
กรมอนามัยเตือน ! ไข้หวัดใหญ่ระบาด แนะกลุ่มเสี่ยงป้องกัน
โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก และผู้มีโรคประจำตัว
...แต่ก็ดูแลใจยามทุกข์ได้เช่นกัน ล้มแล้วลุกได้ ขอให้ลูกได้มีพื้นฐานที่ดีเหล่านี้ก่อน ยังไม่ต้องไปห่วงในเรื่องอาชีพการงานหรือระดับการศึกษามากนัก เพราะสุขภาพกายและใจที่ดีจะนำพามาซึ่งการเรียนและการทำงานที่ดีได้
ในปัจจุบัน เราพบว่าเด็กและผู้ใหญ่มีวิถีชีวิตแบบ ‘เนือยนิ่ง’ (Seduntary Lifestyle) มากขึ้นเมื่อเทียบกับอดีต ส่วนหนึ่งก็เพราะการเข้ามาของหน้าจอต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แทปเล็ต วิดีโอเกม ยูทูป ที่เราสามารถพกไปได้ทุกที่ และตรึงร่างกายให้นั่งนิ่ง ๆ มากขึ้น ทำให้การออกกำลังกายลดลง เกิดผลกระทบต่อ ‘ระดับการเคลื่อนไหวของร่างกาย’ และผลเสียต่อการเจริญเติบโต การกิน และสุขภาพกาย และยังส่งผลเสียต่อผลการเรียน และสุขภาพจิตอีกด้วย [1]
ตามการศึกษาในระยะยาว พบว่า การเคลื่อนไหวร่างกายและการเล่นกีฬา ส่งผลเชิงบวกต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กเล็กจนถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยพบว่าเด็กที่มีระดับของการเคลื่อนไหวร่างกายสูง และร่วมกิจกรรมกีฬาอย่างสม่ำเสมอจะมีสุขภาพที่ดีกว่าทั้งกายและใจเมมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีวิถีชีวิตแบบเนือยนิ่ง มวลกล้ามเนื้อมากกว่า เพิ่มการเผาพลาญพื้นฐานของร่างกาย (Energy expenditure) มีการสะสมของไขมันลดลง ส่งผลดีต่อสัดส่วนและรูปร่าง องค์การอนามัยโลกจึงแนะนำให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีเล่นกีฬาหรือมีกิจกรรมที่ทำให้เหงื่อออกอย่างน้อยวันละ 60 นาที [2]
ในขณะเดียวกัน การออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวร่างกายจะกระตุ้นการหลั่งของสารสื่อประสาทหลายชนิด เช่น อะดรีนาลิน โดพามีน รวมถึง brain-derived neurotrophic factors ชนิดต่าง ๆ ที่ส่งผลให้สมองรู้สึกปลอดโปร่ง มีความสุข และเอื้อต่อกระบวนการการเรียนรู้ที่ดีกว่าอีกด้วย [3]
โภชนาการก็สำคัญ พบว่า ทั่วโลกมีความชุกของ “โรคอ้วนในเด็ก” สูงขึ้นในช่วง 10 - 20 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากอาหารจานด่วนที่หาซื้อได้ง่ายมักมีความเค็ม - กรอบ - มัน - หวานสูง อูมามิ กินแล้วยิ่งอยากกินอีก หนักแป้ง หนักมัน สารอาหารไม่ครบถ้วน ประกอบกับพฤติกรรมที่เนือยนิ่งยิ่งทำให้อ้วนง่าย เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดเรื้อรังหลายชนิดในระยะสั้นและยาว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ ซึ่งกระทบต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้ ดังนั้นวิธีการที่ง่ายที่สุดสำหรับการมีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจก็คือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วน และการใช้หน้าจออย่างเหมาะสม นั่นเอง
การใช้หน้าจอที่เหมาะสมตามหลักของราชวิทยากุมารแพทย์แห่งประเทศไทย คือ เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปีควรหลีกเลี่ยงการใช้หน้าจอทุกชนิด ส่วนเด็กอายุ 2 - 6 ปีไม่ควรดูหน้าจอนานเกินวันละ 1 ชั่วโมง (หรือควรใช้ให้น้อยที่สุด) และพ่อแม่ควรเลือกประเภทของรายการที่มีประโยชน์ให้ลูกดู (โดยควรคัดกรองเนื้อหาของรายการก่อนที่ลูกจะดูเสมอ) สำหรับเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป ควรจำกัดการใช้หน้าจอไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมง โดยมีผู้ปกครองคอยกำกับดูเนื้อหาที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก
เพิ่มเติมด้วยคำแนะนำเพื่อการนอนที่ดี ก็คือ ไม่ให้ใช้หน้าจอในห้องนอน เพราะแสงสีฟ้าอาจกระทบสุขภาพสายตา และคุณภาพการนอนได้ โดยการนำหน้าจอ ทั้งสมาร์ตโฟน แท็ปเล็ต หรือการมีโทรทัศน์ในห้องนอน อาจทำให้ผู้ปกครองไม่สามารถคอยกำกับดูแลทั้งเนื้อหาและระยะเวลาในการใช้งานของเด็กได้ เด็กวัยรุ่นหลายคนก็ดูหน้าจอจนเพลิน นอนดึก เป็นเหตุให้นอนไม่พอ ทำให้ง่วงในช่วงกลางวัน กระทบกับสมาธิและการเรียนในห้องเรียนได้
สุดท้ายก็คือ สุขภาพใจจะดีไม่ได้เลย หากครอบครัวไม่แข็งแรง ดังนั้นครอบครัวจึงต้องเป็นพื้นที่ปลอดภัยของลูก โดยมีพ่อแม่ที่มีความรัก - เวลา - ความเข้าใจ ให้พื้นที่ในการเติบโต อยู่ใกล้ในระยะที่พอดี ไม่ห่างเกินจนหนาวเหน็บ ไม่ใกล้เกินจนร้อนระอุ เชื่อใจมอบความรับผิดชอบให้กับลูกในการดูแลตัวเองได้โดยมีพ่อแม่มองดูอยู่อย่างเข้าใจ และพร้อมที่จะรับฟังและเป็นที่ปรึกษาที่ดีให้กับลูก ในขณะเดียวกันก็เป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ชีวิตและการรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ด้วย
เอกสารอ้างอิง
[1] Tremblay M.S., LeBlanc A.G., Kho M.E., Saunders T.J., Larouche R., Colley R.C., Goldfield G., Gorber S.C. Systematic review of sedentary behaviour and health indicators in school-aged children and youth. Int. J. Behav. Nutr. Phys. Act. 2011;21:98.
[2] World Health Organization . Guidelines on Physical Activity, Sedentary Behaviour and Sleep for Children under 5 Years of Age. World Health Organization; Geneva, Switzerland: 2020.
[2] de Greeff J.W., Bosker R.J., Oosterlaan J., Visscher C., Hartman E. Effects of physical activity on executive functions, attention, and academic performance in preadolescent children: A meta-analysis. J. Sci. Med. Sport. 2018;21:501–507.
✱ ติดตามข่าวสารและกิจกรรม Thai PBS Kids ได้ทาง Website | Facebook | Youtube | LINE Official ✱