ผลเสียของหน้าจอต่อเด็ก
ทีวี สมาร์ทโฟน แทปเล็ต เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในชีวิตของคนในปัจจุบันอย่างมาก
การติดสารเสพติด ต้องทำแบบลับ ๆ เพราะผิดกฏหมาย การติดเกมส์พ่อแม่ก็จะจับตาดู แต่การติดมือถือหรือการติดสื่อออนไลน์ ดูเป็นเรื่องปกติของคนยุคใหม่ ดูไม่ร้ายแรงในความรู้สึกของผู้ปกครอง เมื่อไม่ทันระวังทำให้ “เกิดผลเสียเรื้อรังต่อสมองเด็ก” เสียแล้ว
มีข้อสังเกตว่าเด็กคนไหนที่มีปัญหาเสพติดอินเทอร์เน็ต (Internet addiction) ดังนี้หมกมุ่นกับการใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน และมีแนวโน้มจะใช้มากขึ้นเรื่อย ๆ หากถูกบังคับให้เลิกหรือหยุดเล่นจะต่อต้าน หงุดหงิดไม่พอใจ บางคนถึงขั้นกระสับกระส่าย หรือก้าวร้าว หมดความสนใจหรือเลิกทำกิจกรรมอื่นที่เคยทำยามว่าง การใช้อินเทอร์เน็ตส่งผลด้านลบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน มีอารมณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป เช่น เก็บตัว แยกตัว ดูเหมือนมีความลับ หลบ ๆ ซ่อน ๆ โกหก ขี้โมโห หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า ดื้อ ต่อต้าน
มีข้อมูลจากงานวิจัยมากมายที่ศึกษาเรื่องปัจจัยเสี่ยงของการเสพติดสื่อออนไลน์ในเด็ก สะท้อนให้เห็นว่า ปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ของทุกประเทศทั่วโลก พบว่าการเลี้ยงดูของพ่อแม่มีผลกับพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ในลูก ข้อสรุปที่ได้ กล่าวว่า...
ทางแก้ก็คือการเลี้ยงดูลูกให้มีความภาคภูมิใจในตัวเอง นั่นคือ รักลูกอย่างที่ลูกเป็น ยอมรับตัวตนของลูก รับฟังปัญหาอย่างจริงใจ ทำเช่นนี้ เด็กจะรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนมีคุณค่า เป็นที่รักของครอบครัว รู้จักรักตัวเอง ดังนั้นไม่จำเป็นต้องไปแสวงหาความรักในโลกออนไลน์เพื่อเติมเต็มในใจ การส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาในชีวิตโดยมีพ่อแม่อยู่เคียงข้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องปลูกฝังตั้งแต่ปฐมวัย