10 วิธีเลี้ยงลูกเชิงลบที่พบบ่อย
วิธีการเลี้ยงดูหรือความเชื่อที่เราชอบใช้บ่อย ๆ ที่ส่งผลไม่ดีกับเด็กในระยะยาว
ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงต้องรับมือกับลูกในทุกสถานการณ์ วันที่ดี น่ารัก เชื่อฟัง และในวันที่ไม่ดี ไม่น่ารัก และขัดขืนต่อการบอกกล่าวของพ่อแม่ทั้งแบบเบา ๆ และแบบหนักข้อ
สิ่งเหล่านี้ทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกลำบากใจและอาจมีปัญหากันเสมอเมื่อต้องรับมือกับ ‘ปัญหาพฤติกรรม’ ของลูกที่เกิดขึ้นตามช่วงวัยต่าง ๆ เพราะตอนที่ลูกน่ารัก เชื่อฟังดี มันไม่ได้ก่อปัญหาต่อพ่อแม่ และนั่นอาจทำให้พ่อแม่มองข้ามพฤติกรรมที่ดีของลูกไปนั่นเอง
‘การเลี้ยงลูก’ คือความสมดุลระหว่างการเสริมพฤติกรรมที่ดี และการปรับพฤติกรรมที่ไม่ดี โดย ‘การเลี้ยงลูกเชิงบวก’ จะมีหลักพื้นฐานเพิ่มเติมเข้าไปอีกประการหนึ่งก็คือ ไม่ว่าจะเป็นการเสริมพฤติกรรมที่ดีและการปรับพฤติกรรมที่ไม่ดีจะต้องกระทำผ่าน ‘ความสัมพันธ์ที่ดี’ ‘คำพูดการกระทำที่ดี’ และ ‘ความปรารถนาดี’ ของพ่อแม่ที่มีให้กับลูกนั่นเอง
'การเลี้ยงลูกเชิงบวก' จะไม่ทำให้ลูกรู้สึกว่าเขาคือคนไม่ดี แต่ทำให้เขารู้ว่า เขาสามารถดีขึ้นได้ ควบคุมตัวเองได้ และผ่านช่วงเวลาที่รู้สึกไม่ดีได้ภายใต้ร่มเงาแห่งความรักและเมตตาของพ่อแม่
การปรับพฤติกรรมของลูกด้วยวิถีการเลี้ยงลูกเชิงบวกจะไม่ใช่การจดจ้องที่จะปรับพฤติกรรมให้ได้เท่านั้น ความคิดด้านหนึ่งที่มีความคิด ‘พ่อแม่เป็นใหญ่’ ที่พ่อแม่ต้องควบคุมพฤติกรรมที่ไม่ดีของลูกให้ได้ พ่อแม่มีอำนาจเหนือลูก ตีให้จำจะได้ไม่ทำอีก หรือความคิดด้านหนึ่งที่มีความคิดว่า ‘พ่อแม่ต้องตามใจลูก’ เพื่อไม่ให้ลูกเกลียดพ่อแม่ และใช้การตามใจนั้นหยุดพฤติกรรมของลูก (แบบนี้เรียกว่า การติดสินบน) ถือเป็นวิถีการเลี้ยงลูกที่ไม่ใช่การเลี้ยงลูกเชิงบวกอย่างที่ควรจะเป็น
สิ่งที่พ่อแม่ควรตั้งเป้าหมาย คือ พ่อแม่มีหน้าที่สอนให้ลูกมีพฤติกรรมที่เหมาะสม ผ่านการรัก การมีเวลาให้ และการเป็นตัวอย่างที่ดี โดยเน้นย้ำกับตัวเองเสมอว่า พ่อแม่เป็นคนใจดี พ่อแม่จะไม่ตี แต่พ่อแม่จะไม่ตามใจหากไม่สมเหตุผล เพราะลูกต้องเรียนรู้ที่จะรู้จักกฎ กติกา วินัย และกิจวัตรพื้นฐานที่คนทุกคนพึงมี พ่อแม่เป็นผู้นำที่ดี ที่ฟังผู้ตามอย่างลูกด้วยความเข้าใจและความเคารพต่อสิทธิ์ของลูกเสมอ ทุกเรื่องราวของลูกจะถูกให้ความสำคัญและได้ยินเสมอ
ดังนั้นการปรับพฤติกรรมในแบบการเลี้ยงลูกเชิงบวกจะไม่ใช่การบังคับหรือควบคุมพฤติกรรม หากแต่เป็นการทำความเข้าใจกับ ‘พฤติกรรม’ ที่เกิดขึ้นตรงนั้น เพราะเมื่อพ่อแม่เข้าใจ พ่อแม่จะสามารถเข้าไปช่วยเหลือ เยียวยา ป้องกัน สอนทักษะในการจัดการปัญหาและอารมณ์ที่ลูกยังขาด ยังไม่เก่งพอให้ทำได้ดีขึ้นนั่นเอง
เน้นแก้ปัญหาไม่ใช่การลงโทษ เน้นความรักความเข้าใจ ไม่ใช่เดินหนี เน้นความสัมพันธ์ที่ดีแบบครอบครัว ไม่ใช่เจ้านายกับลูกน้อง พูดจาดี ๆ ต่อกัน กระทำดี ๆ ต่อกัน ใช้เวลาดี ๆ ต่อกัน นั่นแหละคือ การเลี้ยงลูกเชิงบวกที่ควรจะเป็น