บันไดขั้นแรกของเจ้าตัวเล็ก
เด็กจะพร้อมเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ ๆ อย่างมีความสุขเพราะฐานของเขานั้นมั่นคงและเเข็งแรง
พ่อแม่ผู้ปกครองหลาย ๆ คนถ้าเลือกได้คงอยากให้ลูกหลานของตนพัฒนาได้เร็วกว่าค่าเฉลี่ย แต่การพัฒนาได้เร็ว ไม่สามารถรับประกันได้ว่าเด็กคนนี้จะพัฒนาไปได้ไกล หากขาดพัฒฐานทักษะชีวิตที่เรียกว่า 'การควบคุมกำกับตนเอง' (Inhibitory control) ซึ่งเป็นทักษะที่ทำให้เด็กปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ ไม่ทำให้ตัวเองหรือผู้อื่นเดือดร้อน และสามารถกำกับตัวเองไปจนถึงจุดหมายปลายทางได้
ถ้าเปรียบตัวเป็นเป็นรถคันหนึ่ง ทักษะนี้ก็เปรียบเสมือนกับเบรกที่ช่วยให้รถหยุดอย่างเหมาะสม ดังนั้นแม้ว่ารถจะถูกแต่งมาจนวิ่งได้เร็วกว่ารถคันอื่น ถ้าหากรถคันนั้นไม่มีเบรก แล้วเจอหน้าผา หรือไฟแดง รถคันดังกล่าวก็จะพุ่งตกลงเหว หรือพุ่งชนบางอย่างในที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง ผู้ใหญ่ควรจะส่งเสริมพัฒนาเด็กในด้านต่าง ๆ แล้ว เราหันกลับมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะ 'การควบคุมกำกับตนเอง' ให้กับเด็ก ๆ ไปควบคู่กัน
การพัฒนาการควบคุมกำกับตนเองจะเกิดขึ้นเมื่อ...
หากเด็กไม่มี 2 ข้อนี้ อย่าเพิ่งคาดหวังจะพัฒนาทักษะการควบคุมกำกับตนเองในเชิงความคิด จิตใจ และการกระทำ เพราะนั่นย่อมไม่เกิดขึ้นในเด็กที่ยังไม่สามารถวางใจในสภาพแวดล้อม และควบคุมร่างกายตนเองได้ โดยปกติแล้วเด็กจะเริ่มเรียนรู้พัฒนาทักษะนี้ได้ตอนประมาณ 3 ปีขึ้นไป
เช่น ตื่นนอน ล้างหน้า แปรงฟัน อาบน้ำ แต่งตัว กินข้าว ใส่รองเท้า ถือกระเป๋าไปโรงเรียน เป็นต้น เพื่อให้เขารู้จักควบคุมกกำกับตนเองให้ทำหน้าที่ของตนจนสำเร็จลุล่วง ถึงแม้จะทำได้ไม่ดี ไม่สะอาด ไม่เรียบร้อย ไม่เป็นไร ผู้ใหญ่ช่วยสอนย้ำรอบสองได้ สิ่งสำคัญต้องปล่อยให้เขาได้ทำด้วยตนเอง ลดการช่วยเหลือในสิ่งที่ทำได้ด้วยตนเองแล้ว ไม่อุ้ม ถ้าเขาเดินได้แล้ว ไม่ทำให้ เมื่อเขาเคยทำได้มาก่อน ผู้ใหญ่ควรให้กำลังใจ และรอคอยอย่างอดทน
งานนั้นควรเหมาะสมตามวัยของเด็ก เช่น ในเด็กเล็กเราอาจจะมอบหมายงานเช็ดโต๊ะ ล้างแก้วน้ำของตนเองหลังกินข้าวเสร็จ รดน้ำต้นไม้ ให้อาหารสัตว์เลี้ยง และอื่น ๆ
แล้วให้เขาพยายามเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายนั้นด้วยตัวเขาเอง เช่น เด็กอยากซื้อของเล่นชิ้นหนึ่งมาก พ่อแม่อาจจะให้เขาช่วยทำงานบ้านเพิ่มเติม และให้เงินเขาไปหยอดกระปุก เมื่อสะสมครบ เราค่อยพาเขาไปซึ้อ เป็นต้น
..." อย่าให้ทันที ! เพราะการได้สิ่งใดมาโดยง่าย อาจจะทำให้เด็กไม่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้น ถ้าเขาได้ของมาด้วยความพยายามของตนเอง เขาต้องอดทนควบคุมกำกับตนเองให้สะสมเงินวันละนิดวันละหน่อย จนเพียงพอนำไปซื้อของ เขาจะเกิดความภาคภูมิใจอย่างมาก"...
ช่วยให้เด็กเรียนรู้การควบคุมกำกับตนเองว่า ...“เวลาไหนเขาควรทำอะไร และในหนึ่งวันเขาต้องทำอะไรบ้าง”... เพราะเด็กที่รู้ตารางเวลา และเคารพกติกา (ทุกคนในบ้านทำเหมือนกัน) เขาจะเรียนรู้ คุณค่าของเวลา และการกำกับตนเองให้ทำทุกอย่างให้เสร็จทันเวลา เขาต้องยับยั้งชั่งใจทำงานบ้าน การบ้านก่อนไปเล่นได้
ได้วิ่งเล่นปล่อยพลัง เล่นทราย เล่นน้ำ เล่นกับเรา เล่นอย่างเพียงพอ และเหมาะสม ข้อนี้ดูจะตรงกันข้ามกับการควบคุมกำกับตนเอง แต่เชื่อเถอะเด็กที่ได้เล่นอย่างเพียงพอ จะสามารถควบคุมกำกับตนเองได้ดีขึ้น เพราะเด็กเป็นวัยที่มีพลังมากมาย พวกเขาไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย และมีพลังเหลือเฟือที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ได้ตลอดเวลา
'การควบคุมกำกับตนเอง' จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้แค่ในเวลาเพียงข้ามวันหรือข้ามคืน เด็กต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นใจ และได้รับการปลูกฝังมาเรื่อย ๆ ยิ่งสอนเขาตั้งแต่ยังเล็ก แม้จะยากและฝืนใจคนรอบข้าง แต่ดอกผลที่งอกงามจะทำให้พ่อแม่หรือผู้ใหญ่อย่างเราหายเหนื่อย
สุดท้าย 'การควบคุมตนเอง' เป็นทักษะที่ช่วยให้เด็กคนหนึ่งสามารถเดินไปบนหนทางแห่งการเรียนรู้อันยาวไกล โดยไม่ยอมแพ้หรือไม่ตกเหวไปเสียก่อน อย่าเร่งเรียน เร่งทุกอย่าง แต่ลืมที่จะสอนทักษะที่สำคัญอันนี้ให้กับเด็ก ๆ ของเรา
...“ไปช้า ๆ ไปอย่างมั่นคง ไปจนสุดทาง"...