116
ในวันที่ลูกไม่พร้อม พ่อแม่เคียงข้างลูกได้อย่างไร

ในวันที่ลูกไม่พร้อม พ่อแม่เคียงข้างลูกได้อย่างไร

โพสต์เมื่อวันที่ : August 29, 2022

 

ในวันที่ลูกไม่พร้อม สิ่งที่ลูกต้องการจากพ่อแม่ คือ “การเคียงข้าง” เท่านั้นเอง นั่งลงข้าง ๆ ลูก ในระดับเดียวกับเขา ดูแลความปลอดภัยไม่ให้ลูกทำให้ตัวเองหรือเราบาดเจ็บ

 

ทุกครั้งที่เด็กอาละวาด และระเบิดอารมณ์ออกมา สิ่งที่ดีที่สุด คือ การให้เขาค่อย ๆ เรียนรู้ที่จะสงบลงด้วยตนเอง โดยที่มีเราอยู่เคียงข้าง ไม่ทิ้งเขาไว้ให้ จัดการณ์กับอารมณ์เพียงลำพัง ผู้ใหญ่ไม่ควรห้ามเขาด้วยการบอกให้ “หยุด” “เงียบ” “พอได้แล้ว” เพราะตัวเด็กเองก็อยากจะหยุดเหมือนกัน แต่ตัวเขายังไม่พร้อมที่จะหยุดตอนนั้น ดังนั้นผู้ใหญ่ควรให้เด็กได้ระบายออกอย่างเหมาะสม ในที่ที่เหมาะสม และในวิธีที่ไม่ทำร้ายใครรวมทั้งตัวเขาเอง

 

'การร้องไห้ - การชักสีหน้าหรือทำหน้าบูดบึ้ง - การตะโกนหรือพูดเสียงดัง - การลงไปนอนดิ้น' พฤติกรรมเหล่านี้เป็นรูปแบบที่ผู้ใหญ่ควรเข้าใจว่า เป็นเรื่องปกติ และควรอนุญาตให้เด็กแสดงออกได้ การพาเขาไปที่มุมสงบที่เตรียมไว้ อาจจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ยังไม่ต้องพูดอะไร ไม่ต้องรีบสอน ไม่บ่น ไม่ตำหนิ ไม่บอกให้เขาหยุดร้องไห้

 

เวลาอาจจะผ่านไปเนิ่นนานกว่าเขาจะสงบลง แต่เวลาตรงนั้นไม่ได้เสียเปล่า ลูกได้เรียนรู้ว่า ในวันที่เขามีเอ่อล้นไปด้วยอารมณ์มากมาย พ่อแม่จะเป็นภาชนะที่ใหญ่พอจะรองรับอารมณ์เหล่านั้น ในวันที่เขาไม่พร้อม พ่อแม่พร้อมจะเคียงข้างเขาในวันที่เขาเผชิญปัญหา พ่อแม่ไม่ได้ทอดทิ้งเขาในวันที่เขาไม่น่ารัก พ่อแม่ยังรักเขาไม่เปลี่ยนแปลง สุดท้ายลูกเรียนรู้ว่า ไม่ว่าวันข้างหน้าเขาจะเจอปัญหาอะไร “พ่อแม่จะเป็นพื้นที่ปลอดภัย” สำหรับเขาเสมอ

 

 

“การเคียงข้าง” ทำให้ลูกปฐมวัยสามารถจัดการอารมณ์ได้ดีขึ้น เขาได้เรียนรู้ที่จะสงบลงด้วยตนเอง โดยที่มีพ่อแม่ที่อยู่ตรงนั้นกับเขา

เมื่อลูกพร้อมและสงบพอ พ่อแม่สอนและพูดคุยกับเขาได้ “เกิดอะไรขึ้น” “ทำไมเราถึงทำแบบนั้น” “ครั้งหน้าถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก เรามีทางเลือกอะไรบ้าง” จบท้ายการพูดคุยด้วยความเข้าใจและความรัก “ขอบคุณนะลูกที่เล่าให้พ่อแม่ฟัง” กอดแน่น ๆ ช่วยคืนความเชื่อมั่นในตัวเองให้กับลูก และสร้างสายสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกว่าเดิมให้กับเรา

 

ถ้าหากเขาทำผิด พ่อแม่สอนเขาได้ว่าที่ถูกต้องและเหมาะสมต้องทำอย่างไร เมื่อทุกอย่างสงบลงแล้ว ให้ลูกได้รับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง เช่น “ขอโทษ” อีกฝ่าย และชดเชยด้วยการช่วยทำอะไรสักอย่างที่ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกดีขึ้น “เก็บกวาด” สิ่งต่าง ๆ ที่ทำเอาไว้ และช่วยงานเราเพื่อชดเชยในสิ่งที่ทำเสียหายไป

 

เวลาที่เด็กทำผิด การที่เขาอาละวาด และระเบิดอารมณ์ออกมา ตัวเขาเองรู้สึกแย่ต่อตัวเอง และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมากพอแล้ว พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องซ้ำเติมเขาเพิ่ม หรือทำโทษอย่างรุนแรงให้เขารู้ตัว เพราะการทำเช่นนั้น

 

 

แม้เด็กจะทำในสิ่งที่ควรทำแต่การซ้ำเติม และลงโทษอย่างรุนแรง คุณค่าในตัวลูกจะถูกบั่นทอน และสายสัมพันธ์ ระหว่างเขากับพ่อแม่ได้รับการกระทบกระเทือน แต่การสอนเขาอย่างสงบด้วยเหตุผล ในยามที่ลูกพร้อม ลูกจะเรียนรู้ว่าสิ่งที่เขาควรทำคืออะไร โดยที่ไม่สูญเสียคุณค่าในตัวเองไป และความสัมพันธ์ระหว่างเรากับลูกยังดีดังเดิม

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง