ลูกชอบโวยวายทำอย่างไรดี ?
ลูกวัย 6 ขวบ ชอบโวยวาย ไม่ฟังใครแก้ยังไงดี ?
การมีกฎ 3 ข้อนี้ไม่ได้แปลว่า ห้ามแสดงออกถึงอารมณ์ทางลบ เช่น โกรธ เศร้า เสียใจ ในทางกลับกันเราอนุญาตให้แสดงออกทางอารมณ์ได้แต่ด้วยวิธีการที่เหมาะสม โดยไม่ละเมิดกฎ 3 ข้อนี้ ความโกรธเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้แต่การจะรับมือกับความโกรธโดยไม่ใช้อารมณ์นั้นเป็นสิ่งสำคัญ
1. ผู้ใหญ่ควรทำข้อตกลงและสอนเด็กล่วงหน้าก่อนเกิดเหตุการณ์
ข้อตกลงของบ้านเรา คือ กฎ 3 ข้อ ห้ามทำร้ายผู้อื่น หรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน, ห้ามทำร้ายตัวเอง หรือทำให้ตัวเองเดือดร้อน, ห้ามทำลายข้าวของ หรือการใช้ข้าวของอย่างไม่ระมัดระวังและไม่เหมาะสม (ใช้ผิดประเภท)
2. พ่อแม่ควรอนุญาตให้ลูกโกรธได้เสียใจได้
ไม่พอใจได้ร้องไห้ได้แต่เราจะไม่ทำผิดกฎ 3 ข้อ หากลูกไม่พร้อม ลูกสามารถขอเวลานอกเพื่อไปที่ “มุมสงบ (Calmdown corner)” ได้ หรือถ้าลูกทำผิดกฎ 3 ข้อ พ่อแม่จะเข้าไปพาลูกออกมาจากบริเวณนั้น และไปที่ “มุมสงบ” ด้วยกัน ข้อสำคัญ ผู้ใหญ่จะรอเด็กพร้อม ไม่เร่งรัดให้เขาหยุดร้องไห้หรือหยุดโกรธ ระหว่างที่เด็กอยู่ที่จุดสงบ ผู้ใหญ่จะเคียง ข้าง ไม่ได้ทิ้งเขาไว้เพียงลำพัง (Time-in)
3. “มุมสงบ” คือ พื้นที่ปลอดภัยทางกายใจในการแสดงอารมณ์ของเด็ก
โดยในพื้นที่ตรงนั้นอาจจะมีหมอนใบใหญ่ Bean bag มีตุ๊กตาไว้กอด มีเต็นท์หรือมีอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เด็กสามารถ ระบายแรงของเขาและผ่อนคลายได้ พ่อแม่สามารถชักชวนให้ลูกมาจัดพื้นที่ตรงนี้ร่วมกันได้
4. ให้การยอมรับว่าลูกสามารถรู้สึกเศร้าและโกรธได้
โดยผ่านการแสดงออกเชิงบวก เช่น ให้การรอเมื่อลูกยังไม่พร้อม ให้การกอดเมื่อลูกต้องการให้เราช่วยให้เขาสงบลง ให้การสอนเมื่อลูกสงบ
5. เมื่ออารมณ์สงบ ให้เราจบด้วยการทำความเข้าใจเสมอ
ทำความเข้าใจว่า “ทำไมลูกถึงรู้สึกโกรธ/เศร้าในวันนี้” ให้ลูกได้มีโอกาสบอกเล่าเรื่องราวและความรู้สึก ทำความเข้าใจกับลูกว่า “ถ้าไม่ใช้อาละวาด เรามีทางเลือกอะไรบ้างในครั้งต่อไป” และหากลูกทำผิด เราจะสอน และพาเขาไปรับผิดชอบต่อการกระทำเสมอ ทำความเข้าใจกันและกันว่า “ไม่เป็นไรที่จะรู้สึกโกรธ/เศร้า พ่อแม่จะอยู่เคียงข้างรอจนกว่าลูกจะพร้อม และพ่อแม่ รักลูกเสมอ”
ในความเป็นจริงไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ทุกคนควรอนุญาตให้ตัวเองมีอารมณ์ทางลบได้และเวลาเกิดความ รู้สึกเช่นนั้นทุก ๆ คนควรมีพื้นที่ที่ปลอดภัยที่สามารถระบายความรู้สึกไม่ดีออกมาได้
..."พ่อแม่สามารถขอเวลานอกได้เช่นเดียวกับลูก หากเรายังไม่พร้อมรับมือกับสถานการณ์ตรงหน้าได้”...
ในกรณีที่พ่อแม่ช่วยกันได้ให้ผลัดกันไปสูดอากาศ สงบอารมณ์แล้วค่อยกลับมารับมือกับลูก น่าจะเป็นสิ่งที่ ควรทำที่สุด
ในกรณีที่พ่อแม่ต้องรับมือกับลูกเพียงลำพัง การลุกขึ้นยืน สูดลมหายใจเข้า
เราไม่จำเป็นต้องรีบร้อนรับมือกับลูกเดี๋ยวนั้น ไม่ต้องรีบพูดอะไร ใช้เวลาคิดทบทวนความรู้สึกและคำพูดให้ดีก่อน และรอให้ลูกและเราสงบค่อยพูดคุยเพื่อแก้ปัญหากัน เป็นสิ่งที่ควรทำที่สุด
สุดท้ายนี้กฎ 3 ข้อนี้ไม่ได้มีไว้สำหรับเด็ก ๆ เพียงอย่างเดียว แต่มีไว้สำหรับทุกคนภายในบ้าน เพราะกฎ 3 ข้อนี้จะ ช่วยให้บ้านเป็นพื้นที่ที่อบอุ่นและปลอดภัยทั้งกายใจสำหรับทุกคน