390
เฝ้าระวัง ป้องกันได้ ! ไข้เลือดออก

เฝ้าระวัง ป้องกันได้ ! ไข้เลือดออก

โพสต์เมื่อวันที่ : July 22, 2023

 

ในช่วงครึ่งปีแรกของ 2566 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมกว่า 27,000 คน สูงกว่าปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกันเกือบสามเท่า !

 

เมื่อเข้าสู่หน้าฝนโรคร้ายก็ไม่วายตามมาติด ๆ อีกหนึ่งโรคที่น่ากลัว นั่นคือ “โรคไข้เลือดออก” มีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ หากเป็นสายพันธุ์ไหนแล้วก็จะไม่เป็นสายพันธุ์นั้นอีก อาจมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันแต่ละบุคคล

 

แนะให้คุณพ่อคุณแม่เฝ้าระวังและป้องกันอันตรายจากไข้เลือดออก ซึ่งปีนี้มีแนวโน้มระบาดรุนแรงตั้งแต่เริ่มเข้าช่วงฤดูฝน หลายพื้นที่เกิดน้ำท่วมขังทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ “ยุงลาย” พาหะนำโรคร้ายสู่คน

 

 

โรคไข้เลือดออก คืออะไร ?

เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค วันแรกอาการไม่รุนแรงคล้าย ๆ ไข้หวัดธรรมดา คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ซึ่งโรคไข้เลือดออกนี้

 

อาการแบ่งออกเป็น 3 ระยะ

  1. ระยะแรก ผู้ป่วยมีไข้สูงลอย 38-40 องศา เกิน 2 วัน มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีจุดแดงตามร่างกาย แขน ขา บางรายมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
  2. ระยะวิกฤต ผู้ป่วยมีอาการเพลียและซึม ปัสสาวะน้อย ปวดท้องบริเวณชายโครงขวา รวมถึงมีอาการเลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นสีดำ ซึ่งในระยะนี้ไข้จะเริ่มลดลง มือเท้าเย็น ความดันโลหิตต่ำ เสี่ยงเกิดภาวะช็อกและเสียชีวิตได้
  3. ระยะพื้นตัว ผู้ป่วยเริ่มมีอาการดีขึ้น ค่าความดันโลหิตปกติ เจริญอาหารมากขึ้น ปัสสาวะมากขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณบอกว่าร่างกายจะกลับสู่ภาวะปกติ ♥︎

 

 

โรคไข้เลือดออกยังไม่มียารักษา ดังนั้นจึงเป็นการรักษาตามอาการอยู่เป็นสำคัญ (ห้ามใช้แอสไพริสและไอบูโพรเฟนในการรักษา)

  • ยาลดไข้ แนะนำให้ใช้ยาพาราเซตามอล รับประทานทุก ๆ 4 - 6 ชั่วโมง กินติดต่อกันไม่เกิน 5 วัน หากไม่มีไข้สามารถหยุดยาได้ทันที ปริมาณการรับประทานยาแนะนำคุณพ่อคุณแม่อ่านสลากก่อนใช้นะคะ
  • น้ำเกลือแร่ ดื่มน้ำให้มาก ๆ ในรายที่มีอาการอาเจียนแนะนำให้จิบน้ำเกลือแร่เพื่อให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ

 

หมั่นเช็ดตัวเพื่อลดไข้ โดยใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาด ๆ เช็ดที่ใบหน้า คอ หลังหู ประคบตามซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ และข้อพับต่าง ๆ หากมีอาการรุนแรง เช่น อาเจียน ปวดท้องบริเวณชายโครงขวามาก เลือดออกรุนแรง มือเท้าเย็น ไม่รู้สึกตัว ให้รีบพบแพทย์ทันที

 

 

ป้องกันโรคไข้เลือดออก

  • ฉีดพ่นยากันยุง บริเวณท่อน้ำรอบบ้าน-ในบ้าน
  • หากนอนกลางวันให้ “กางมุ้งนอน”
  • สวมเสื้อผ้าสีสว่าง แขนยาว ขายาว
  • ทาโลชั่นกันยุง หรือสเปรย์กันยุง
  • ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงบริเวณบ้าน เช่น น้ำขังตามภาชนะหลังฝนตก
  • ฉีดวัคซีนป้องกัน

 

อย่างไรก็ตาม หากเด็กมีอาการไข้สูงมากกว่า 2 วัน คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรพาลูกมาพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องนะคะ

 

ขอบคุณข้อมูล

www.rama.mahidol.ac.th

www.sikarin.com

www.nakornthon.com

www.thaipbs.or.th