ลูกพูดคำหยาบ ต้องปราบแบบนุ่มนวล
คำหยาบที่เด็ก ๆ เรียนรู้มาจากคนใกล้ตัว
ขั้นที่ 1 เราจะพาเด็กออกมาจากสถานการณ์เพื่อพาเขาไปอยู่ในบริเวณปลอดภัย ที่ ๆ มีแค่เรากับเขาสองต่อสอง
ในกรณีที่เด็กอาละวาดที่บ้าน เราจะพาเขาไปที่มุมสงบ (Calmdown corner) ซึ่งเป็นบริเวณที่เราเตรียมไว้รับมือ การอาละวาดของลูก เราตกลงกับเขาไว้ล่วงหน้าว่าหากลูกอาละวาด พ่อแม่จะพาเขามาที่นี่
ในกรณีที่เราอยู่สถานที่สาธารณะ เราควรพาเด็กออกมาจากบริเวณที่มีคนเยอะ เช่น มุมเสา หรือออกมาข้างนอก บริเวณนั้นก่อน เพื่อให้ลูกได้อยู่กับเราสองคน
ขั้นที่ 2 เรานั่งลงข้าง ๆ ลูก ให้การเคียงข้างและรอจนเขาพร้อม
เราสามารถให้การกอดหรือจับมือเขาได้หากลูกยินยอม แต่ถ้ายังไม่พร้อม เพียงนั่งลงด้วยกันก็เพียงพอแล้ว ไม่ จำเป็นต้องพูดหรือสอนอะไรตอนนั้น อย่างมากที่สุด เราจะพูดเพียงสั้น ๆ ว่า "เมื่อลูกพร้อม เราค่อยคุยกัน พ่อแม่รอ ได้” ระหว่างที่ลูกอาละวาดให้เราดูแลความปลอดภัย ไม่ให้ลูกทำร้ายตัวเอง ผู้อื่น หรือข้าวของได้
ขั้นที่ 3 เมื่อเด็กสงบลงและพร้อมฟัง เราจึงจะพูดคุยกับเขาถึงสิ่งที่เกิดขึ้นและให้การสอนเขาในสิ่งที่ถูกต้อง
คำถามที่เป็นกลางช่วยให้ลูกได้คิด และพ่อแม่ได้รับฟังอย่างแท้จริง โดยไม่คิดแทนลูก เช่น “เกิดอะไรขึ้น” “ทำไมถึงทำแบบนั้น” “ครั้งหน้าถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก เราควรทำอย่างไรดี”
ขั้นที่ 4 ก่อนจะออกจากมุมสงบจบลงที่การขอโทษ การกอด และความเข้าใจ
กอดแน่น ๆ ช่วยคืนความเชื่อมั่นในตัวเองให้กับลูก และสร้างสายสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกว่าเดิมให้กับเรา
ขั้นที่ 5 การออกจากมุมสงบ เราจะพาเขาไปรับผิดชอบต่อสิ่งที่ทำไว้
ยกตัวอย่างเช่น
1. เด็กเรียนรู้ที่จะยอมรับอารมณ์ที่เกิดขึ้น และการจัดการอารมณ์อย่างเหมาะสม ทุกครั้งที่เด็กอาละวาด และระเบิดอารมณ์ออกมา สิ่งที่ดีที่สุดคือการให้เขาค่อย ๆ เรียนรู้ที่จะสงบลงด้วยตนเอง โดยที่มีเราอยู่เคียงข้าง ไม่ทิ้งเขาไว้ให้จัดการณ์กับอารมณ์เพียงลำพัง
พ่อแม่พร้อมจะเคียงข้างเขา แม้ในวันที่เขาอาละวาด ทำให้เขาได้เรียนรู้ว่าไม่เป็นไรที่จะเกิดอารมณ์ทางลบ เขาไม่ ต้องเร่งรีบให้ตัวเองกดอารมณ์ทางลบให้หายไป ในทางกลับกันเขาได้เรียนรู้ว่าการระบายอารมณ์ทางลบออก อย่างเหมาะสมโดยที่มีพ่อแม่เคียงข้าง เด็กจะพัฒนาการจัดการอารมณ์ได้ดีขึ้นในอนาคต
เด็กได้เรียนรู้สิ่งสำคัญว่าอารมณ์ทางลบเป็นสิ่งที่ยอมรับได้พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่างหากที่ไม่ควรทำ พ่อแม่จะ พูดกับเขาว่า “พ่อ/แม่เข้าใจว่าลูกโกรธที่ไม่ได้ของชิ้นนั้น แต่เราจะไม่ตีคนอื่นแบบนั้น ลูกควรพูดขอดี ๆ”
2. เด็กไม่เกิดความวิตกกังวลและความกลัว เด็กได้รับการสนับสนุนทางใจจากพ่อแม่ในขณะที่เขาไม่พร้อม พ่อแม่ให้การเคียงข้าง ยอมรับ และรอเขาได้ความ วิตักกังวลที่เกิดขึ้นจึงไม่มี
3. เด็กยอมรับตัวเองและไม่รู้สึกอับอายต่อหน้าคนอื่น เมื่อเด็กทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม เราจะพาเขาออกไปกับเรา โดยไม่ตำหนิเขาต่อหน้าคนอื่น เด็กจะไม่รู้สึกว่าเราทำโทษเขาแต่อย่างใด เพราะเราออกมาอยู่กับเขา เด็กจึงยอมรับในตัวเองและรับฟังในสิ่งที่เรา สอนมากกว่า
4. เด็กมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพ่อแม่ เด็กได้เรียนรู้ว่าพ่อแม่ยอมรับและรักเขาในแบบที่เขาเป็นอย่างแท้จริง เพราะแม้ว่าตัวเขาในวันนี้จะทำพฤติกรรม ไม่เหมาะสม และไม่น่ารัก แต่พ่อแม่พร้อมจะช่วยและเคียงข้างเขาจนเขากลับมาเป็นตัวเองอีกครั้ง
เวลาที่เด็กทำผิด การที่เขาอาละวาด และระเบิดอารมณ์ออกมา ตัวเขาเองรู้สึกแย่ต่อตัวเองและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มากพอแล้ว พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องซ้ำเติมเขาเพิ่ม หรือ ทำโทษอย่างรุนแรงให้เขารู้ตัว เพราะการทำเช่นนั้น
แม้เด็กจะทำในสิ่งที่ควรทำ แต่การซ้ำเติมและลงโทษอย่างรุนแรง คุณค่าในตัวลูกจะถูกบั่นทอน และสายสัมพันธ์ระหว่าง เขากับพ่อแม่ได้รับการกระทบกระเทือน แต่การสอนเขาอย่างสงบด้วยเหตุผล ในยามที่ลูกพร้อม ลูกจะเรียนรู้ว่าสิ่ง ที่เขาควรทำคืออะไร โดยที่ไม่สูญเสียคุณค่าในตัวเองไป และความสัมพันธ์ระหว่างเรากับลูกยังดีดังเดิม
หัวใจสำคัญของการใช้ “Time-in” คือ พ่อแม่ต้องมีความอดทนและใจเย็นเพียงพอจะอยู่เคียงข้างลูกอย่างสงบ ในขณะที่เขาอาละวาด ระหว่างที่รอลูก เวลาที่ผ่านไม่ได้สูญเปล่า การเคียงข้างของพ่อแม่ทำให้ลูกรับมือกับ อารมณ์ของตัวเองได้ดีขึ้น และลูกได้เรียนรู้ว่า “พ่อแม่ของเขาเป็นพื้นที่ปลอดภัยของเขา”
“Time-in"จึงเป็นวิธีการที่ทำให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ทั้งการไม่ทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม และการจัดการอารมณ์ของตัว เอง โดยไม่สูญเสียความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับพ่อแม่ไป บางครั้งในวันที่เรารู้สึกแย่ เราอาจจะอยากได้เพียงใครสักคนที่ไม่ตัดสินเรามาเคียงข้าง เด็กก็เช่นกันในวันที่เขา รู้สึกไม่ดีเขาอาจจะต้องการการโอบกอดและการเคียงข้างจากพ่อแม่ที่เขารัก