
เลี้ยงลูกรักด้วยหลัก "5L"
หลัก 5L คืออะไร ?
เด็กต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ไล่ตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ อย่าง บีบยาสีฟันไม่ออก, หาของไม่เจอ หรือเรื่องใหญ่ ๆ เช่น สอบตก หรือทำงานวิชาที่เกลียดแล้วผิดทุกครั้ง หากพ่อแม่ไม่ด่วนเข้าช่วยหรือต่อว่าซ้ำเติม เด็กจะได้เรียนรู้การต่อสู้กับความล้มเหลว ซึ่งพ่อแม่สามารถใช้หล่อหลอมให้ลูกมี Growth mindset ได้
..."พ่อแม่ต้องไม่แก้ปัญหาแทนลูก เช่น คิดแทนและบอกให้ลูกทำ รวมทั้งไม่ปกป้องลูกด้วยคำว่า 'ไม่เป็นไร' "...
Growth mindset จะถูกพัฒนาก็เมื่อพ่อแม่มองเห็นว่าลูกมีศักยภาพที่จะสู้ได้ ดังนั้นควรกระตุ้นให้ลูกมองเป็นโอกาสและแสดงความเชื่อมั่นในตัวลูก โดยให้แง่คิดว่า “การสอบตกคือโอกาสเรียนรู้ข้อบกพร่องตนเอง ไม่ใช่วันสิ้นสุดของทุกอย่าง แต่เป็นวันเริ่มต้นของการแก้ไขจุดอ่อนให้ดีขึ้นมา เรามาช่วยกันดู” และชักชวนลูกมาขบคิด
ในระหว่างที่ชวนลูกคิด พ่อแม่ต้องดึงความคิดของตนเองไปที่ “กระบวนการคิดและการทำงานของลูก” มากกว่าผลลัพธ์สุดท้าย มีท่าทีชื่นชมเพื่อให้ลูกรู้ว่า กระบวนการคิดและการทำงานนั้นมีคุณค่าและควรโฟกัสมากกว่าผลสำเร็จ
1. กระบวนการคิดของลูก เราต้องเปิดโอกาสให้ลูกลองคิดเองก่อนว่าสาเหตุคืออะไร และจะแก้ไขอย่างไร ? เช่น ลูกตอบว่าสาเหตุมาจาก “ไม่ชอบเลข เลขยาก” ให้ชวนคิดวิเคราะห์ต่อ เพราะการแก้ไขจะเกิดขึ้นได้ก็เมื่อรู้จุดอ่อนที่ชัดเจน เช่น “ยากตรงช่วงไหน มาหากัน จะได้แก้ไขตรงจุด”
หากลูกตอบไม่ได้ รู้แต่เพียงไม่ชอบ นั่นก็แปลว่า กระบวนการสืบหาสาเหตุองลูกยังไม่ดีพอ พ่อแม่ควรช่วยนำทางไปจนกว่าลูกจะคิดออก เช่น หยิบหนังสือมาเปิดและไล่ดูกับลูก กระตุ้นให้ลูกคิดและหาจนเจอว่าตรงไหน การช่วยนำทางของพ่อแม่ เป็นการพาลูกเข้าสู่ Growth mindset โดยอัตโนมัติ
แต่หากลูกสามารถวิเคราะห์สาเหตุได้เองเลย เช่น “ผมท่องสูตรคูณไม่แม่น เลยทำไม่ทัน” พ่อแม่ควรชื่นชมลูก “แม่ชื่นชมนะ ที่ลูกหาสาเหตุเจอ เราจะได้แก้ปัญหาถูกทาง” ลูกจะเห็นคุณค่าของการคิดได้ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในเส้นทางสู่ความสำเร็จ
ส่วนการคิดแก้ไขปัญหา ก็ทำแบบเดียวกับการหาสาเหตุ นั่นคือ ชวนลูกคิดต่อว่าจะแก้ไขยังไง ถ้าคิดไม่ออก ก็ค่อย ๆ นำทางจนกว่าจะคิดได้ หากคิดไม่ได้ หรือคิดได้แต่ไม่เข้าท่า พ่อแม่ก็ควรชื่นชมที่พยายามคิด โดยบอกว่า “แม่ภูมิใจที่ลูกพยายามคิดหาทางออกนะจ้ะ” เมื่อพ่อแม่ให้คุณค่าความพยายาม ลูกก็จะยึดคุณค่าเหมือนพ่อแม่ และความพยายามจะนำลูกไปสู่ความสำเร็จเอง
..."ให้ชื่นชมที่ลูกพยายามคิด รวมทั้งคิดได้ โดยไม่คิดแทน"...
2. ความมุ่งมั่น กัดไม่ปล่อย ไม่ว่าจะเป็นการคิดหรือการลงมือทำงาน เด็ก ๆ ควรให้ความสำคัญกับ “ความมุ่งมั่น เพื่อไปให้ถึงปลายทาง” ถึงแม้ว่าจะมีอุปสรรคมาให้ท้อใจและท้อถอยเป็นระยะ ๆ โดยพ่อแม่ควรเป็นต้นแบบและให้คุณค่ากับความเชื่อนี้ ชื่นชมลูกทุกครั้งที่เห็นลูกสู้ไม่ถอย เช่น...
"ปลื้มใจมากเลย ที่ลูกอดทนท่องสูตรคูณจนเสร็จ แม่เห็นลูกจะเลิกหลายครั้งแล้ว แต่ในที่สุดก็ท่องจนครบได้" พร้อมส่งยิ้มหวานให้ลูก พ่อแม่อย่าโฟกัสการท่องถูกหมด (ผลลัพธ์สุดท้าย) จนละเลยความมุ่งมั่นที่ลูกมี (ท่องจนครบ) เด็ดขาด
3. ความก้าวหน้าทีละนิด ๆ เด็ก ๆ ควรภาคภูมิใจกับความก้าวหน้าเล็ก ๆ น้อย ๆ ของตนเอง อย่ารอภูมิใจในผลลัพธ์สุดท้ายที่ดีเท่านั้น ดังเช่นตัวอย่างข้างต้น การท่องศัพท์ถูกต้อง 10 ตัว สำหรับบางคนเป็นเรื่องธรรมดา แต่บางคนคือเรื่องหนักหนา ความก้าวหน้าเล็ก ๆ จึงควรถูกชื่นชมในเด็กหลายๆคนด้วย เช่น...
พ่อแม่ชมลูกว่า "ลูกรู้มั้ย วันนี้ลูกท่องศัพท์ได้ถูกมากกว่าเมื่อวาน 2 คำ เยี่ยมเลย ลูกก้าวหน้าขึ้นนะ”
ทุก ๆ ความก้าวหน้าเล็ก ๆ จะถูกสะสมเรื่อย ๆ จนสามารถไปถึงจุดหมายที่ต้องการได้ ดังนั้นพ่อแม่ควรให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น แม้ว่าจะเล็กน้อย อนาคตลูกจะไม่ท้อถอยในชีวิตหากพบว่าหนทางยังอีกไกล เพราะรู้ว่าตนเองยังอยู่บนเส้นทางแห่งความสำเร็จนั่นเอง
พ่อแม่ควรมองปัญหาของลูกว่าเป็นโจทย์ชั้นดี มองความผิดพลาดของลูกเป็นเรื่องธรรมดา ให้ฉวยโอกาสนี้กระตุ้นลูกให้เรียนรู้ และปลูกฝัง Growth mindset ให้เกิดขึ้น โดยพ่อแม่ต้องโฟกัสกระบวนการมากกว่าผลสำเร็จนะคะ