ข่าวประชาสัมพันธ์ : คิดคลับส์ ชวนเที่ยว Astro Night Family Camp
ชวนคู่พ่อลูก อายุ 6 - 12 ปี มาร่วมสร้างช่วงเวลาแห่งความประทับใจกับกิจกรรม Astro Night Family Camp
คำถาม : ทำอย่างไรผู้ใหญ่ถึงจะเก็บรักษาคุณสมบัติล้ำค่านี้ของเด็กเอาไว้ได้ ?
คำตอบ : ปล่อยให้ลูกได้เล่นอย่างเต็มที่ในวัยเด็ก
Mitchel Resnick ศาสตราจารย์ ด้านเทคโนโลยีการศึกษา ผู้เขียนหนังสือ “อนุบาลตลอดชีวิต” ให้นิยามของคำว่า “เล่น”ไว้อย่างน่าสนใจว่า องค์ประกอบของการเล่น มี 3 อย่าง ได้แก่ จิตใจที่สงสัยใคร่รู้ จินตนาการ และการทดลอง
ผู้ใหญ่จะสังเกตได้ว่า เด็กมีความสงสัยอยู่ตลอดเวลา เป็นวัยที่กล้าทำ กล้าทดลองในสิ่งที่ตัวเองคิด โดยไม่กลัวความผิดพลาด เด็ก ๆ ใส่ใจ”กระบวนการ” ระหว่างการเล่นมากกว่า ผลลัพธ์ที่ได้ดังนั้น เมื่อสิ่งที่ทดลองทำสิ่งใดแล้ว ไม่ได้อย่างที่คิด ก็จะเริ่มใหม่ ทำใหม่ จนกว่าเจ้าตัวจะพอใจ ถ้าวิเคราะห์ให้ดี การคิด ลงมือทำ ผิดพลาด และเริ่มใหม่ ก็คือ "วงจรแห่งการเรียนรู้" นั่นเอง ในขณะที่เด็กเล่นอยู่นั้นสมองอยู่ในภาวะผ่อนคลาย พร้อมรับข้อมูลใหม่ ๆ เพื่อเชื่อมโยงกับประสบการณ์เก่า สังเกตได้ว่าเด็กจะจดจ่อกับสิ่งที่ตนเอง “อยากทำ” ได้นานมากกว่าเรื่องอื่น
▶︎ รู้หรือไม่ ? การเล่นที่แสนธรรมดา เช่น การเล่นทราย สมองเกิดการเชื่อมโยง เกิดจุดเชื่อมต่อ (synapse) อย่างมหาศาลอยู่ภายใน อยากก่อทรายเป็นปราสาท ต้องใช้รูปทรงอะไรบ้างประกอบกัน ปราสาทนี้เป็นที่อยู่ของใคร ภายในเป็นอย่างไร ฯลฯ เด็กจะเอาประสบการณ์ที่เคยได้รับ มาผสมกับจินตนาการของตนเอง กลายเป็นสิ่งใหม่ที่มีเพียงแค่ 1 เดียวในโลกเสมอ
การปีนป่าย กระโดดโลดเต้น ก็ต้องใช้ทักษะชั้นสูงของทั้งร่างกายและจิตใจ เริ่มที่ต้องใช้ความกล้า การประเมินความสามารถตนเอง ขณะที่เหยียบขึ้นไปแต่ละกิ่ง ก็กะระยะ ควบคุมร่างกาย ควบคุมการรับรู้ของข้อต่อ กล้ามเนื้อ จะปีนสูงขึ้นไป ต้องอาศัยการวางแผน ต้องประเมินตนเอง เป็นต้น
วิธีที่เด็ก ๆ มีปฏิสัมพันธ์กับของเล่น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่...
ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวล หากเด็กที่บ้านเล่นแต่ตุ๊กตา ไม่ชอบบล็อกไม้ ไม่ว่าการเล่นแบบไหน ถ้าเป็นแบบที่เด็กพอใจ ล้วนให้ประโยชน์ในตัวเองทั้งสิ้น