รับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์พัฒนาการจิตแพทย์เด็ก และนักกระตุ้นพัฒนากาารด้านต่าง ๆ ต่อไป เพราะการร้องไห้อาละวาดแทนการ สื่อสารผ่านคำพูดออกมา มักเป็นการแก้ปัญหาแบบเด็กเล็ก ดังนั้นหากยังเกิดขึ้นต่อเนื่องควรได้รับการช่วยเหลือ ก่อนที่จะสายเกินไป
ทุกการร้องไห้มีที่มาเสมอเพียงแค่ว่าเราจะเข้าใจเหตุผลที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังนั้นหรือไม่เท่านั้นเอง ถ้ายังไม่แน่ใจว่าเกิดอะไรขึ้น อย่าใช้ตัวเราไปตัดสิน ให้เข้าไปทำความเข้าใจเสียก่อน และถ้าไม่รู้ว่าต้องรับมือกับการร้องไห้อย่างไรดีพูดให้น้อยและสั้นที่สุด รับฟัง และโอบกอดคือสิ่งที่ช่วยบรรเทาได้ เดี๋ยวนั้น