ข่าวประชาสัมพันธ์ : คิดคลับส์ ชวนเที่ยว Astro Night Family Camp
ชวนคู่พ่อลูก อายุ 6 - 12 ปี มาร่วมสร้างช่วงเวลาแห่งความประทับใจกับกิจกรรม Astro Night Family Camp
คำตอบ : “เราแต่ละคนมีข้อจำกัดทางอารมณ์และความรู้สึกแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะและความแตกต่างของแต่ละบุคคล
ถ้าหากเราเอาบรรทัดฐานของเราไปวัดความรู้สึกของคนอื่น นั่นเท่ากับว่าเรากำลังยึดเอาตัวเราเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งอยู่ ทั้ง ๆ ที่ในสังคมเราไม่มีใครเลยที่จะเหมือนกัน เราจะเอาตัวเราเป็นไม้บรรทัดวัดทุกคนบนโลกไม่ได้
บางคนไวต่อความรู้สึกกับเรื่องบางเรื่อง มนุษย์เราจึงไม่ได้เข้มแข็งกับทุกเรื่อง เราต่างมีด้านที่อ่อนแอได้ทั้งนั้น หากลองมองย้อนกลับมาที่ตัวเราเอง เราก็มีมุมที่อ่อนแอหรือรู้สึกมากกับเหตุการณ์บางอย่างและคำพูดบางคำพูดได้เช่นกัน"
คำตอบ : "เราไม่มีทางรู้จนกว่าเราจะเข้าใจที่มาที่ไปของคน ๆ นั้น หรือเป็นตัวคน ๆ นั้นเอง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือการไม่ควรพูดในสิ่งที่อาจจะกระทบกับใจของใครตั้งแต่ต้น และหยุดสร้างบาดแผลให้กับผู้อื่นโดยไม่จำเป็น"
จงหยุดทักทายอีกฝ่ายด้วยการล้อเลียนรูปร่างหน้าตาของอีกฝ่าย หรือพูดถึงจุดด้อยจนทำให้อีกฝ่ายอับอายราวกับเป็นเรื่องตลก เช่น "ไม่เจอกันนาน อ้วน / ผอมขึ้นหรือเปล่า" "ทาครีมกันแดดบ้างไหม ดำขึ้นเยอะเลย" "ไปทำไรมาสิวเต็มหน้าเลย" ฯลฯ แทนที่ด้วยการทักทายอย่างจริงใจและเป็นห่วงเป็นใยกันดีกว่า เช่น "สบายดีไหม" "เป็นอย่างไรบ้าง" "ไม่ได้เจอกันนาน คิดถึงมากเลย" หากไม่รู้จะเริ่มทักอีกฝ่ายอย่างไร ลองส่งยิ้มให้ก็เพียงพอสำหรับการเริ่มต้นแล้ว
● บทเรียนที่ 1 “อย่าปล่อยเรื่องการหัวเราะเยาะ การล้อเลียนปมด้อยและรูปลักษณ์ภายนอกของผู้อื่นเลยผ่านไป” เพราะผู้ใหญ่หรือเด็ก ๆ ที่กระทำเช่นนั้นจะมองว่า "เป็นเรื่องปกติ" เขาจะมีแนวโน้มทำเช่นนั้นเป็นเรื่องปกติในอนาคตเช่นกัน ส่วนเด็ก ๆ ที่ถูกกระทำก็รู้สึกเสียความมั่นใจ และหมดคุณค่าไปเรื่อยๆ
สำหรับเด็กปฐมวัยผู้ใหญ่ควรสอนให้เขาเรื่อง “ความแตกต่างเป็นเรื่องที่ดี” และ “เด็ก ๆ ทุกคนควรภูมิใจในรูปร่างหน้าตาที่ตัวเองมี” โดยไม่ไปตัดสินรูปร่างหน้าตาของผู้อื่นที่แตกต่างจากเราด้วยเช่นกัน
● บทเรียนที่ 2 “ผู้ใหญ่รอบตัวเด็ก ๆ ควรตระหนักอยู่เสมอว่า การหัวเราเยาะเด็ก การแหย่เด็ก แม้จะทำด้วยความรัก ความเอ็นดู แต่เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง” หากเด็กรู้สึกไม่ชอบ เพราะถ้าเราทำต่อไป เด็กจะเรียนรู้ว่า เป็นเรื่องปกติที่ใคร ๆ ก็ทำกัน เขาจะทำเช่นนั้นกับเพื่อนหรือคนอื่น ๆ ดังนั้น ถ้ารักและเอ็นดูเขา ให้พูดเอ่ยปากชม หรือ แสดงด้วยการเข้าไปกอด ดีกว่าการเข้าไปหยอกล้อจนเด็กร้องไห้ออกมา
● บทเรียนที่ 3 “ผู้ใหญ่ควรเป็นแบบอย่างให้กับเด็ก” ผู้ใหญ่ควรเคารพในความแตกต่าง ให้เกียรติและไม่ตัดสินผู้ที่มีรูปร่างแตกต่างจากเรา โดยไม่ใช้การเปรียบเทียบเพื่อกดผู้อื่นให้ดูแย่กว่าตนในการสอนเด็ก เช่น กินมาก ๆ เดี๋ยวอ้วนเป็นหมูเหมือนป้าข้างบ้านหรอก ไม่ยอมตัดผม เดี๋ยวก็กลายเป็นตุ๊ดหรอก
เราสอนให้เด็กเรียนรู้ที่จะให้เกียรติผู้อื่น และไม่ดูถูกใคร ทุกคนแตกต่างกัน ไม่มีใครเหมือนกัน และทุกคนไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน เราก็ไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร ทั้งนี้ความแตกต่างนั้นที่เรามีหรือการเป็นตัวเราเองนั้นต้องไม่ทำให้ตัวเองหรือผู้อื่นเดือดร้อน เราควรปฏิบัติกับคนทุกคนเฉกเช่นเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกกับเรา เราควรเห็นอกเห็นใจ และเคารพในสิ่งที่เขาเป็น โดยไม่ละเมิดสิทธิของตัวเราหรือของใคร
การปกป้องตัวเองในยามที่โดนกระทำเป็นสิ่งที่เราทำได้ เราจะไม่ยืนให้อีกฝ่ายกระทำเราเพียงฝ่ายเดียว แต่เราจะไม่เลือกใช้ความรุนแรงก่อน เพราะสิ่งที่ทรงพลังกว่าคือ การยืนหยัดให้อีกฝ่ายรับรู้ว่าตนเองไม่ชอบและต้องการให้หยุดพูดถึงสิ่งนั้น หากไม่หยุดเราไม่จำเป็นต้องเสียเวลาสนทนาด้วย สุดท้าย...อย่าให้คำพูดที่ไม่ดีบั่นทอนคุณค่าภายในตัวเรา